Tuesday, December 20, 2011

ข้อสอบ ยศ.ทบ. ความรู้ทั่วไป

ข้อสอบ ยศ.ทบ. ความรู้ทั่วไป
ที่มา http://thainet12.blogspot.com/2011/05/blog-post_21.html
ความรู้รอบตัว

1. ไทยทำสงครามกับพม่าครั้งแรกสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พม่าตีเมืองเชียงกราน)

2. การตีกลองร้องฎีกาเริ่มมีขึ้น สมัยพ่อขันรามฯ

3. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พลเมืองมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ 25 ไร่

4. ขุนหลวงขี้เลื้อนมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือ พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ กษัตริย์องสุดท้ายของอยุธยา

5. พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชระหว่างครองราช คือ พระยาลิไท

6. พ่อขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กษัตริย์องค์แรกของสุโขทัยต้นราชวงศ์พระร่วง

7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สร้างเมืองอยุธยา

8. ไทยเสียกรุงครั้งแรกสมัย สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ.2112

9. พลายภูเขาทอง คือ ช้างของสมเด็จพระนเรศวร ที่ทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราช ต่อมาได้พระราชทานชื่อว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ

10. สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าตากฯ

11. จตุสดมม์ มีขึ้นครั้งแรกสมัย พระเจ้าอู่ทอง

12. ระบบศักดินา เริ่มมีขึ้นสมัย พระบรมไตรโลกนาถ

13. ไพร่หลวง คือ ทหารที่ประจำการครบ 2 ปีแล้วปลดออกเป็นไพร่หลวง มีอายุ 21-60 ปี

14. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย สมัยพระธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)

15. วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นวัดหลวงที่ไม่มีเจดีย์

16. พระกรรมวาจาจารย์ ของ ร.9 ขณะผนวช คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

17. ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้นำการปฏิวัติจีนจากระบอบกษัตริย์มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ

18. คลองสุเอช เป็นคลองเดินเรือสินค้าระหว่างยุโรป (ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) – เอเชีย (ทะเลแดง) ปัจจุบันเป็นของอียิปต์

19. ไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์ เมื่อ พ.ศ.2468 (ร.6)

20. ประธานสภาฯ คนแรก คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

21. นายกฯ คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

22. วังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (หยุดทำการทุกวันจันทร์)

23. รัชชูปการ คือ เงินที่เรียกเก็บจากชาวไทยแทนการรับราชการทหาร ยกเลิกสมัย ร.7

24. นกวายุพักตร์ เป็นตราประจำกระทรวงการคลัง

25. กรมพระราชวังบวรในสมัย ร.5 คือ กรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ

26. อาน คือ ที่นั่งบนหลังม้า

27. สัปคับ คือ ที่นั่งบนหลังช้าง

28. วันที่ 6 เมษายน ได้รับการสถาปนาเป็นวันจักรีสมัย ร.6

29. กองทัพสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นครั้งแรกกรณี สงครามเกาหลี (เส้นขนานที่ 38)

30. พื้นที่ 1 เอเคอร์ ประมาณ 2.5 ไร่

31. พลตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เคยเป็นประธานสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติคนที่ 11

32. ระยะทาง 1 ไมล์ ประมาณ 40 เส้น หรือ 1.6 กม.

33. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามอินโดจีน พ.ศ.2484

34. 4 ทหารเสือของไทยสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระศรีสิทธิสงคราม พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเณย์

35. เครื่องถม ทำด้วย เงิน ทอง ตะกั่ว และน้ำ

36. ผู้บังคับการทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ พลตรีพระยาพิชัยชาญฤทธิ์

37. วงเวียน 22 กรกฎา สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามโลกครั้งที่ 1

38. สมเด็จเจ้าพระยาองค์สุดท้าย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

39. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

40. พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียน สร้างสมัย ร.5 แล้วเสร็จ สมัย ร.6

41. ส.ส. เริ่มใชเมื่อ พ.ศ.2477 โดย พระยาศรยุทธเสนี เป็นผู้เสนอต่อสภา

42. ช้างสีดอ คือ ช้างพลายไม่มีงา

43. กฎหมายตรา 3 ดวง คือ คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว

44. ร.7 เสด็จสวรรคต เมื่อ 30 พ.ค.2484 ณ ประเทศอังกฤษ

45. นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสถึงแก่กรรมที่ ฝรั่งเศส

46. ผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติ คือ ขุนวิจตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)

47. ภายหลังเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พ.ศ.2482 ผู้แต่งเนื้อรองเพลงชาติ คือ หลวงสารานุประพันธ์ แต่งทำนองโดย พระเจนดุริยางค์

48. พระเจดีย์มียอดเดียว พระปรางค์มีหลายยอด

49. จาตุรงคบาท หมายถึง ทหารผู้มีหน้าที่รักษาเท้าช้างทั้ง 4

50. เพลงสรรเสริญฯ แต่งเนื้อร้องโดย ร.6 แต่งทำนองโดย ยุตเซน

51. สิทธิพิเศษอีลีท คือ สิทธิพิเศษในการท่องเที่ยวของไทยตลอดชีวิต โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,000,000 บาท

52. พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศ คือ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

53. เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ชาย เรียก ชุดพระราชทาน หญิง เรียก ชุดพระราชนิยม

54. แม่ทัพไทยที่ยกไปช่วยอังกฤษรบกับพม่าในสมัย ร.3 คือ เจ้าพระยามโยธาธอเรีย

55. สุโขทัยเป็นราชธานีอยู่ 200 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์องค์แรก พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย

56. กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์องค์แรก สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ เป็นองค์สุดท้าย

57. สรีดพภงส์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งในสมัยพ่อขุนรามฯ

58. สมเด็จพระนเรศวรฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธ์กษัตรี ไปอยู่พม่าตั้งแต่พระชนม์มายุ 9-15 พรรษา

59. สมเด็จพระนารายณ์ฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2175 เป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวี เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง

60. สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้าหลุยที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีโดยมี เชวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นเอกอัคราชทูต

61. พระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นเอกอัครราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าหลุยที่ 14 เป็นการส่งคณะราชทูตออกไปครั้งแรก

62. สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสร้างราชธานีแห่งที่ 2 ขึ้นที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ใกล้ทะเลเกินไป ง่ายต่อการรุกรานจากเรือต่างชาติ

63. พระเจ้าตากฯ เดิมชื่อ สิน บิดาชื่อ นายไหฮวง มารดาชื่อ นางนกยูง

64. ร.1 มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง เป็นบุตรของ พระอักษรสุนทร (ทองดี) กับท่านหยก เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 6 เม.ย.2325

65. ร.5 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชเมื่อพระชนม์ 15 พรรษา พ.ศ.2411

66. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.5

67. ร.9 มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสูติเมื่อ 5 ธ.ค.2470 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลเดชวิกรม พระบรมราชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 5 พ.ค.2493

68. สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

69. แม่ทัพพม่าที่ตีค่ายบางระจันแตก คือ สุกี้พระนายกอง

70. สุนทรภู่ เกิดในสมัย ร.1 ที่ริมคลองบางกอกน้อย ศึกษาครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาไปศึกษาที่วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) ได้รับยกย่องว่าเป็นกวีเอกจาก UNESCO วรรณกรรมที่แต่งเป็นเรื่องแรก คือ โคบุตร

71. ท้าวเทพกษัตรี มีชื่อเดิมว่า “จัน” เป็นภรรยาเจ้าเมืองถลาง ท้าวศรีสุนทร มีชื่อเดิมว่า “มุก” (ภูเก็ต สงครามเก้าทัพ ร.1)

72. ท้าวสุรนารี มีชื่อเดิมว่า “โม” (ศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ร.3)

73. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นพระราชบิดาแห่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ทรงได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นกวีเอกของโลก

74. พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือ ร.4

75. พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย คือ ร.9

76. พระบิดาแห่งการพาณิชย์ไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

77. พระบิดาแห่งกฎหมายไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

78. พระบิดาแห่งทหารเรือไทย คือ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์

79. พระบิดาแห่งการรถไฟไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

80. กษัตริย์ศิลปิน หมายถึง ร.2

81. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ พ.ศ.2534

82. พระมหาอุปราชองค์แรกและองค์เดียวในราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาใน ร.4

83. เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย

- พานพระศรี (ขันหมาก)

- พระมณฑปรัตนกัณฑ์ (พาน ฝา จอกใส่น้ำ)

- พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)

- พระสุพรรณราช (กระโถนใหญ่)

84. วัดประจำรัชกาลที่ 1 คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

85. วัดประจำรัชกาลที่ 2 คือ วัดอรุณราชวราราม

86. วัดประจำรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม

87. วัดประจำรัชกาลที่ 4 คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

88. วัดประจำรัชกาลที่ 5 คือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม

89. วัดประจำรัชกาลที่ 6 คือ วัดบวรนิเวศวิหาร

90. วัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ วัดราชบพตรสถิตมหาสีมาราม

91. วัดประจำรัชกาลที่ 8 คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม

92. วัดประจำรัชกาลที่ 9 คือ วัดญาณสังข์วราราม

93. ประตูในพระบรมมหาราชวัง มีทั้งหมด 13 ประตู 1. รัตนพิศาล 2. พิมานเทเวศร์ 3. วิเศษไชยศรี 4. มณีนพรัตน์ 5. สวัสดิโสภา 6. เทวาภิทักษ์ 7. ศักดิ์ไชยสิทธิ์ 8. วิจิตรบรรจง 9. อนงคารักษ์ 10. พิทักษ์บวร 11. สุนทรทิศา 12. เทวาภิรมย์ 13. อุดมสุดารักษ์

94. อาหารที่ให้พระโคกินในพิธีจรดพระนังคัลฯ มี 7 อย่าง คือ 1. ข้าวเปลือก 2. ข้าวโพด 3. เหล้า 4. งา 5. น้ำ 6. ถั่วเขียว 7. หญ้า

95. พิธีรัชฎาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 25 ปี พ.ศ.2514

96. พิธีรัชมังคลาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 40 ปี พ.ศ.2529

97. พิธีกาญจนาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 50 ปี พ.ศ.2539

98. ช่างสิบหมู่ คือ 1. หล่อ 2. สลัก 3. กลึง 4. เขียน 5. ปั้น 6. บุ 7. รัก 8. หุ่น 9. แกะสลัก 10. ปูน

99. ไทยประกาศใช้รัฐนิยมแห่งชาติเป็นครั้งแรก โดยการ แต่งกายแบบสากลนิยม การเคารพธงชาติ เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เม.ย. เป็น 1 ม.ค. ยกเลิกบรรดาศักดิ์

100. นายทวี บุนยเกตุ เป็นนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด (17 วัน) เป็นการดำรงตำแหน่งเพื่อรอการเดินทางกลับมาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หน.เสรีไทยในต่างประเทศ

101. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้จัดตั้ง เสรีไทย และพรรคประชาธิปัตย์

102. นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ก่อตั้ง ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ลาออกเพราะถูกโจมตีในเรื่องการปิดบังสาเหตุการสวรรคตของ ร.8

103. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกกฎหมายเลิกเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามนักเลง ห้ามค้าประเวณี วางแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 1 (2504-2509)

104. พรรคก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองแรกของไทย ก่อตั้งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

105. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ คนที่ 23 เป็นผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นนายกฯ ลำดับที่ 53

106. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทรูปสัตว์ มีวัตถุประสงค์การต่อเพื่อถวาย ร.9 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

107. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาด 48.3 ซม.x 66 ซม.

108. พระศรีศากยมุนี (พระโต) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะ ประดิษฐานอยู่วัดสุทัศน์เทพวราราม (ลิไท)

109. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมางวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่

110. พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่วัดบวรนิเวศน์

111. พระสุโขทัยไตรมิตร หรือหลวงพ่อวัดสามจีน หรือพระทองวัดไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่วัดไตรมิตรวิทนาราม สร้างสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด

112. ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา พระราชนิพนธ์ ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)

- กามภูมิ หมายถึง ดินแดนแห่งอบายภูมิ และสุคติภูมิ 11 ชัน

- รูปภูมิ หมายถึง ดินแดนของสวรรค์ชั้นพรหม 16 ชั้น

- อรูปภูมิ หมายถึง ดินแดนแห่งพรหม เป็นนามธรรม 4 ชั้น

113. จังกอบ คือ ภาษีที่เก็บค่าผ่านด่านจากยานพาหนะบรรทุกสินค้า

114. อากร คือ ภาษีที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหากินได้

115. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่เรียกเก็บเพื่อทดแทนการเข้ามาทำงานโยธาให้ทางราชการ

116. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการให้บริการต่าง ๆ ของทางราชการ

117. ความยาวของประเทศไทยวัดจากจุดเหนือสุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถึงจุดใต้สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา มีความยาวประมาณ 1,620 กม.

118. ความกว้างของประเทศไทยวัดจากจุดตะวนออกที่ อ.สิรินธร จ.อุบลฯ ถึงด้านตะวันตกที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี กว้างประมาณ 750 กม.

119. จ.สมุทรสงคราม มีพื้นที่น้อยที่สุด

120. จ.นครราชสีมา มีพื้นที่มากที่สุด และมีวัดมากที่สุด

121. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี

122. บึงบระเพ็ด เป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด จ.นครสวรรค์

123. สามเหลี่ยมทองคำ เป็นเขตติดต่อ ไทย พม่า ลาว

124. บ่อพระแสง เป็นบ่อเหล็กน้ำพี้ใช้สำหรับตีพระแสงดาบให้พระมหากษัตริย์ จ.อุตรดิตถ์

125. หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ปั้นโดยช่างล้านนา ประดิษฐานอยู่วัดโสธรวรารามวรวิหาร

126. จ.สระแก้ว แยกตัวจาก จ.ปราจีนบุรี

127. จ.หนองบัวลำภู แยกตัวจาก จ.อุดรธานี

128. จ.อำนาจเจริญ แยกตัวจาก จ.อุบลฯ

129. เทือกเขาถนนธงชัย กั้นระหว่างไทย - พม่า จ.แม่ฮ่องสอน – จ.ตาก

130. เทือกเขาแดนลาว จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่

131. เทือกเขาตะนาวศรี กั้นระหว่าง ไทย – พม่า จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบฯ จ.ชุมพร

132. เทือกเขาหลวงพระบาง กั้นระหว่าง ไทย – ลาว จ.เชียงราย จ.น่าน จ.อุตรดิตถ์ จ.พิษณุโลก

133. เทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่าง ไทย – กัมพูชา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสระเกษ จ.อุบลฯ

134. เทือกเขาสันกาลาคีรี กั้นระหว่าง ไทย – มาเลเซีย จ.สตูล จ.สงขลา จ.ยะลา จ.นราธิวาส

135. เทือกเขาผีปันน้ำ อยู่ภาคเหนือเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน กก และอิง

136. แม่น้ำชี ยาวที่สุด จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.อุบลฯ ไหลลงสู่แม่น้ำมูล

137. แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรปราการ

138. แม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณ แม่น้ำมะขามเฒ่า แม่น้ำนครชัยศรี) ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรสาคร

139. แม่น้ำแม่กลอง (แม่น้ำแควใหญ่ หรือศรีสวัสดิ์ แม่น้ำราชบุรี) ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรสงคราม

140. แม่น้ำโกลก อยู่ จ.นราธิวาส กั้นพรมแดนไทย – มาเลเซีย

141. แม่น้ำรวก กั้นพรมแดนไทย – พม่า บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ

142. สัตว์ป่าสงวนมี 15 ชนิด คือ 1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 2. แรด 3. กระสู้ 4. กูปรี 5. ควายป่า 6. ละอง ละมั่ง 7. สมัน 8. เลียงผา 9. กวางผา 10. นกแต้วแล้วท้องดำ 11. นกกระเรียน 12. แมวลายหินอ่อน 13. สมเสร็จ 14. เก้งหม้อ 15. พะยูน

143. อุทยานแห่งชาติ ต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 10 ตร.กม.ขึ้นไป

144. วนอุทยาน ต้องมีพื้นที่ 500 – 80,000 ไร่

145. เขื่อนภูมิพล สร้างกั้นแม่น้ำปิงที่ อ.สามเงา จ.ตาก เพื่อผลิตไฟฟ้าฟ้า และการเกษตร

146. เขื่อนสิริกิต์ สร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เป็นเขื่อนดินแห่งแรก

147. เขื่อนศรีนครินทร์ สร้างกั้นแม่น้ำแควใหญ่ที่ จ.กาญจนบุรี เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุด

148. คลองปานามา อยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก – มหาสมุทรแอตแลนติก

149. จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ท เป็นผู้นำทหารของฝรั่งเศส

150. อับราฮัม ลินคอล์น ประกาศเลิกทาสในอเมริกา ถูกลอบสังหาร

151. คาร์ล มาร์กซ์ บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์

152. หยวน ซี ไข ประนาธิบดีคนแรกของจีน

153. เหมา เจ๋อ ตุง ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองจีนจากระบอบสาธารณรัฐ มาเป็นระบบคอมมิวนิสต์

154. ออง ซาน ซู จี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ค.ศ.1991

155. เลโอนาโด ดาวินชี เป็นจิตกรชาวอิตาลี วาดภาพโมนาลิซา และอาหารมื้อสุดท้าย

156. วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ประพันธ์เรื่อง โรมิโอ – จูเลียต

157. จอร์จ ดับเบิลยู บุช จูเนียร์ สังกัดพรรครีพับลิกัน มาจากรัฐเท็กซัส

158. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคโบราณ 7 สิ่ง คือ 1. มหาปีรามิดแห่งอียิปต์ 2. สวนลอยแห่งบาบิโลน 3. มหาวิหารไดอานา 4. สุสานมุสโซเลียมแห่งฮาลิคานาสซัส 5. เทวรูปโคโลสซูสแห่งเกาะโรดส์ 6. ประภาคารฟาโรส์แห่งอเล็กซานเดรีย 7. เทวรูปเทพเจ้าซีอุส (จูปีเตอร์) แห่งโอลิมเปีย

159. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคกลาง 7 สิ่ง คือ 1. กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ 2. กำแพงเมืองจีน 3. สนามกีฬาแห่งกรุงโรม 4. หอเอนเมืองปิซา 5. สุเหร่าโซเฟีย 6. เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง 7. สุสานอเล็กซานเดรีย

160. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน 7 สิ่ง คือ 1. ปราสาทหินนครวัด 2. ทัชมาฮาล 3. พระราชวังแวร์ซายส์ 4. เขื่อนฮูเวอร์ 5. ตึกเอ็มไพร์สเตท 6. สะพานโกลเด้นเกท 7. เรือโดยสารควีนแมรี

161. ระบบสุริยะ 1. ดาวพุธ (Mercury) เล็กที่สุด 2. ดาวศุกร์ (Venus) ดาวประกายพรึก ดาวรุ่งตอนเช้า ดาวประจำเมืองตอนหัวค่ำ 3. โลก (Earth) 4. ดาวอังคาร (Mars) 5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ใหญ่ที่สุด 6. ดาวเสาร์ (Saturn) 7. ดาวยูเรนัส หรือดาวมฤตยู (Uranus) 8. ดาวเนปจูน (Neptune) 9. ดาวพลูโต (Pluto)

162. บรรยากาศแบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น

1. โทรโพสเฟียร์ 10 กม. มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไอน้ำ เมฆ หมอก ฝน พายุ

2. สตราโตสเฟียร์ 25 กม. มีโอโซนดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเลต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

3. เมโซสเฟียร์ 45 กม. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

4. ไอโอโนสเฟียร์ 520 กม. ใช้สำหรับการสะท้อนของคลื่นวิทยุ

5. เอ็กซ์โซสเฟียร์ 600 – 1,000 กม. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

163. หินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของลาวา ได้แก่ แกรนิต บะซอลต์ ออบซิเดียน สคอเรีย

164. หินตะกอน หรือหินชั้น เกิดจากการทับถมของตะกอน ได้แก่ หินดินดาน หินทราย หินปูน ถ่านหิน ศิลาแลง

165. หินแปร เกิดจากหินอัคนี และหินตะกอนที่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะ ได้แก่ หินอ่อน หินชนวน หินควอร์ตไซต์ หินไนส์

166. แร่โลหะ หมายถึง แร่ที่ต้องนำมาถลุงก่อนนำไปใช้ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก วุลแฟรม แมงกานีส พลวง ตะกั่ว สังกะสี

167. แร่อโลหะ หมายถึง แร่ที่ไม่ต้องนำไปถลุงก่อนใช้ประโยชน์ ได้แก่ ยิปซัม เกลือแกง รัตนชาติ ฟลูออไรด์

168. แร่เชื้อเพลิง ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติ

169. พายุไซโคลน หมุนทวนเข็มนาฬิกา

170. ดีเปรสชั่น คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 60 กม./ชม.

171. พายุโซนร้อน คือ คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 61 - 119 กม./ชม.

172. ไต้ฝุ่น คือ คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 120 กม./ชม. ขึ้นไป ถ้าเกิดในเขตร้อนเรียก เฮอริเคน

173. พายุแอนตี้ไซโคลน หมุนตามเข็มนาฬิกา

174. องค์การสหประชาชาติ (UN United Nation) ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของประธานาธิบดีสหรัฐ คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ และ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นิวยอร์ก USA. มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ

1. ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี

2. เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก

3. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

175. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน และมีสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี

176. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ UNICEF (United Nation Children ‘s Fun) ก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้า

177. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization)

178. ธนาคารโลก World Bank สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. USA.

179. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF (International Monetary Fund)

180. องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม ก่อตั้งโดย เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกฯ อังกฤษ มีสมาชิก 15 ประเทศ ตั้งเพื่อความมั่นคงทางทหาร

181. องค์การของกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมันเป็นสินค้าออก OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย มีสมาชิก 13 ประเทศ

182. สหภาพยุโรป EU (European Union) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลุ่มประชาคมยุโรป

183. สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN (The Association of Southeast Asian Nations) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย ร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไม่รวมมือทางทหาร

184. G7 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ประเทศ อังกฤษ สหรัฐ เยอรมัน แคนนาดา อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น

185. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเซียและแปซิฟิก APEC (Asia and Pacific Economic Cooperation)

186. การแจ้งเกิด แจ้งย้ายเข้า – ออก ต้องแจ้งภายใน 15 วัน

187. แจ้งตาย ภายใน 24 ชม.

188. การทำบัตรประชาชน ผู้มีสัญชาติไทย อายุ 15 – 70 ปีบริบูรณ์

189. ชายไทยเมื่ออายุ 18 ปีบริบูรณ์ ต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน

190. ชายไทยเมื่ออายุ 21 ปีบริบูรณ์ ต้องรับหมายเรียกเพื่อเข้าคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ

191. ศาลพันท้ายนรสิงห์ที่พระเจ้าเสือโปรดให้สร้างขึ้นอยู่ที่ คลองโคกขาม จ.สมุทรสาคร

192. เฟดายีน ซัดดัม เป็นภาษาอาหรับแปลว่า ผู้สละชีพเพื่อซัดดัม คือ กองกำลังกึ่งทหารอาสาสมัคร

193. เจ้าหญิงคาโรลีน ราชนิกูล โมนาโก เป็นทูตสันถวไมตรี ยูเนสโกคนล่าสุด

194. วันเอดส์โลก คือ วันที่ 1 ธันวาคม

195. จตุสดมภ์ คือการปกครองภายในราชธานีสมัยอยุธยา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)

- เวียง หรือเมือง ดูแลท้องที่ ราษฎร รักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย

- วัง ดูแลงานในราชสำนัก พระราชพิธีต่าง ๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ

- คลัง ดูแลเก็บรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

- นา ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียง ออกสิทธิที่นา

196. กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ถูกปล้นปืน

197. กองกำลังเฉพาะกิจ 976 ไทย/อีรัก รหัส “ยุทธการช้างฟ้า” แสดงถึงมนุษยธรรมและสันติภาพ

198. เรือกลไฟลำแรกที่ต่อในไทย คือ เรือสยามอรสุมพล สร้าง พ.ศ.2398

199. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เป็นเจ้าของเรือที่ทำด้วยเหล็กทั้งลำ คือ เรือมงคลราชปักษี

200. แม่ทัพที่ยกพลไปปราบฮ่อสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2430 สำเร็จ คือ พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี

201. วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ฝรั่งเศสส่งกำลังทางบกเข้ามาทางชายแดนไทยบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงพร้อมส่งเรือรบเข้ามาที่กรุงเทพฯ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลไทยสละสิทธิของไทยเหนือดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส คือ

1. ให้ไทยยอมมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส

2. ให้ถอนทหารออกจากชายแดนไทยให้หมดภายใน 1 เดือน

3. ให้ลงโทษผู้กระทำผิด และเสียค่าทำขวัญแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต

4. ให้ไทยเสียค่าปรับให้ฝรั่งเศสเป็นเงินสด 1 ล้านฟรังก์

202. การเสียดินแดนให้กับอังกฤษ และฝรั่งเศส

1. เสียแคว้นสิบสองจุไท ให้ฝรั่งเศส

2. เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เป็นประเทศลาวทั้งหมด ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่เป็นอาณาจักรล้านช้างให้ฝรั่งเศส

3. เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ด้านตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ เมืองมโนไพร ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี

4. เสียดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ เมืองศรีโสภณ เมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย พร้อมทั้งการได้อำนาจศาลไทย ที่จะบังคับคนในบังคับฝรั่งเศสในไย พ.ศ.2449

5. เสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส ให้อังกฤษ เพื่อให้ได้อำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับอังกฤษในไทย พ.ศ.2451

203. สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร 2 กอง คือ กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์

204. สงครามหาเอเชียบูรพา มีการจัดกำลังเป็นกองทัพบกสนาม ประกอบด้วย กองทัพพายัพ กองหนุนทั่วไปของกองทัพบกสนาม และหน่วยรักษาชายแดนและคมนาคม

205. ธงชัยเฉลิมพล เดิมจำแนกออกเป็น 2 ชนิด

1. ธงชัยประจำกองทัพ ได้แก่ ธงจุฑาธุชธิปไตย และธงไพชยนต์ธวัช

2. ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร

206. ธงชัยฯ มีหมุดประมาณ 32 – 35 ตัว แรกเป็นรูปขวานทอง ตัวที่สองเป็นรูปธรรมจักร ตัวที่สามเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ

207. ความหมายสำคัญของธงชัยฯ มี 3 ประการ คือ

1. ผืนธง หมายถึง ชาติ

2. พระพุทธรูป (พระยอดธง) หมายถึง ศาสนา

3. เส้นพระเจ้า หมายถึง องค์พระมหากษัตริย์

208. พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยฯ สันนิษฐานว่าได้กระทำครั้งแรกเมื่อ 20 ต.ค.2471 ในสมัย ร.7

209. ธงมหาราชใหญ่ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปครุฑสีแดงอยู่ตรงกลาง

210. ธงมหาราชน้อย ใช้แทนธงมหาราชใหญ่เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ (ตอนปลายธงมีสีขาว)

211. ธงราชินี มีลักษณะคล้ายธงมหาราชแต่ชายธงเป็นแฉกหางนกแซงแซว มีขึ้นครั้งแรกสมัย ร.5

212. ธงราชินีน้อย ใช้แทนธงราชินีเป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ (ตอนปลายธงมีสีแดง)

213. ธงเยาวราช พื้นธงมี 2 สี รอบนอกเป็นสีขาบ รอบในเป็นสีเหลืองมีรูปครุฑพ่าห์อยู่ตรงกลาง สำหรับเป็นเครื่องหมายในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีขึ้นครั้งแรกสมัย ร.5

214. ธงเยาวราชฝ่ายใน (พระวรชายา)

215. ธงราชวงศ์ฝ่ายหน้า เป็นธงสำหรับพระราชโอรส สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ หรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ แห่งพระมหากษัตริย์

216. กฏมณเฑียรบาลมีขึ้นสำหรับการปกครองตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

217. เมื่อคราวไทยรบกับพม่าสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไทยส่งตัว พระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงคราม พร้อมช้างเผือก 4 เชือกให้กับพม่า

218. สมเด็จพระนเรศวร ทรงเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม เปลี่ยนแนวคิดจากตั้งรับมาเป็นรุก และริมเริ่มการใช้วิธีการรบนอกแบบ

219. ไทยเปลี่ยนการใช้ ร.ศ. มาใช้เป็น พ.ศ. สมัย ร.6

220. เครื่องราชกกุธภัณฑ์

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ

2. ธารพระกร

3. วาลวิชนี

4. พระแสงขันธ์ชัยศรี

5. ฉลองพระบาทเชิงงอน

221. พระมหาเศวตฉัตร หรือ นพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตรหุ้มผ้าขาว 9 ชั้น

222. กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ทางบก

223. กระบวนพยุหยาตราชลมารค ทางน้ำ (ถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณฯ)

224. พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีศรีสัจจปาลกาล สมัย ร.4 โปรดเกล้าให้เชิญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเสวยก่อน

225. พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเมื่อ 8 เมษายน 2430 – 2433

226. กีฬากองทัพบกได้เริ่มทำการแข่งขันครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2492

227. ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรก ชื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

228. แม่ทัพภาคที่ 1 คนแรก ชื่อ พลตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชร อัครโยธิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 – 2456

229. เลขาธิการสหประชาชาติ คนปัจจุบันชื่อ นาย โคฟี อันนัม ชาวกานา

230. นางอองซาน จู จี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของพม่า ชื่อพรรค เอ็น แอล ดี

231. ครบรอบวันประกาศอิสรภาพของประชาชนชาวพม่าที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร เมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2491

232. สตรีคนแรกของสหรัฐที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการทูต และการเมือง คือ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐกว่า 200 ปี คือ นางเมเดลีน อัลไบรท์

233. วันเลิกทาสสากล ของสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม ของทุกปี

234. การสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 กองทัพเรือ จัดสร้าง

235. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนแรก ชื่อ พล.ร.ต. พระยาปรีชาชลยุทธ ร.น. ตั้งแต่ 28 เม.ย. 2475

236. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรก ที่เป็นพลเรือน คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์

237. ประธานรัฐสภา คนแรก ชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

238. ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนแรก ชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

239. ประธานศาลฎีกาของไทย คนแรก ชื่อ พระยาวิกรมสัตนสุภาษ

240. ธนบัตรแบบแรกของประเทศไทยประกาศใช้เมื่อ 7 กันยายน 2445

241. ยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย คือ ยอดเขา อินทนนท์ สูง 2,565 เมตร

242. วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันราชสมภพของรัชกาลที่ 5 และ 8

243. วันมรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี

244. นายกรัฐมนตรี ที่มาจากพลเรือนได้เข้าร่วมประชุมสภากลาโหม คือ นายชวน หลีกภัย

245. ฌาปนสถานกองทัพบกมีที่ตั้ง 3 แห่ง คือ วัดโสมนัสวิหาร วัดอาวุธวิกสิตราม วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต

246. นักพากย์ภาพยนต์คนแรกของไทย คือ นายสิน สี บุญเรือง (ทิดเขียว)

247. ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก คือ ร้อยโท เจมส์ โลว์ นายทหารชาวอังกฤษ

248. ผู้ริเริ่มใช้กระแสไฟฟ้าเป็นคนแรกของไทย คือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)

249. ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพฯ เป็นคนแรก คือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ)

250. ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก คือ นาย เลือน พงษ์โสภณ

251. ผู้ริเริมใช้แท็กซี่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คือ พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

252. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคนแรก คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร

253. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรกของไทย คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)

254. ฝาแฝดคู่แรกของไทย คือ ฝาแฝด อิน จัน เกิดเมื่อ วันที่ 11 พ.ค. 2434 ที่ จ.สมุทรสงคราม

255. เรือกลไฟลำแรกของไทย คือ เรือสยามอรสุมพล

256. โรงพยาบาลแห่งแรก คือ โรงพยาบาลศิริราช

257. มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

258. รร.อนุบาลแห่งแรกของไทย คือ ร.รงอนุบาลโรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายวลีภิรมย์ พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิ

259. ธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์)

260. โรงภาพยนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ ที่ฉายภาพยนตร์จอซีนีมาสโคป คือ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย

261. ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชน คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ

262. โรงแรมแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมโอเรียนเต็ล

263. โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย คือ โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์

264. แบบเรียเล่มแรกของไทย คือ หนังสือจินดามณี

265. บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิกันครั้งแรกในประเทศไทย คือ นิรศลอนดอน ของหม่อมรโชทัย ขายลิขสิทธิให้กับหมอบรัดเลย์

266. หนังสือไทยเล่มแรก คือ ไตรภูมิพระร่วง

267. หนังสือพิมพ์ข่าวฉบับแรกของไทย คือ หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์

268. ปฏิทินฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์ครั้งแรกในประเทศไทย คือ ปี 2385

269. วิทยุโทรทัศน์มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2497 คือ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

270. สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 4 บางบุนพรม (ปัจจุบันคือ ช่อง 9)

271. ร.ร.หลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก คือ ร.ร.วัดมหรรณพาราม

272. สะพานแห่งแรกที่เชื่อระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คือ สะพานสมเด็ดพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

273. ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเริ่มมีครั้งแรกคือ สมัยกรุงศรีอยุธยา

274. วัดประจำพระราชวัง พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวัดมหาสมณาราม

275. ประเทสไทยเผชิญมรสุมภัยทางเศรษฐกิจ จนนำมาสู่การปรับปรุงโครสร้างทางการเงินของธนาคารอะไร ล่าสุดเมื่อ 6 ก.พ. 41 (ธนาคารศรีนคร)

276. กีฬาโอลิมปิกเกม ฤดูหนาว ครั้งที่ 18 จัดที่เมืองนากาโน ญี่ปุ่น

277. ประธานสหภาพายุโรป คนปัจจุบันชื่อ นายฌอง แคร์

278. ชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่า ผลิตยาบ้านในพื้นที่ประเทศพม่า สามารถครอบครองตลาดภายในไทยได้กว่า 80% ที่ไหน (ว้าแดง จุดนำเข้าทั้งหมดอยู่ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)

279. โอนกรมตำรวจ จากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นอยู่ภาย ใต้การบังคับบัญชาดูแลของนายกรัฐมนตรี

280. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก คือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก

281. สนามแบตมินตัน แห่งแรกในประเทศไทยอยู่ที่ พระราชวังพระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันได้ปรับแต่งเป็นสวมหย่อมไปแล้ว

282. การโต้วาทถ่ายทอดสดออกทีวีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมือง ระหว่างผู้นำพรรครัฐบาล และผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ของประเทศอังกฤษ

283. จังหวัดที่ได้รับการยกย่องเป็น “สุดยอดเมืองหลักภาคอีสาน” คือจังหวัดขอนแก่น

284. พระพุทธสัมปทานนิโรคาพาธ อันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่อดีตมีอายุเกือบ 900 ปี เป็นพระปางสมาธิราบที่สวยงาม อยู่ที่วิหารของโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ

285. “พระพุทธสิหิงค์” ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุธไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพ

286. ว่าวไทย มีเล่นกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

287. อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ รัฐสภาแห่งชาติ กรุงเทพ

288. อนุสาวรีย์สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประดิษฐานอยู่ ณ หน้ากระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ

289. อนุสาวรีย์ทหารอาสา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อบรรจุอัฐทหารอาสา ที่เสียชีวิตในการรบเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ

290. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ สูง 50 เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่เสียชีวิตในการรบระหว่างสงครามอินโดจีน กรุงเทพฯ

291. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการปกครองของระบบประชาธิปไตยของไทย กรุงเทพฯ

292. อนุสาวรีย์ศรีสุริโยทัย คือ เจดีย์ศรีสุริโยทัยเป็นอนุสาวรีย์ที่สมเด็จพระมหาจักพรรดิโปรดเจ้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรตินางสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

293. อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอเมืองลพบุรี

294. พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ประดิษฐานอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

295. อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

296. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

297. อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ในจังหวัดหนองคาย

298. อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร จังหวัดภูเก็ต

299. อนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อยู่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

300. อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

301. อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

302. วันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม 2508 มีความหมายว่าเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เปิดฉากต่อสู้ด้วยอาวุธกับฝ่ายรัฐบาล

303. แลนด์บริดจ์ หมายถึงโครงการสร้างถนนสายกระบี่ ขนมอ

304. เซาเทิร์นซีบอร์ด หมายถึง โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

305. รัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” เป็นฉบับแรกประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2540

306. กรมราชทัณฑ์ ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6

307. อธิบดีกรมราชทัณฑ์ คนแรกชื่อ มหาอำมาตย์เอก พระยาชัยวิชิตวิศิษฐ์ ธรรมธาดา

308. วันที่ 6 สิงหาคม 2488 สหรัฐฯนำเอาระเบิดปรมาณูลูกแรกไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น

309. สำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย อยู่ในบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี

310. นายกรัฐมนตรีที่คุมทหาร 3 เหล่าทัพ และยังคุมตำรวจแห่งชาติ คนแรกคือ นายชวน หลีกภัย

311. กุ้งน้ำจืด ชนิดใหม่ของโลก ที่ค้นพบที่ผ้ามอน อำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือกุ้งเจ้าฟ้า

312. กรุงเทพฯ จะปลูกไม้ยืนต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป ตามถนนสายต่างๆ ถนนราชดำเนิน จะปลูกต้นประดู่ 100 ต้น

313. “นรกธารโต” คือทัณฑสถาน หรือคุกนรกธารโต สถานที่กักขัง นักโทษในคดีอุกฉกรรจ์ จังหวัดยะลา

314. รัชกาลที่ 6 จัดตั้งคลังออมสิน

315. วัดประจำพระราชวัง พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวัดมหาสมณาราม

316. โครงการทางยกระดับถนนบรมราชชนนีอยู่ที่ช่วงตลิ่งชัน แยกพุทธมณฑลสาย 2

317. มิสไชน่าทาวน์คนแรกของไทย ชื่อนางสาวปิยะมาส เลิศนรากุล

318. ขบวนการพูโล หรือสหพันธ์รัฐปัตตานี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 11 จังหวัดปัตตานี

319. เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

320. ค่ายสิริธรม ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

321. ค่ายกรมหลวงชุมตั้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

322. ค่ายตากสิน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

323. ค่ายมหาสุรสิงหนาท ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

324. ค่ายมหาศักดิพลเสน ตั้งอยู่ที่บ้านโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

325. ค่ายสีหราชเดโชไชย ตั้งอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น

326. ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

327. ค่ายพิบูลสงคราม ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

328. ค่ายทองฑีฆายุ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

329. ค่ายจิรวิชิตสงคราม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

330. ค่ายสมเด็จพระสุริโขทัย ตั้งอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

331. ค่ายพ่อขุนบางกลางหาว ตั้งอยู่ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

332. ค่ายสุริยพงษ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดน่าน

333. ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดแพร่

334. ค่ายกาวิละ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

335. ค่ายพิชิปรีชากร ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

336. ค่ายเทพสิงห์ตั้งอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

337. ค่ายโสณบัณฑิตย์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

338. ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

339. ค่ายวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

340. ค่ายรัษฏานุประดิษฐ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดตรัง

341. ค่ายเขตอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดชุมพร

342. ค่ายวิภาวดีรังสิน ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี

343. ค่ายรัตนรังสรรค์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดระนอง

344. ค่ายเสนาณรงค์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

345. ค่ายรัตนพล ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

346. ค่ายพระปกเกล้าฯ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

347. ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

348. ฟีฟ่าหรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

349. หอคอยแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

350. หนุ่มไทยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากโรงเรียนนายเรืออากาศแห่งสหรัฐ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือ นายจักรกฤษ์ ธรรมวิชัย

351. ภูหินร่องกล้า อยู่ในเขตติดต่อ 3 จังหวัด พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ มีชื่อเรียกที่ชาวบ้านรู้จักกันว่า เทือกเขาสามหมื่น

352. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย มีสมาชิกเพิ่มเข้ามาอีก 3 ประเทศ คือประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

353. วันสันติภาพของโลก ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี

354. “ค่ายสีหราชเดโชไชย” เป็นที่ตั้งของหน่วยทหารราบที่ 8 กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 8 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 8 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

355. ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 และหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี

356. ค่ายจิรวิชิตสงคาม เป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

357. ค่ายพิบูลสงคราม เป็นที่ตั้งของกองพลทหารปืนใหญ่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี

358. ค่ายทองทีฆายุ เป็นที่ตั้งของกรมการสัตว์ทหารบก ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

359. ประเทศแรกของโลกที่มีนายกรัฐมนตรีหญิง คือประเทศศรีลังกา ชื่อสิริมาโว บันดารไนยเก

360. เขื่อนใต้ดิน คือ การสร้างสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพงทึบน้ำลงใต้ดิน อยู่ที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแห่งแรก

361. อุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของไทย ชื่อเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

362. เกาะในประเทศไทย ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะภูเก็ต คือเกาะช้าง จ.ตราด

363. ตลาดค้าสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย คือ เมืองดานัง ประเทศ เวียดนาม

364. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีคำย่อว่า ศอ.บต. เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2524

365. ตลาดนัดสัญจรเพื่อไทยทั่วไทย ของ ทบ.เปิดโครงการเป็นพื้นที่แรกที่บริเวณลานพระราชวังดุสิต และภายในสวนอัมพร

366. การสร้าง “พีเอ็กซ์” ในส่วนที่ ทภ.1 รับผิดชอบมี 2 พื้นที่ คือ พื้นที่แรกใน ร.11 รอ.ซึ่งดำเนินการโดย มทบ.11 แห่งที่ 2 ที่จังหวัดลพบุรี ดำเนินการโดยมทบ.13

367. ผบ.ทบ.อนุมัติหลักการเกี่ยวกับการดื่มแชมเปญแสดงความยินดีในงานพิธีต่างๆ ของทบ. ทุกพิธี ยกเว้นพิธี มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และพิธีมอบเครื่องหมายความสามารถพิเศษให้แก่ชาวต่างประเทศเท่านั้น

368. กำแพงเมืองจีน อันลือลั่นของจีน สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ระยะทาง 2,000 กม. มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เกรต วอลล์

369. น้ำตกที่สูงที่สุด คือ น้ำตกแม่ยะ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

370. คำว่า “แบล็กลิสต์” มีความหมายว่า รายชื่อพวกที่เป็นภัยต่อชาติเก็บไว้ แต่เปิดเผยไม่ได้ ถ้าไม่มีแสดงว่าองค์กรนั้นหย่อนยาน

371. ประเทศแรกในยุโรปที่พิมพ์ธนบัตรใช้เป็นประเทศแรก คือประเทศสวีเดน

372. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ประชุมรับสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ ที่ประเทศมาเลเซีย คือ ประเทศลาว และประเทศเมียนม่า

373. จังหวัดที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงราย

374. จังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย คือ จังหวัดนราธิวาส

375. จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตจังหวัดอื่นๆ มากที่สุด คือ จังหวัดตาก

376. จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย คือ จังหวัดยะลา และสตูล

377. ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ คือ เทือกเขานครศรีธรรมราช

378. เกาะที่ใหญ่ที่สุดของไทย คือ เกาะภูเก็ต

379. ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ ทะเลสาบสงขลา

380. หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร

381. แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ

382. คลองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ คลองแสนแสบ

383. ถนนสายแรกในประเทศไทย คือถนนเจริญกรุง

384. ถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชื่อถนนเพชรเกษม จาก กทม.ถึง จ. นราธิวาส

385. ทางรถไฟสายแรกของไทย สายกรุงเทพ ปากน้ำ

386. อุโมงค์ที่ยาวที่สุดของประเทศไทย คือ อุโมงค์ขุนตาล จังหวัดลำปาง

387. สะพานที่ยาวที่สุดของไทย คือ สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา

388. เขื่อนที่ผลิตกระแสดไฟฟ้าได้มากที่สุดในประเทศไทย คือ เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี

389. ตึกที่สูงที่สุดของไทย คือ ตึกใบหยกเทาเวอร์ อยู่กรุงเทพฯ

390. ส่วนที่แคบที่สุดของไทย คือบริเวณคอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์

391. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรก คือ รัชกาลที่ 6

392. ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติ คือ พระเจนดุริยางค์ บรรเลงครั้งแรกโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ

393. ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ กรมพระยานริศราสุวัดติวงศ์

394. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุาภาพ

395. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทยแผนปัจจุบันของไทย” คือ สมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์

396. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกองทัพเรือ” ชื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

397. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการสหกรณ์แห่งประเทศไทย” คือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

398. ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. รัตนโกสินทร์ศก คือ รัชกาลที่ 5

399. เรือกลไฟลำแรกของไทย ชื่อ เรือสยามอรสุมพล

400. โรงพยาบาลแห่งแรกของไทยชื่อ โรงพยาบาลศิริราช สร้างสมัยรัชกาลที่ 5

401. สภากาชาด ตั้งขึ้น ในรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลม

402. โรงเรียน “หลวง” สำหรับราษฎรแห่งแรก คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

403. เจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในไทย คือ พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

404. พระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือพระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม วัดแจ้ง ธนบุรี

405. พระพุทธไสยยาสน์ที่ยาวที่สุดของไทย คือ พระพุทธไสยยาสน์ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี

406. ในสมัยก่อนถือวันวันสงกรานต์ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นปัจจุบันนี้เมื่อปี 2484

407. ประชากรโลกคนที่หกล้านพันล้านคน เกิดที่ประเทศบอสเนีย

408. หัวหน้าขบวนการต่อสู้กอบกู้อิสรภาพดินแดนติมอร์ตะวันออก ชื่อ นายโฮเซ่ อะเลกซานเดอร์ ซานาทา กุสเมา

409. พระองค์ดำ เป็นพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

410. ไฟฟ้าเริ่มใช้ในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5

411. เบญจรงค์ ห้าสี มีสี ดำ แดง เขียว ขาว เหลือง

412. สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม กรุงเทพ

413. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี

414. วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

415. ประเทศกัมพูชา ที่คัดค้านที่จะให้ติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกใหม่อาเซียน

416. พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

417. โบสถ์เหล็กแห่งแรกของไทยตั้งอยู่ที่ วัดปากลำแข้ง บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด คือ ตาก อุทัยธานี และกาญจนบุรี

418. วันที่ 5 ธันวาคม 2542 เปิดให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอสซี เป็นวันแรกในสมัยนายพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าการกทม.

419. “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ มีความหมายว่า เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศตลอดจนการใช้ชีวิตและครองตนของพี่น้องประชาชนทั่วไป

420. กลุ่มกรีนพีช คือองค์กร ที่รณรงค์สิ่งแวดล้อม มีเรือแรนโบว์วอริเจอร์เดินทางรณรงค์ต่อต้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในประเทศแถบเอเชีย

421. แหล่งก๊าซแหล่งใหม่ของไทย คือ แหล่งไพลิน อยู่ที่แหล่งผลิตก๊าซกลางอ่าวไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดเมื่อ 26 มิถุนายน 2543

422. ติมอร์ตะวันออก จะแยกตัวเป็นเอกราชจากประเทศอินโดนีเซีย

423. สะพานขึงแบบอสมมาตร เสาเดี่ยว 3 ระนาบ ที่ยาวที่สุดในโลกของไทยตั้งอยูด้านเหนือของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ก่อนถึงสะพานกรุงธนบุรี ชื่อสะพานพระราม 8

424. กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตั้งอยู่ที่สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

425. พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นักกีฬาคนพิการ เครื่องราชอินริยาภรณ์ ชื่อ ดิเรกคุณาภรณ์

426. พระที่นั่งไกรสนสีหราช อยู่ที่จังหวัดลพบุรี

427. เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งประวัติศาสตร์และตรงกับวันเพ็ญอาสาฬหบูชา วันที่ 16 กรกฎาคม 2543

428. เขื่อนปากมูล อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี

429. เมืองหลวงของไทยในอดีต ก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพมหานคร คือ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

430. อุทยานแห่งชาติพุเตย อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

431. เจดีย์ยอดด้วน หรือเจดีย์ยักษ์ อยู่ที่วัดพระเงิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

432. กรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ ลาออกจากตำแหน่ง 3 ตำแหน่ง เพราะ ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ว่า แสดงบัญชีทรัพย์สินเท็จ ไม่ตรงกับความจริง

433. สวนสาธารณแห่งใหม่ที่จัดเป็นแบบสวนไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

434. สัญลักษณ์ที่อยู่ด้านหน้าของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีชื่อว่า โลกุตระ

435. ประเพณีงานผีตาโชน เป็นของจังหวัดเลย

436. เกาะทะลุ ตั้งอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

437. กองทัพไทยในสงครามศึกไทย พม่า กองทหารดาบทะลวงฟัน ผู้นำหน่วยรบที่กล้าหาญชื่อ ขุนรัตนาวุธ

438. พระพุทะเจ้าทรงตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา

439. “เพชรอันดามัน” ได้รับการขนานนามเป็นของจังหวัดกระบี่

440. รัฐสภา สว.ครบองค์ประกอบได้สมาชิกคนที่ 200 ชื่อ คุณวิลาวัลย์ ตันวัฒนะพงษ์ สว.จว.อุบลราชธานี

441. การรถไฟสายเหนือของไทย มีสถานีปลายทาง อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

442. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผู้ที่ออกเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่อายุ 18 ปี

443. ประเทศไหน เป็นประเทศแรกที่ได้จัดให้มีการวันแม่ขึ้น (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

444. “NGL” ได้แก่ก๊าซ โชลีน

445. ผู้ก่อตั้งโอลิมปิกสากล ชื่อ ปิแอร์ เดอ กูแบร์แดง

446. วันที่ 22 ก.ย. 43 รัฐบาลจัดให้เป็นวันคาร์ฟรีเดย์ วันรณรงค์จอดรถไว้ที่บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน

447. นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเป็นชาวกานา

448. สะพานซังฮี้ มีชื่อเป็นทางการว่า สะพานกรุงธน

449. “เอ็มพาวเวอร์” หมายถึงมูลนิธิส่งเสริมโอกาสหญิงบริการ ศูนย์พิทักษ์สิทธิหญิงขายบริการทางเพศ

450. “ฑูตสันถวไมตรี เพื่อเด็กและเยาวชน” จากยูนิเซฟ คนแรกของไทย ชื่อ คัทลียา แมคอินทอช

451. เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การค้าโลก (WTO) ผู้หญิงคนแรกชื่ออภิรดี ตันตราภรณ์

452. ทูตยูนิเซฟ คนแรกของไทย คือ นายอานันท์ ปันยารชุน

453. ปราสาทหินของไทยที่ใหญ่ที่สุด คือปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

454. โรงพยาบาลคนเสียจริต แห่งแรกของไทย คือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม.

455. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ไทเกอร์วูดส์ นักกอล์ฟชื่อดังระดับโลกสาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา

456. คำขวัญกองทัพบก มีชื่อว่า เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน

457. นโยบายผู้บัญชาการทหารบก ให้ไว้เมื่อ 28 ต.ค. 41 มีชื่อว่า ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ

458. ประเทศมาเลเซีย ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ว่า นครปุตราจายา

459. จังหวัดในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล คือ จังหวัดยะลา

460. จังหวัดสุดท้ายของประเทศไทย คือ จังหวัดอำนาจเจริญ แยกตัวจากจังหวัดอุบลราชธานี

461. สมาชิกองค์การค้าโลก มี 133 ประเทศ

462. มิคสัญญี หมายความว่า ยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟัน เบียดเบียนกัน

463. ค่ายบดินทรเดชา ตั้งอยู่ที่จังหวัดยโสธร

464. ถนนที่สวยที่สุด และแพงที่สุดในไทย ชื่อถนนอักษะ

465. ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก และคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ไปทอดผ้าป่าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) คือ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร

466. ในวัดพระแก้ว มียักษ์ที่ยืนตระหง่านกุมกระบองทั้งหมด 12 ตัว

467. วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี คือวันประชากรโลก

468. ผู้ที่เอาตัวเองเข้าประกัน กับนักศึกษาพม่าที่สถานทูตพม่า เพื่อคลี่คลายเหตุการณ์คือ ม. ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ

469. นักศึกษาพม่าทั้ง 5 คน ที่บุกยึดสถานทูตพม่า ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ พร้อมตัวประกันไปลงที่เขตบ้านท่าตะโก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นเขตอิทธิพลของกะเหรี่ยงคริสต์ หรือกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ของนายพลโบเมียะ ที่ยังปักหลักสู้รับกับรัฐบาลพม่า

470. สุสานช้างโลกล้านปี ที่ขุดพบในประเทศไทย อยู่ที่บริเวณฝั่งแม่น้ำมูล ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

471. ถนนสายเศรษฐกิจสำคัญ ของภาคอีสาน ชื่อถนนมิตรภาพ

472. วันเอกราชของกัมพูชา คือวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี

473. แสตมป์ชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแสตมป์ไทย คือชุด โสฬศ วันแรกที่จำหน่ายคือ 4 สิงหาคม 2426

474. ธงพระคชาธาร หมายถึง การอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจากภยันตราย รวมทั้งมีเมตตามหานิยม ครอบจักรวาล ซึ่งตำแหน่งของธงนั้น จะปักประดับ ประดิษฐานประจำพระที่นั่งคชาธาร ที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกศึกสงครามทุกครั้ง

475. พิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือพิธีเห่เรือ จัดมากี่ครั้ง 11 ครั้ง ครั้งแรกจัดเมื่อ 14 พ.ค. 2500

476. วันที่ 4 พ.ย.42 พิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทับเรือพระที่นั่งชื่อ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

477. ผู้อำนวยการองค์การอหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอ โอ) ทูลเกล้าฯถวายเหรียญชื่อ เทเลฟู้ด ให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

478. ผู้อำนวยการหญิงคนแรกขององค์การอนามัยโลก ชื่อ (ดร.ไกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ทแลนด์)

479. เหตุการณ์ฝนดาวตก กลุ่มดาวสิงโต ในช่วงคืนวันที่ 18 - 19 พ.ย. 42 สังเกตุการณ์ที่หอดูดาวเกิดแก้ว อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี

480. ปฐมกษัตริย์ของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีอิทราทิตย์

481. กษัตริย์ไทยที่ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นที่สุด คือพระเจ้าทองลั่น แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ

482. ในสมัยพญาลิไทยได้จัดการแบ่งสงฆ์ออกเป็น 2 คณะ คือ คามวาลี และอรัญวาลี

483. ในสมัยสุริโยทัย มีการแบ่งการปกครองเป็น 3 ส่วน คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

484. พระพุทธรูปในสมัยสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช พระศาสดา และพระศีศากยมุนี

485. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรวงรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาจาก นครศรีธรรมราช

486. แรกเมื่อเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยนั้น มีวรรณยุกต์ใช้อยู่ 2 รูป คือ เอก กับ โท

487. กรุงสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

488. ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้ปรับปรุงการเก็บภาษี ใหม่ 4 ประเภท คือ จังกอบ ส่วย อากร และฤชา

489. ศิลปการแสดงเฟื่องฟูมากที่สุด ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ

490. ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาเมืองไทย คือ ชนชาติโปรตุเกส

491. ไพร่สม คือ บรรดาชายฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 18 -20 ปี ซึ่งต้องไปขึ้นทะเบียนฝึกทหาร

492. ไพร่หลวงคือ บรรดาไพร่สมที่ฝึกทหารมาแล้วมีหน้าที่เข้าเวรรับใช้ราชการ

493. ไทยกับพม่าทำสงครามครั้งแรก ในสมัยพระชัยราชาธิราช

494. สาเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงดำริสร้างเมืองลพบุรีขึ้น เพราะระยะนั้นไทยถูกรุกรานจากฮอลันดา

495. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระนามที่ประชาชนถวายอีกพระนามหนึ่งว่า “พระเจ้าช้างเผือก” และประเทศไทยเริ่มใช้ ธงตราช้างเผือก ในสมัยรัชกาลนี้ (ร.2)

496. วัดประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม ตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 คือ มหาปราสาท

497. สงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับรักาลที่ 6 ของไทย และผลที่ไทยได้รับจากสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ชื่อเสียง เกียรติคุณของประเทศ

498. ไทยกับอังกฤษได้ทำสัญญาการค้าฉบับแรก ขึ้นโดยที่อังกฤษได้ส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเป็นตัวแทนทำสัญญากับไทย

499. รัชกาลที่ 4 ทรงริเริ่มให้ข้าราชการไทย เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน โดยต้องสวมเสื้อ

500. พระราบัญญัติการเกณฑ์ทหาร เริ่มมีขึ้นใช้บังคับในสมัย รัชกาลที่ 5

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)
ขอขอบคุณที่มา http://cowboy2007-religious.blogspot.com/
สำหรับเนื้อหาและรายละเอียดเพิ่มเติม ยังมีอีกมาก สามารถไปดูได้ที่เว็บของเจ้าของเนื้อหาตามลิงค์ด้านบนครับ
1.การทอดกฐิน สิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ....ผ้าไตรจีวร เป็นมูลเหตุเกิดประเพณี
2.การรณรงค์วัฒนธรรมไทยให้คนไทยได้มีสำนึกถึงความเป็นไทยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นสำคัญ...สถาบันทางสังคม เพราะ เป็นแบบแผนในการกระทำ การคิด หรือความประพฤติของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ที่ยึดถือร่วมกัน
3.มารดาบิดาที่เลี้ยงบุตรให้เป็นสุข ส่งเสียให้ได้รับการศึกษาอบรมแสดงว่าปฏิบัติธรรมข้อใด...เมตตา-ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
4.การปกครองคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขสงฆ์และมีสมเด็จพระราชาคณะอีก.... 8รูป และ พระราชคณะแต่งตั้งอีก 12 รูป
5.ลักษณะวัฒนธรรมไทยที่สำคัญที่สุด คือ.....มีลักษณะของความเป็นไทย, มีแบบแผนทางพิธีกรรม, ยึดถือการทำบุญกุศล, แสดงออกสนุกสนาน, ผูกพันการเกษตร ฯลฯ
6.การนิมนต์พระมาที่บ้าน 5 รูปแสดงว่าทำพิธีใด...เจริญพระพุทธมนต์ อย่างต่ำ 5 รูป ,7รูป ,9 รูป ไม่เป็นจำนวนคู่ แต่พิธีหลวงปัจจุบัน
มักอาราธนาพระเป็นคู่ เช่น 10 รูป เป็นต้น งานแต่งงาน 10 รูป( บ่าว-สาว นิมนต์ฝ่ายละ 5 รูป ) สวดอภิธรรมศพ 4 รูป
7.การพบกระเป๋าสตางค์หล่นแต่ไม่เก็บเอาเป็นของตนเอง ประกาศหาเจ้าของ คือ มีเจตนางดเว้นการทำผิดศีลที่เรียกว่า...สัมปัตตวิรัติ
หมายถึง เจตนางดเว้นเมื่อพบเหตุการณ์เฉพาะหน้า
8.ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังกิจของตนและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” สอดคล้องกับ
มรรค 8 ข้อ... สัมมาสติ – การระลึกชอบ
9.การทอดกฐิน จะทำในเดือนใด... วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
10.อิทธิบาท 4 ข้อที่ว่า วิมังสา หมายถึง...ความคิดค้น ใช้ปัญญาพิจารณางาน คือ เข้าใจทำงาน
11.ฟังปาติโมกข์ หรือลงปาติโมกข์ กระทำในวัน...วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือเดือน 4 ปีอธิกมาส , วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระพุทธ
เจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก – เว้นชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์
12.เมตา กรุณา เป็นพื้นฐานช่วยให้เบญจศีลข้อใดรักษาได้ง่ายขึ้น...ปาณาติบาต
13.การศึกษาของพระสงฆ์ตามที่ทางคณะสงฆ์กำหนด ได้แก่ ...1.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี 2.การศึกษาพระปริยัติธรรม
แผนกธรรม 3.การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์... ซึ่ง แบ่งได้เป็น 2 สถาบัน คือ 1.มหามกุฎราชวิทยาลัย ศน.บ. (ศาสนศาสตรบัณฑิต)
วัดบวรนิเวศวิหาร 2.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พธ.บ. (พุทธศาสตรบัณฑิต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
14.การศึกษาในทางพุทธศาสนามี 2 ประเภท คือ...1.คันถธุระ คือ การศึกษาพระปริยัติธรรม 2. วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติตาม
พระพุทธวัจนะเพื่อบรรลุมรรคผลเบื้องสูง
15.พระไตรปิฎก ประกอบด้วย...1.พระวินัย 2.พระสูตร 3.พระอภิธรรม
16.เจตนารมที่แท้จริงในการเผยแผ่ศาสนาของพระพุทธเจ้า คือ....เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน
17.วันอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ชื่อ....ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
18.การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ จัดอยู่ใน....สหธรรม- การอยู่ร่วมกัน
19.การกราบพระรัตนตรัยมี 3 จังหวะ คือ...1.อัญชลี 2.วันทา 3.อภิวาท
20.สมานัตตตา แปลว่า วางตัวเหมาะสม เสมอภาค สมกับฐานะตน ตรงกับคำพังเพยหรือสำนวนไทย....นกน้อยทำรังแต่พอตัว
21.คนว่ายาก ดื้อรั้น กระด้าง ไม่ยอมฟังเหตุผลใดๆ จากผู้ใดทั้งสิ้น ควรแก้ไขด้วยการปฏิบัติธรรม...
โสวจัสสตา – ความเป็นผู้ว่าง่าย
22.ใบพ้อพันห่อ หุ้มกฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม
โคลงบทนี้สอดคล้องคุณธรรมใด ( กัลยาณมิตตตา – มีคนดีเป็นเพื่อน อยู่ในหมู่นักปราชญ์อาจฉลาดด้วย )
23.วัดที่จะรับกฐินจะต้องมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นตลอด 3 เดือน โดยไม่ขาดพรรษาอย่างน้อย....จำนวน 5 รูป
24.สิ่งของที่ขาดไม่ได้ในการทอดผ้าป่า คือ.... ผ้าบังสุกุล – ผ้าเปื้อนฝุ่นไม่มีเจ้าของหวงแหน
25. “ โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ” นี้เป็นคำกล่าวของ พระรัฐปาลเถระ การที่จะแก้ปัญหาให้คนรู้จักอิ่ม รู้จักพอนั้นควรแก้ด้วยนาถกรณธรรมข้อใด....สันตุฏฐี – สันโดษ , มีความพอใจตามกำลังความสามารถของตน ไม่ละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ฟุ่มเฟือย ได้อย่างไรใช้อย่างนั้น
26.สิ่งต่างๆที่สมาชิกในสังคมประดิษฐ์ขึ้น เป็น....สหธรรม
27.ในฐานะเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อเห็นชายคนหนึ่งเป็นคนยากจนมาก อยู่แบบอดๆอยากๆ ควรปฏิบัติต่อชายผู้นั้นอย่างไร....แนะนำ
หลักธรรมสำหรับสร้างฐานะให้
28.พุทธศาสนาแพร่เข้ามาในแผ่นดินไทย ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 300 คนไทยนับถือพุทธศาสนา.. ประมาณก่อน พ.ศ.300 นิกายเถรวาท -
หินยาน , พ.ศ.1300 นิกายมหายาน , พ.ศ.1600 นิกายเถรวาทแบบพุกาม , นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1800 จนถึงปัจจุบัน
29.เอกลักษณ์ของชาติไทย คือ...สิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทย ได้แก่ ภาษาไทย การแต่งกาย ความเคารพ สถาปัตยกรรม ประเพณี ฯลฯ
30.พระสงฆ์ หมายถึง....พระตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป , ภิกษุ ภิกษุณี
31.จัดหมวดหมู่ธรรม
1.อิทธิบาท 4 คือ เครื่องให้ถึงความสำเร็จ หนทางแห่งความสำเร็จ ธรรมะทำให้ประสบผลสำเร็จ .....
1.ฉันทะ – ความชอบ 2.วิริยะ – ความเพียรพยายาม 3.จิตตะ – ใส่ใจ 4.วิมังสา – พิจารณาใคร่ครวญ
2.พรหมวิหาร 4 คือธรรมะสำหรับผู้ปกครองคน ( พ่อ – แม่ ) ...1.เมตตา - ปารถนาให้ผู้อื่นมีสุข 2.กรุณา - สงสารผู้อื่นเมื่อตก
ทุกข์ 3.มุทิตา - ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี 4.อุเบกขา – ความเป็นกลาง
3.อคติ 4 ความลำเอียง ......1.ฉันทาคติ - เพราะรัก 2.โทสาคติ - เพราะชัง 3.โมหาคติ - เพราะเขลา
4.ยาคติ –เพราะกลัว
4.สังคหวัตถุ 4 ธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ....1.ทาน - การแบ่งปันสิ่งของ 2.ปิยวาจา - วาจาไพเราะน่ารัก
3.อัตถจริยา - บำเพ็ญประโยชน์ 4.สมานัตตตา – วางตนให้เหมาะสม
32.ความหมายที่ควรรู้
ศรัทธา – เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ขันติ – อดทน ถอนตัวจากความชั่ว
ศีล – รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย อุเบกขา – ความเที่ยงธรรม
สุตะ – ตั้งใจสดับฟัง หมั่นเล่าเรียนศึกษา อัตถจริยา -- บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
จาคะ – สละให้ปันสิ่งของๆตนแก่คนที่ควรให้(บริจาค) สัจจะ – ความซื่อสัตย์ต่อกัน
33.รากเหง้าของความพยาบาท คือ...อวิชชา – ความไม่รู้ : รติ – ความชอบใจ, อรติ – ความไม่พอใจ, วิชชา – ความรู้
34.วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อเยาวชนไทยมากที่สุด คือ.... ด้านวัตถุ
35.หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มี 84,000 พระธรรมขันธ์ มีทั้งหมด...45 เล่ม
36.ประเพณีของสังคมไทยที่สะท้อนค่านิยมในเรื่องความกตัญญูกตเวทีได้เป็นอย่างดี คือ...การทำบุญวันเกิด
37.ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมชนบท คือ .....วัฒนธรรมตะวันตก
38.ลักษณะเด่นที่สุดของพระพุทธศาสนา คือ...เป็นศาสนาแห่งเหตุและผล , สัจธรรม ความจริง
39.ปฏิสวะ คือ...การฝืนคำรับ , รับแล้วไม่ทำตามนั้นทั้งที่พอจะทำได้อยู่
40. อนุโลมมุสา..... 1.ส่อเสียด 2.ประชด 3.สับปลับ
41.หลักวินิจฉัยความหนักเบาของบาปกรรม มี 3 ประการ คือ...... 1.วัตถุ 2.เจตนา 3.ประโยค
1.วัตถุ – เรื่อง,สิ่ง,ที่ดิน,ข้อความ,ที่ตั้งของเรื่อง หมายถึง บุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์
2.เจตนา – ความตั้งใจ , ความมุ่งใจหมายกระทำ
3.ประโยค – การประกอบ , การกระทำ , ความพยายาม
42.เจ้าอธิการ คือ...เจ้าอาวาส
43.พระครูพิศาลวรกิจ พระพิพิธธรรมสุนทร พระราชปริยัติวิธาน พระเทพสุธี รูปที่สมณศักดิ์สูงกว่ารูปอื่นคือ....พระเทพสุธี
44.ผู้พูดคำหยาบเป็นผู้สร้างเสนียดขึ้นในตัวเองจนสิ้นเสน่ห์ถ้าเราอยากมีเสน่ห์ควรประพฤติ....ปิยวาจา
45.เบญจศีลที่รับประกันว่า สติสัมปชัญญะ ของคนจะไม่ถูกทำลาย หรือเสียสติ คือ....สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
46.ในชีวิตผู้ครองเรือน ความสุขที่สำคัญที่สุด คือ....อณวัชชสุข - สุขจากการทำงานปราศจากโทษ
47.หลักคำสอนเรื่องการหาทรัพย์ว่า “ อย่านอนตื่นสาย อย่าหน่ายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา คำว่าอย่านอนตื่นสาย ”
หมายถึง....อุฎฐานสัมปทา - ขยันหา
48.หลักธรรมที่ทำให้คู่ครองอยู่กันได้ตลอดไป ต้องมีสิ่งสมกัน 4 ข้อ คือ...1.สมศรัทธา 2.สมสีลา 3.สมจาคา 4.สมปัญญา
49.กรรมการมหาเถรสมาคม คือ สมเด็จพระสังฆราช เป็น ปธ. , พระราชาคณะ 8 รูป ,พระราชคณะแต่งตั้ง 12 รูป ,อธิบดีกรมศาสนา-เลขา
50.เจ้าคณะใหญ่หนกลางมีหน้าที่ คือ....ดูแลพระสงฆ์ในเขตภาคกลาง
51.ก่อนปรินิพพานทรงแสดงปัจฉิมโอวาท เรียกว่า อัปปมาทธรรม....ให้ยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
52.พระพุทธพจน์ที่บันทึกไว้ในพระอภิธรรมปิฎก มี....42,000 พระธรรมขันธ์
53.อาหารที่ปรุงจากเนื้อ 10 ชนิด ที่มีพุทธบัญญัติ ห้ามไม่ให้ฉัน...1.มนุษย์ 2.ม้า 3.หมา 4.หมี 5.ราชสีห์ 6.ช้าง
7.งู 8.เสือโคร่ง 9.เสือดาว 10.เสือเหลือง
54. “การง่ายไม่ดีกว่าการยาก ความลำบากดีกว่าสุขสบาย ความชั่วทั้งหลายเกิดจากตามใจตัวเอง ความดีทั่วไปต้องฝืนใจทำ”คำสอนนี้
มุ่งให้ปลูกฝังคุณธรรมใด....ทมะ – ความฝึก ความหยุด ความข่ม
55.“อยู่เรือนพังยังดีไม่มีทุกข์ ดีกว่าคุกหลายเท่าไม่เศร้าหมอง” แสดงว่าควรปฏิบัติธรรมหมวดใด....ฆราวาสธรรม
56.พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถามว่า สมุทัย คือ....ตัณหา ความทะยานอยาก เป็นเหตุแห่งทุกข์
57.ไม่เย่อหยิ่งจองหอง รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น คือ....สหธรรม
58.อนวัชชสุข คือ....สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
59.สิทธัตถะ แปลว่า... ผู้สำเร็จในสิ่งอันพึงประสงค์ทุกประการ
60.พุทธจริยา....1.โลกัตถจริยา – เพื่อชาวโลก 2.ญาตัตถจริยา – เพื่อพระยูรญาติ 3.พุทธัตถจริยา – ฐานะเป็นพระพุทธเจ้า
61.ธรรมมีอุปการะมาก....สติ สัมปชัญญะ – ระลึกได้ รู้ตัว
62.พระจริยาวัตร....1.มีเมตตาอย่างสูงยิ่ง 2.มีความพรากเพียรสูงยิ่ง 3.ใฝ่รู้และแก้ปัญหาด้วยปัญญา 4.เป็นนักเสียสละ
63.พุทธกิจ.... เช้าบิณฑบาต เย็นประกาศสัจธรรม ค่ำแนะนำสาวก คืนถกปัญหาเทวดา ใกล้รุ่งตรวจตราสัตว์โลก
64.บุคคลผู้หาได้ยาก....บุพการี – ผู้ทำอุปการคุณมาก่อน , กตัญญูกตเวที – ผู้อุปการคุณแล้วตอบแทน
65.ธรรมะทำให้งาม....ขันติ – ความอดทน , โสรัจจะ – ความสงบเสงี่ยม
66.สัญลักษณ์ในการบูชา
1.ธูป บูชาพระคุณพระพุทธเจ้า 3 ได้แก่ 1.พระปัญญาคุณ 2.พระวิสุทธิคุณ 3.พระมหากรุณาธิคุณ
2.เทียน บูชาพระธรรมวินัย หรือ โลกิยธรรม โลกุตลธรรม
3. ดอกไม้ บูชาพระสงฆ์
67.การจุดธูป...1 ดอก - ไหว้ศพ
3 ดอก - บูชาพุทธคุณ 3 ประการ
5 ดอก - บูชาพระรัตนตรัย 3 บิดามารดา 1 อาจารย์ 1 หรือ บูชาพระ พุทธเจ้า 5 พระองค์ ได้แก่ กกสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ
โคตมะ ศรีอริยะเมตตรัย
7 ดอก - บูชาโพชฌงค์ 7 หรือ วันทั้ง 7,
9 ดอก - บูชาพุทธคุณ 9 หรือ บูชาพระภูมิเจ้าที่ 9 องค์
68.ตั้งโต๊ะหมู่บูชา นิยมพระพุทธรูป....ปางสมาธิ – ปางมาวิชัย ตามลำดับ
69.การกรวดน้ำ...พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคนแรกที่ทำ
70.การเรียกเณร และพระสงฆ์....เณร – รูป , พระ – องค์ , รูป
71.เกี่ยวกับสถาบันชาติ ทหารมีบทปลงใจว่า....ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้ จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอา
เนื้อ เอาชีวิต และความลำบากอยากเข็นเข้าแลกเอาไว้ เราต้องรักษาชาติ เราต้องบำรุงชาติ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ
72.สถาบันชาติ ได้แก่....1.ดินแดน 2.ทรัพยากรธรรมชาติ 3.ประชาชน
73.หลักวินิจฉัยบาปเมื่อกระทำผิดศีลว่าจะมากหรือน้อยนั้น วิธีการฆ่า ถ้าฆ่าโดยวิธีทรมานมากก็บาปมาก ตรงกับ....ประโยค
74.ผู้มีอิทธิพลที่ชอบเบียดบังหรือปทุษร้ายต่อทรัพย์สินของผู้อ่อนแอกว่า เขาขาดเบญจธรรมข้อใดมากที่สุด....สัมมาชีพ
75.หากเปรียบศาสนพิธีเท่ากับต้นไม้ ควรเป็นส่วนใดของต้นไม้....เปลือกไม้ – ช่วยรักษาแก่น ซึ่งคือหลักธรรมคำสอน
76.เมืองไทยเราได้ชื่อว่า “สยามเมืองยิ้ม” เพราะคนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส คำว่า “ยิ้มแย้มแจ่มใส” บ่งบอกถึงคุณลักษณะของคนไทย
ข้อใด.... นิสัย
77.ที่บูชาประจำกองร้อย ทบ.กำหนดให้ใช้พระพุทธรูปใดประดิษฐานที่โต๊ะหมู่....พระพุทธสิงห์ชัยมงคล
78.พระอยู่ในที่ใดกับผู้หญิงสองต่อสองไม่ได้....ในที่ลับหูลับตา ต้องไม่เข้าไปหาในกุฏิ
79.พระพุทธสิงห์ชัยมงคล ประจำกองร้อย ทบ. เป็นพระพุทธรูปปาง....มารวิชัย สมัยเชียงแสน
80.พื้นของคนคือศีล 5 การดูแลพื้นคนก็ดูที่รอยร้าว 5 อย่าง คือ.... 1.โหดร้าย 2.มือไว 3.ใจเร็ว 4.ขี้ปด 5.หมดสติ
81.คุณสมบัติของมิตรที่ว่า “เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ ให้เกินกว่าที่ออกปาก” คือ มิตรประเภท.... มิตรมีอุปการะ
82.ในกรจัดสถานที่ทำบุญต้องมีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ควรมีพานพุ่มจำนวน 3 พาน คือ 1.พุ่มทอง 2.พุ่มเงิน 3.พุ่มเพชร ถามว่า
พุ่มเพชรใช้บูชาผู้ใด ..........................................................................................................................................................................
83.อัตถจริยา ในสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์กับธรรมข้อใดในนาถกรณธรรม...กิงกรณีเอสุ ทักขตา
84.ความเป็นผู้มีน้ำใจ จัดเป็นธรรมะข้อใด ในสังคหวัตถุธรรม 4 ประการ.... ทาน – การให้ เสียสละ แบ่งปัน
85.สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ได้แก่....1.อัตถิสุข 2.ปริโภคสุข 3.อนณสุข 4.อนวัชชสุข
86.หลักการสงเคราะห์( สังคหวัตถุ 4 ) ได้แก่.....1.ทาน – การให้ 2.ปิยวาจา – พูดคำสุภาพน่ารัก 3.อัตถจริยา – ทำตนให้เป็น
ประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญญาความรู้ความสามารถ ทรัพย์และเวลา 4.สมานัตตตา – วางตนเสมอตนเสมอปลาย
87.เบญจศีล ข้อใดไม่มีในกุศลกรรมบท 10....ข้อ 5 , กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กาย 3 ,วจี 4 , มโน 3
88.จ.ส.อ.ดำฯ ป่วยเป็นโรคเอดส์ เกิดความเข้าใจผิดกับภรรยาถึงขั้นหย่าร้าง เพราะประพฤติผิดเบญจศีลข้อใด....ต้องรู้สาเหตุก่อน
89.ศีล หมายถึง....การควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในสภาวะปกติ
90.การแยกนิกายของคณะสงฆ์ไทย เป็นเพราะปัญหาเรื่องใด.... การผิดวินัยสงฆ์
91.มโนสุจริต ตรงกับข้อใด....ไม่พยาบาทมุ่งร้ายต่อใคร
92.ในการรักษาศีลข้อที่สำคัญที่สุด คือ....วิรัติ – การตั้งเจตนา
93.การรับสินบน หากผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งเป็นการร่วมทำโจรกรรม อยากทราบว่า ศีลข้อ 2
ขาดหรือไม่ ....ขาดแน่นอนเพราะมีเจตนาร่วม , ถ้าไม่เจตนา - ศีลด่างพร้อย
อนุโลมโจรกรรม - ปลอกลอก สมโจร รับสินบน ฉายาโจรกรรม - ผลาญ หยิบฉวย
94.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรับเอาพระพุทธศาสนานิกายใด ไปเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยจนถึง
ปัจจุบันนี้....เถรวาท แบบลังกาวงศ์
95.ธรรมะที่ส่งเสริมความสามัคคีที่สำคัญมี 2 ข้อ ซึ่งหากขาดธรรมะนี้ ก็จะมีแต่ความแตกแยก ธรรมะที่ว่านี้คือ.....ขันติ จาคะ
96.สุภาพสตรีที่ยึดถือคำพังเพยที่ว่า “อย่าชิงสุกก่อนห่าม” แสดงว่าเธอตั้งใจปฏิบัติจะปฏิบัติตามเบญจธรรมข้อใด.....ข้อ 3
97.เยาวชนวัยรุ่นในยุคนี้ หันไปนิยมแบบฝรั่ง เช่น ใส่เสื้อสายเดี่ยว เป็นต้น นั้นเป็นเพราะขาดวัฒนธรรม....วัตถุธรรม
98.ด้ายสายสิญจน์....เริ่มวงด้ายสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชา วงรอบอาคารบ้านเรือนโดยวงเวียนขวา เหมือนเลขหนึ่งไทย แล้วมาวนสิ้นสุด ที่ใต้ฐานพระพุทธรูป
99.จ.ส.อ.ดำฯ เป็นสุภาพชนในทุกสถานที่ รักพวกพ้องและผูกมิตรไมตรีกับคนต่างพวก แสดงว่าเขามีวัฒนธรรม.....สหธรรม
100.เบญจางคประดิษฐ์ มีจังหวะการปฏิบัติ....1อัญชลี 2.วันทา 3.อภิวาท
101.ธรรมะที่ใช้ในการปรับแก้พฤติกรรมมนุษย์มิให้ประพฤติผิดเบญจศีล ข้อสุดท้าย คือ.... สติ
102.หลักการอยู่ร่วมกัน ( สาราณิยธรรม 6 ) ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ( เอกิภาวะ ) ใช้หลักคุณธรรมอะไรเป็นพื้น
ฐานในการทำ การพูด และการคิด....ปรารถนาดีต่อกัน
103.หลักธรรมเพื่อให้บุคคลพึ่งตนเองได้ ( อัตตา หิ อัตตะ โน นาโถ ) ถ้าถือตามหลักมงคลชีวิตแล้ว ต้องปฏิบัติตามข้อใดก่อน
....การศึกษาเล่าเรียน
104.ประเทศไทยของเราในยามที่เหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันมีบทบาทสำคัญมากที่สุด....พระมหากษัตริย์
105.ธรรมะข้อใดที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตคู่ คือ สามีภรรยา.....สมชีวิตาธรรม 4
106.การกระทำที่ไม่ถือว่าผิดศีล ข้อ 4 ....พูดโดยไม่เจตนาจะพูดให้ผิด
107.ลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาของคนไทยต่อไปนี้ ข้อใดที่ไม่ควรมีในสังคมทหาร....หย่อนระเบียบวินัย
108.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดสังฆรัตนะ.....วันอาสาฬหบูชา – วันพระสงฆ์
109. “เลือกที่รัก ผลักที่ชัง” ตรงกับอคติ 4 ข้อใด..... ฉันทาคติ โทสาคติ
110.ธรรมะที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน.... ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา , สัจจะ ทมะ ขัติ จาคะ , อัตถิสุข ปริโภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข
111.ความสันโดษ ( สันตุฏฐี ) หมายถึง.... ความพอเพียง พอดี ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐ
112.สุจริต แปลว่า ความประพฤติดี มี 3 อย่าง คือ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจอยากทราบว่าข้อใดเป็นความประพฤติ
ดีทางใจ ( มโนสุจริต ).... ไม่โลภ
113.สาธารณโภคี หมายถึง.... การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาโดยชอบธรรม
114.คณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันเป็นนิกายเถรวาท ต่อมาแบ่งเป็น 2 นิกาย คือ มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย โดยธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้น
ในรัชสมัยใดของกรุงรัตนโกสินทร์.....รัชกาลที่ 3 - โดยภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
115.หลักการที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ 1.เว้นชั่ว 2.ทำดี 3.ฝึกจิตให้ผ่องใส สัมพันธ์กับ.....วันมาฆบูชา - โอวาทปาฏิโมกข์
116.จ.ส.อ.ดำฯ สามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรได้สำเร็จแสดงว่ามีธรรมะข้อใดมากที่สุด..... พาหุสัจจะ – ศึกษาเล่า
เรียนมาก เข้าใจลึกซึ้ง : กัลยาณมิตตตา – คบคนดี , โสวจัสสตา – ว่าง่าย สอนง่าย , กิงกรณีเยสุ ทักขตา – ใส่ใจหมู่คณะ
117.เอกลักษณ์ที่เด่นชัดที่สุดของคนไทย คือ.....รักอิสระ
118.วัฒนธรรมประเพณีอันดีของชาติประการหนึ่งคือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งจัดอยู่ในธรรมะประเภท....ธรรมะมีอุปการะมาก
119.พระพุทธศาสนา “เถรวาทแบบลังกาวงศ์” มีพระสงฆ์นำเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยที่...นครศรีธรรมราช
120.ลำดับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา....วันมาฆบูชา – วันวิสาขบูชา-- วันอัฏฐมีนบูชา – วันอาสาฬหบูชา
121.สมัย ร. 8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
122.สังคายนา หมายถึง การรวบรวม การตรวจสอบ ชำระพระธรรมและพระวินัย โดยการสังคายนาครั้งที่ 2 มีพระเจ้ากาลาโศกถวาย
การอุปถัมภ์ สาเหตุ เพราะภิกษุปฏิบัติผิดวินัย เช่น ฉันอาหารเลยเวลาเที่ยง เป็นต้น การสังคายนาครั้งนี้เป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยก
เป็น 2 นิกาย....1.เถรวาท 2. มหาสังฆิกะ
123.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย
ยุคที่ 1.เถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช มาทางสุวรรณภูมิ ขุดพบที่ จ.นครปฐม คือ ศิลารูปธรรมจักรกับกวางหมอบ
ยุคที่ 2.ยุคมหายาน พ.ศ.1300 เจดีย์พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี , พระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ยุคที่ 3.ยุคเถรวาทแบบพุกาม พ.ศ.1600 ตอนเหนือของไทย ล้านนา ลงมาถึง ลพบุรีและทวาราวดี
ยุคที่ 4.เถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1698 ตั้งมั่นอยู่เมืองนครศรีธรรมราช
สมัยสุโขทัย พ.ศ.1800-1920 พ่อขุนรามคำแหงอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชไปยังสุโขทัย
-เจดีย์ช้างล้อม ( ทรงระฆัง ) วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ( ทรงบัวตูม ) วัดเจดีย์เจ็ดแก้ว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-สมัยสุโขทัยรุ่งเรืองมาก พระยาลิไททรงพระราชนิพนธ์ “เตภูมิถกา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” เกี่ยวกับความคิดความ
เชื่อและวิ๔ปฏิบัติของประชาชน ในเรื่องนรก สวรรค์ และการทำดีทำชั่ว
สมัยล้านนา พ.ศ.1913 พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์
สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ส่งพระสงฆ์ไปสืบพระพุทธศาสนาแบบสยามวงศ์(อุบาลีวงศ์) ในศรีลังกา
สมัยธนบุรี พ.ศ.2310-2325 พระเจ้าตากสินโปรดฯให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากที่ต่างๆมาเก็บไว้
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2523-ปัจจุบัน
-ร.1 โปรดฯสร้างหอมณเทียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง
-ร.2 อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา และส่งพระสงฆ์ 7 รูปไปสืบพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา
-ร.3 โปรดฯรวบรวมพระไตรปิฎกบับภาษาต่างๆ ,ตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
-ร.4 ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญมากขึ้น


-ร.5 จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทยครั้งแรก 1,000 ชุด ,รับพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่บรมบรรพต
(ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ,สถาปนามหามกุฎราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
-ร.6 พระราชนิพนธ์หนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร , เทศนาเสือป่า ฯลฯ
-ร.7 พิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทย 1,500 ชุด , ประกวดการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก
-ร.8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
-ร.9 ทรงผนวช พ.ศ.2499 , สร้างพุทธมณฑลเป็นพุทธบูชา และเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ(พ.ศ.2500) ,วิทยาลัยสงฆ์
พัฒนาเป็นขั้นอุดมศึกษา
124.ความสำคัญของพุทธศาสนา....1.เป็นศาสนาประจำชาติ 2.เป็นหลักของการดำเนินชีวิต 3.เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมไทย
125.วันมาฆบูชา.... วันพระธรรม ,วันจาตุรงคสันนิบาต , แสดงโอวาทปาติโมกข์ – หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอน
คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ พร้อมสอนชาวพุทธ “ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่
ความดีมีคุณประโยชน์ ไม่ทำลายผู้อื่น
126.วันวิสาขบูชา....วันพระพุทธ โดยมีเหตุการณ์ ประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน เนปาล , ตรัสรู้อริยสัจ คือ ความจริง 4 ประการ ณ พุทธคยา , ปรินิพพาน ถือเป็นการเตือนจิตสำนึกในวิถีชีวิตแห่งความไม่ประมาท , เป็นวันสากลของ UN เพราะให้กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ ที่ยิ่งใหญ่
127.วันอัฐมีนบูชา....แรม 8 ค่ำ เดือน 6 หลังวันวิสาขบูชา 8 วัน, ระลึกถึงงานถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า , วันระลึก ถึงเหตุการณ์ที่ปารถนาจะจัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกด้วย
128.วันอาสาฬหบูชา.....วันพระสงฆ์ , แสดงธรรมครั้งแรกและกัณฑ์แรก “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” สูตรการหมุนของพระธรรมจักร
( ตราศาสนาพุทธ ) ,พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังธรรมแล้วเกิดดวงตราเห็นธรรมและขอบวชในพุทธ
ศาสนา , มีพระรัตนตรัยครบถ้วนบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
129.อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ....1.ทุกข์ – ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2.สมุทัย – ปัญหามีสาเหตุและมิได้เกิดขึ้น
ลอยๆ 3.นิโรธ – มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 4.มรรค - การแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียร
130.คิหิสุข คือ ความสุขของคฤหัสถ์ มี 4 ประการ.....1.อัตถิสุข คือ สุขจากการมีทรัพย์ 2.โภคสุข คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3.อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ 4.อนวัชชสุข คือ สุขจากความประพฤติไม่มีโทษ – สำคัญที่สุด
131.ไตรสิกขา คือ....หลักการพัฒนาชีวิตให้ประสบผลสำเร็จเป็นคนสมบูรณ์ตามแนวพุทธ – ศีล สมาธิ ปัญญา
132.กรรมฐาน คือ....ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ – วิธีฝึกอบรมจิต 2 ประเภท
1.สมถกรรมฐาน – วิธีฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ เป็นอุบายสงบใจ
2.วิปัสสนากรรมฐาน – วิธีฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง เป็นอุบายเรื่องปัญญา
133.ปธาน คือ ความเพียร
1.สังวรปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพียรระวัง เพียรโละ
2.ปหานปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรระวัง เพียรโละ
3.ภาวนาปธาน – เพียรเจริญ / สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
4.อนุรักขนาปธาน – เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
134.โกศล 3 คือ ปัญญาความรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ฉลาดรอบรู้ทั้งเหตุและผลของสิ่งต่างๆ
1.อายโกศล – ความฉลาดในความเจริญ รู้จักเหตุและประโยชน์ของความเจริญ
2.อปายโกศล – ความฉลาดในความเสื่อม รู้จักเหตุและโทษแห่งความเสื่อม
3.อุปายโกศล – ความฉลาดในอุบาย รู้จักวิธีการละความเสื่อมและสร้างเหตุแห่งความเจริญทำให้ความเจริญสำเร็จ
135.หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล เช่น....1.หลักกฎแห่งกรรม 2.หลักแห่งเหตุและปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น
( อิทัปปัจจยตา) 3.หลักอริยสัจ ทรงสอนมากเป็นพิเศษ 4.หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน 5.หลักบูรณาการ เป็นต้น
136.ทางสายกลาง ทางที่ยึดความพอดี สมดุล หลักพุทธศาสนาที่ยึดทางสายกลาง เรียกว่า....มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
137.มรรค 8 – มรรคมีอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่
1.สัมมาทิฏฐิ – เห็นชอบ , เห็นว่าทำดีได้ดี พ่อแม่มีคุณ ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ยึดมาเป็นของตนไม่ได้ ฯลฯ
2.สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ , ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น หลุดพ้นสิ่งยั่วยวนใจ(กาม) ไม่พยาบาทและเบียดเบียนผู้อื่น
3.สัมมาวาจา – เจรจาชอบ , เว้นพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ 1.เท็จ 2.ส่อเสียด 3.คำหยาบ 4.เพ้อเจ้อไร้สาระ
4.สัมมากัมมันตะ – ทำงานชอบ , เว้นการทำชั่วทางกาย 3 ประการ ได้แก่ 1.ฆ่าสัตว์ 2.ลักทรัพย์ 3.ผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ , เว้นการเลี้ยงชีพในทางผิด
6.สัมมาวายามะ – เพียรพยายามชอบ , พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
7.สัมมาสติ – ระลึกชอบ , พิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึก ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง
8.สัมมาสมาธิ – ตั้งใจมั่นชอบ , ตั้งจิตแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยชอบ
138.พละ 5 ( ธรรมอันเป็นกำลัง )....1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา
139.อริยทรัพย์ 7 ( ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ )....1.ศรัทธา 2.ศีล 3.หิริ 4.โอตัปปะ 5.พหุสัจจะ 6.จาคะ 7.ปัญญา
140.ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา 4 ประการ
1.ตถาคตโพธิสัทธา – เชื่อมั่นในการเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์
2.กัมมสัทธา – เชื่อมั่นในการกระทำ
3.วิปากสัทธา – เชื่อมั่นในผลของการกระทำ
4.กัมมัสสกตาสัทธา – เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น
141.เปรียบเทียบบัว 4 เหล่า กับ คน 4 ประเภท
1.อุคฆฏิตัญญู – ฉลาดมาก บัวพ้นน้ำ
2.วิปจิตัญญู – ฉลาดปานกลาง บัวปริ่มน้ำ จะบานในวันถัดไป
3.เนยยะ – พอแนะนำได้ บัวใต้น้ำ
4.ปทปรมะ – โง่เขลาไม่เข้าใจความหมายธรรมได้ บัวใต้โคลนตรม
142.พุทธบริษัท 4.... ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท – เผยแผ่พระพุทธศาสนา
143.พระเวสสันดร....พระโพธิสัตว์สุดท้าย การบำเพ็ญทานบารมี พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก
144.เทศนากัณฑ์แรก.... ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงแก่ ปัญจวัคคีย์
145.วันมาฆบูชา....วันพระธรรม แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ – ทำดี ละเว้นชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แสดงหลักพระพุทธศาสนา
146.ตัณหา 3 ประการ....1.กามตัณหา – ความอยากได้ 2.ภวตัณหา – ความอยากเป็น 3.วิภวตัณหา – ความไม่อยากเป็น
147.ฆราวาสธรรม 4 ธรรมแห่งการครองเรือน...1.สัจจะ – ความสัตย์ 2.ทมะ – ความฝึก,ความข่ม 3.ขันติ – อดทน 4.จาคะ – เสียสละ
148.ธรรมช่วยให้เกิดความสุขในสังคม.... จาคะ – ความเสียสละ , มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ได้แก่
1. เสียสละวัตถุสิ่งของ 2. เสียสละอารมณ์กิเลส ที่เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
149.วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8......ถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษา ก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน ส่วนใหญ่ถวายก่อน 1 วัน
150.วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11..... วันมหาปวารณา – ประเพณีตักบาตรเทโว , เป็นวันที่ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ที่เกิดในนรก
มองเห็นกันและกัน , หลักธรรม – รอบรู้ เสียสละ สามัคคี
151.สันโดษ -- สังคมไม่แก่งแย่งชิงดีกัน มีแต่สามัคคีกัน
1.ยถาสันโดษ – ยินดีตามที่ได้ 2.ยถาพลสันโดษ -- ยินดีตามกำลังที่มีอยู่ 3.ยถาสารุปปสันโดษ – ยินดีตามสมควร
152.ทอดกฐิน..... แรม 1 ค่ำ เดือน 11 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวม 1 เดือน , กฐิน = กรอบไม้ , สะดึงสำหรับขึงเย็บจีวร
153.กรานกฐิน.....สังฆกรรมที่สงฆ์ตัดเย็บจีวรแล้วมอบให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งครองจีวร , ทอดกฐินต้องมีพระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป
154.จัดกฐินตามประเภทวัด....1.กฐินหลวง – ในหลวง,พระบรมวงศ์ฯทอด ณ พระอารามหลวง
2.กฐินพระราชทาน – โปรดเกล้าฯให้หน่วยงาน องค์กร ทางการ ทอด พระอารามหลวง
3.กฐินต้น – ในหลวงทอดส่วนพระองค์ที่วัดราษฎร์
4.กฐินสามัคคี – ทั่วไป
155.พระบรมบรรพต “ภูเขาทอง”วัดสระเกศ สร้างเสร็จสมัย ร.5 ...เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์( เกี่ยว อุปเสโณ ) - เป็นเจ้าอาวาส
156.กีฬา ทบ.ครั้งที่ 57 ปี2550 .... ณ กช. ค่ายบุรฉัตร จ.ราชบุรี ชิงชัย 19 ชนิดกีฬา นักกีฬา 8 กลุ่ม , ครั้ง 58 ปี 2551 จัดที่ ทภ.2
157.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน ปี 50 – 54 เป็นกรอบการปฏิบัติยุทธศาสตร์ 4 ประการ
1.ยุทธศาสาตร์พัฒนาศักยภาพคน ชุมชน และพื้นที่ 2.ยุทธศาสาตร์การผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดน
3.ยุทธศาสาตร์เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน 4.ยุทธศาสาตร์บริหารจัดการ
158.อนุสาวรีย์วีรกรรมทหารกล้า อยู่ที่.... ร.31 พัน .3 รอ.
159.พระเบญจภาคี.... 1.พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร 2.พระซุ้มกอ จ. กำแพงเพชร 3.พระนางพญา จ.พิษณุโลก
4.พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี 5.พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
160.โครงการจัดสร้างพระราชอาสน์ ของ ทบ. .... พระมหาพิชัยมงกุฎทองคำ มีน้ำหนัก 60 บาท
161.ปี 2543 ครม.มีมติถวายพระนามให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” กำหนด วันที่ 19 ต.ค.เป็น “วันเทคโนโลยี”
162.ปี 2545 ครม.น้อมเกล้าฯ ถวายพระนาม “พระบิดาแห่งฝนหลวง”และกำหนดให้วันที่ 14 พ.ย. เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
163.วันยุทธหัตถีทางจันทรคติตามที่ระบุในพงศาวดาร คือ วันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จ.ศ.954 ตรงกับวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2135
164.พุทธะ แปลว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว , ผู้รู้อริยสัจ 4 อย่างลึกซึ้ง
1.สัพพัญญูพุทธะ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
2.พระปัจเจกพุทธะ คือ ตรัสรู้ด้วยตนเองแต่ไม่สอนผู้อื่น ไม่ตั้งพุทธบริษัท ไม่ตั้งศาสนา
3.พระอนุพุทธะ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างว่า “สาวกพุทธะ”
165.บุตร มี 3 ประเภท
1.อภิชาตบุตร – มีศีลและคุณสมบัติอื่นๆ ดีกว่าพ่อแม่ ทำให้วงศ์สกุลมีชื่อเสียง
2.อนุชาตบุตร -- มีศีลและคุณสมบัติอื่นๆ เท่าเทียมกับพ่อแม่
3.อวชาตบุตร – ไม่มีศีล ไม่มีคุณธรรมและมีคุณสมบัติอื่นๆ ด้อยกว่าพ่อแม่ วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
166.หลักสมชีวิตาธรรม 4 – หลักที่แสดงความเหมาะสมของคนที่จะเป็นคู่ครองกัน
1.สมสัทธา – มีศรัทธา หรือความเชื่อเสมอเหมือนกัน
2.สมสีลา – มีศีลมีธรรมเสมอเหมือนกัน
3.สมจาคา – มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเสมอเหมือนกัน
4.สมปัญญา – มีปัญญาหรือวิชาความรู้เสมอเหมือนกัน
167.ฆราวาสธรรม 4 – หลักธรรมสำหรับการครองเรือน
1.สัจจะ – ซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน 2.ทมะ – ข่มใจและควบคุมสติ
3.ขันติ – อดทน อดกลั้นไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก 4.จาคะ – เสียสละไม่เห็นแก่ตัว
168.พ่อแม่ต้องอนุเคราะห์ลูก 5 ประการ.... 1.ห้ามทำชั่ว 2.ให้ดำรงอยู่ในความดี 3.ให้ศึกษาศิลปวิทยา 4.หาคู่ครองที่เหมาะสมให้
5.มอบทรัพย์สมบัติให้ตามโอกาสอันควร
169.สติปัฏฐาน 4 – การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจตามที่เป็นจริง
1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา กาย
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนา , เมื่อเจ็บตั้งสติว่าเจ็บหนอ
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา จิต , ยินดีหนอ ชอบใจหนอ คิดหนอ
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรม
170.ผ้าบังสุกุลจีวร คือ.....ผ้าที่ตกอยู่ตามกองขยะที่ใครๆทิ้งแล้วและผ้าห่มศพที่อยู่ตามป่าช้า พระภิกษุสงฆ์นำมาซักเย็บเป็นจีวรนุ่งห่ม
171.สุชีโวภิกขุ หรือ สุชีพ ปุญญานุภาพ “นักปราชญ์ทางปรัชญาศาสนา” เป็นภิกษุไทยรูปแรกที่....แสดงพระธรรมเทศนาเป็นอังกฤษ
172.ปฏิคาหก คือ.... ผู้รับ หรือ ผู้รับของถวาย
173.การให้ทานจะได้ผลมาก ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ
1.วัตถุบริสุทธิ์ – เป็นของที่ได้มาโดยสุจริต 2.เจตนาบริสุทธิ์ - ไม่ใช่เพื่อเอาหน้าหาชื่อเสียง
3.บุคคลบริสุทธิ์ – เลือกให้ผู้รับที่เป็นคนดี มีศีลธรรม ( ทั้งผู้ให้และผู้รับ )
174.วัฒนมุข คือ...ปากทางแห่งความเจริญ มี 6 อย่าง
1.รักษาสุขภาพดี 2.มีระเบียบวินัย 3.ได้คนดีเป็นแบบอย่าง
4.ตั้งใจเรียนให้รู้จริง 5.ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม 6.มีความขยันหมั่นเพียร
175.ธรรมสมาธิ คือ....การประสานแน่วของธรรม คือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตใจมั่นแน่วลงสู่สมาธิ มี 5 ประการ
1.ปราโมทย์ 2.ปีติ 3.ปัสสัทธิ (สงบเย็น ผ่อนคลาย) 4.สุข 5.สมาธิ
176.การพัฒนาวุฒิภาวะทางธรรมจริยา ตามหลัก อริยวัฒิ 5 คือ..
1.ศรัทธา เชื่ออย่างมีเหตุผล 2.ศีล ความประพฤติและวิถีชีวิตไม่เบียดเบียน 3.สุตะ รู้ข่าวสารข้อมูล ทันต่อสถานการณ์ 4.จาคะ สละให้ 5.ปัญญา ทำการต่าง ๆด้วยปัญญา
177.สรณะ 3 หรือ ไตรสรณะ หมายถึง...พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
178.พุทธคุณ 3 คือ.1.ปัญญาคุณ(พระคุณ คือ พระปัญญา) 2.วิสุทธิคุณ( พระคุณคือ บริสุทธิ์) 3.กรุณาคุณ (พระคุณ คือ พระมหากรุณา)
179.ไตรสิกขา คือ....พุทธโอวาท 3 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
180.สัทธรรม 3 ได้แก่...1.ปริยัติ เล่าเรียน 2.ปฏิบัติ ลงมือทำ 3.ปฏิเวธ ลุล่วงผล บรรลุจุดมุ่งหมาย
181.ปาพจน์ 2 ได้แก่.....1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ
182.ไตรปิฎก
1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
183.ธรรมมีอุปการะมาก 2 ...ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
184.ธรรมคุ้มครองโลก 2 ...ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
185.บุคคลหาได้ยาก 2 ...สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
186.บุญกิริยาวัตถุ 3 ....ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย - ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย - รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย - เจริญภาวนา
187.ทาน....การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ 2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
1.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว 2.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
188.อกุศลมูล 3 ....รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
189.ศีล 5 มีชื่อเรียก..... นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
190.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา
191.อบายมุข 6 ....ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
192.วัฒนมุข 6 ....ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค 2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
193.อคติ 4 ...ความลำเอียง
1.ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ - ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
194.พรหมวิหาร 4 ...ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า...อัปปมัญญา 4
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง
195.สังคหวัตถุ 4 ...ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในทุกข์สุข
196.นิวรณ์ 5 ...ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
197.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้
2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้
4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
198.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก
2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
199.วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม
200.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย....ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
201.ปาพจน์ 2 ได้แก่.....1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ
202.ไตรปิฎก
1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
203.ธรรมมีอุปการะมาก 2 ...ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
204.ธรรมคุ้มครองโลก 2 ...ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
205.บุคคลหาได้ยาก 2 ...สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
206.บุญกิริยาวัตถุ 3 ....ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย - ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย - รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย - เจริญภาวนา
207.ทาน....การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ 2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
1.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว 2.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
208.อกุศลมูล 3 ....รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
209.ศีล 5 มีชื่อเรียก..... นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
210.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา
211.อบายมุข 6 ....ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
212.วัฒนมุข 6 ....ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค 2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
213.อคติ 4 ...ความลำเอียง
1.ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ - ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
214.พรหมวิหาร 4 ...ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า...อัปปมัญญา 4
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง
215.สังคหวัตถุ 4 ...ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในทุกข์สุข
216.นิวรณ์ 5 ...ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
217.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้
2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้
4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
218.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก
2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
219.วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม
220.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย....ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
221.กำลัง 3 ประการ
1.บัณฑิตชน.....กำลังความดี 2.สามัญชน.......กำลังความรู้ 3.พาลชน...........กำลังกาย
222.สัจจะ 5 สถาน
1.จริงต่อหน้าที่......รักษาหน้าที่ , บำรุงหน้าที่
2.จริงต่อการงาน....ทำให้ดี , ทำเต็มที่ , ทำให้เสร็จ
3.จริงต่อวาจา.........ทำให้ได้ตามที่ลั่นวาจาไว้
4.จริงต่อบุคคล.......กตัญญู , ภักดี , เมตตากรุณา , สัตย์ซื่อ
5.จริงต่อความดี......ทำดี , ปรับปรุงตนเอง , หวังดีในทางที่ถูก , สนับสนุนคนดี
223.ยศ 3.1.อิสริยยศ.....ยิ่งด้วยอิสระ พระราชา(ผู้ใหญ่) ให้
2.บริวารยศ...ยิ่งด้วยพวกพ้อง เพื่อนฝูงให้
3.เกียรติยศ....ยิ่งด้วยชื่อเสียง มหาชนให้
04.ปัคหะ - ยกย่อง , นิคหะ - ติ , ตำหนิ
225.หลักการเสียสละ
1.เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ 2.เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต 3.เสียสละทุกอย่างเพื่อรักษาธรรมะ
226.มิตรแท้ 4 จำพวก
1.มิตรมีอุปการะ...ป้องกันเพื่อนและทรัพย์ของเพื่อน , เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งได้ , เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์เกินกว่าที่ออกปาก
2.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์...ขยายความลับตนแก่เพื่อน , ปิดความลับเพื่อน , ไม่ละทิ้งยามวิบัติ แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้
3.มิตรแนะประโยชน์....ห้ามไม่ให้ทำชั่ว , แนะให้ทำดี , ให้ฟังสิ่งไม่เคยฟัง , บอกทางสวรรค์ให้
4.มิตรมีความรักใคร่....สุขฯด้วย , ทุกข์ฯด้วย , โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน , รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
227.ความเสื่อมหรือความเจริญของคน อยู่ภายใต้อิทธิพล 2 สิ่ง ...1.พันธุกรรม 2.สิ่งแวดล้อม
228.โทสะ เพราะ อคติ – ความไม่พอใจ
229.โมหะ เพราะ อวิชชา – ความไม่รู้
230.หลักวินิจฉัยบาป....1.วัตถุ...สัตว์ที่ถูกฆ่า 2.เจตนา...เจตนาของผู้ฆ่า 3.ประโยค...วิธีการฆ่า
231.อนุโลมโจรกรรม
1.สมโจร.......สนับสนุนโจร
2.ปอกลอก....คบเขาเพื่อปอกลอกเอาทรัพย์
3.รับสินบน...รับสินจ้างเพื่อกระทำผิดหน้าที่
232.ฉายาโจรกรรม
1.ผลาญ....ทำลายทรัพย์ของผู้อื่น (ไม่ถือเอาเป็นของตน) 2.หยิบฉวย...ถือวิสาสะเกินขอบเขต
233.อนุโลมโจรกรรม และ ฉายาโจรกรรม....ถ้าเจตนาทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ศีลข้อนี้ขาด , ถ้าเจตนาไม่แน่ชัดศีลด่างพร้อย
234.หญิงต้องห้าม....1.มีสามี 2.มีญาติปกครอง 3.มีจารีตรักษา
235.ชายต้องห้าม......1.ชายอื่นนอกจากสามีตน 2.ชายที่จารีตห้าม
236.ปฏิสวะ....การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น โดยที่ตนยังจะพอทำตามคำรับได้อยู่
237.อนุโลมมุสา...เรื่องที่กล่าวนั้นไม่จริง แต่ผู้ที่กล่าวมิได้มุ่งให้ผู้ฟังหลงเชื่อ เช่น ประชด
238.ปฏิสวะ และ อนุโลมมุสา...ศีลด่างพร้อย
239.เจตนางดเว้นจากการทำผิดศีล เรียกว่า วิรัติ
1.สมาทานวิรัติ...เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า
2.สัมปัตตวิรัติ.....เจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุที่จะทำให้ผิดศีล
3.สมุจเฉทวิรัติ....เจตนางดเว้นเด็ดขาด ของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว
240.ปาราชิก....ผิดแล้วขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที และบวชไม่ได้อีกตลอดชีวิต
1.เสพเมถุน
2.ลักทรัพย์มีราคา 5 มาสกขึ้นไป (เท่ากับ 1 บาท)
3.เจตนาฆ่ามนุษย์ที่สุดแม้แต่ทารกผู้อยู่ในครรภ์มารดาให้ถึงตาย
4.พูดอวดอ้างอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน หมายถึง อวดว่าตนได้ฌานหรือบรรลุมรรคผลนิพพาน
241.อนิตย 2
1.ภิกษุอยู่กับหญิงตัวต่อตัวในที่ลับหู เช่น อยู่กลางแจ้งแต่ห่างคนอื่นจนสนทนากันไม่มีใครได้ยิน
2.อยู่ในที่ลับตา เช่น อยู่ในห้องสนทนากันได้ยินเสียงแต่มองไม่เห็นด้วยตา
242.อุดมการณ์ที่แท้จริงของพุทธศาสนิก คือ....ถือธรรมะเป็นใหญ่ , บูชาธรรมะ
243.ของสงฆ์ พระสงฆ์จะหยิบยกให้เอกชนได้วิธีเดียว...การแลกเปลี่ยนในทางที่วัดไม่เสียเปรียบ เรียกตามภาษาวินัยว่า “ ผาติกรรม ”
244.มหาวิทยาลัยสงฆ์
1.วัดบวรนิเวศวิหาร สภาการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย........ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.)

แนวข้อสอบภาษาไทย สัสดี ยศ.ทบ.

การสอบภาษาไทย สำหรับการเลื่อนฐานะปริญญาตรี ยศ.ทบ. ของนายทหารประทวน สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและทดลองทำดูได้ครับ ขอขอบคุณที่มาด้วยนะครับ http://actboard.129jump.com/viewthread.php?tid=3009
เอามา Post ต่อเพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้สนใจครับ จริงๆ เป็นแนวของสัสดี แต่ผมว่าทุกสายและครับ สามารถดูเป็นตัวอย่างหรือแนวทางได้ ไม่ว่าจะการเงิน หรือทั่วไป ก็คงไม่แตกต่างกันมากครับ ขอให้โชค D

ข้อสอบ ชุดที่ 1

1. ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง

1) ภาษาไทยมาตรฐานคือภาษาราชการ

2) ภาษาไทยมีการออกเสียงหนักเสียงเบา

3) ภาษาไทยรับคำจากภาษอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่

4) คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงภาษาอังกฤษ

2. เสียงควบกล้ำในข้อใดไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาไทย act group

1) บรั่นดี 2) นิวเคลียส 3) อิเควเตอร์ 4) เพนกวิน

3. ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์ “ มัวแต่พูดว่า จะ จะ อยู่นั่นเอง ทำไมไม่ลงมือเสียที ”

1) 7 พยางค์ 2) 8 พยางค์ 3) 9 พยางค์ 4) 10 พยางค์

4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง

1) ประหยัดวันนี้สบายวันหน้า

2) สมบัติเมาเซถลาหัวทิ่ม

3) หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย

4) จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ

5. ข้อใดไม่มีคำสมาส อ.วันนรัตน์

1) ทหารเป็นผู้มีหน้าที่รบเพื่อปกป้องมาตุภูมิของตนไม่ให้ข้าศึกรุกราน

2) ประชาชนส่งไปรษณียบัตรทางผลฟุตบอลยูโร 2000 เป็นจำนวนมาก

3) ประธานในพิธีกล่าวคาถาเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล

4) ชีวเคมีเป็นวิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิต

6. ข้อใดมีคำซ้อนมากที่สุด

1) แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ

2) ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม

3) ในแหล่งหล้าใครไม่มีเสมอเหมือน

4) ไม่สมประกอบทรัพย์สินก็ขัดสน

7. ข้อใดไม่มีคำพ้องความหมาย

1) ไอยรา ราชสีห์ กุญชร

2) ลำธาร ชลาสินธุ์ มัจฉา

3) เทเวศร์ อัจฉรา สุรารักษ์ เเอ็คคอร์นเนอร์

4) สิงขร เวหาสน์ วนาดร

8. ข้อใดไม่มีคำประสม

1) เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้ารารัน

2) หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี

3) ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่

4) ถึงหนามกรานก็ไม่เจ็บเหมือนเหน็บแนม

9. ข้อใดมีคำซ้ำที่แสดงความหมายต่างจากข้ออื่น

1) แน่นวดแป้งแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ

2) แยกๆกันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น

3) สมพรอยากย้ายบ้านไปอยู่ใกล้ๆที่ทำงาน

4) อายุเกิน 80 แล้วยังชอบใส่เสื้อผ้าสีสดๆ

10. ข้อใดไม่ใช่สำนวนต่างประเทศ

1) ประชากรโลกกำลังเผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจากโรคร้าย ทั้งเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค

2) ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ตัวแทนสภากาชาดสากลแถลงว่าสถานการณ์โรคร้ายในปัจจุบันกำลังน่าวิตก

3) สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นำจากประเทศในเอเชียแถลงว่าประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีโรคเอดส์ระบาด

มากที่สุด

4) รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนในปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจและสังคม

11.ข้อใดใช้คำภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น

1) เมื่อไฟดับควรตรวจดูว่าเป็นเพราะฟิวส์ขาดหรือปลั๊กหลุด

2) เด็กๆชอบรับประทานไอศกรีมช็อคโกแลตมากกว่าไอศกรีมกะทิสด

3) ก่อนเข้าแบงค์ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดำออก

4) นักกอล์ฟหลายคนอยากเปลี่ยนวงสวิงให้คล้ายกับไทเกอร์วูดส์เพื่อให้ตีลูกได้แม่นและไกล

12. ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาเขมร

1) จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ

2) คุณปู่ทำกนกแก้วลายไทยงามไพจิตร

3) ให้รื่นเริงสุขสำราญเหมือนดอกไม้บานยามเช้า

4) เพลงลาวดำเนินทรายมีทำนองไพเราะอ่อนหวาน

13. ข้อใดมีคำที่ใช้ผิดความหมาย

1) เมื่อประตูเปิดผู้ที่รออยู่ก็วิ่งกรูเข้าไปแย่งซื่อบัตรชมฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ

2) เยอรมันคิดค้นเทคโนโลยีการใช้แม่เหล็กลอยตัวสำหรับรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ

3) ไทยเตรียมโยกย้ายทหารออกไปจากติมอร์ตะวันออกภายในเดือนมีนาคม

4) ตำรวจพยายามสืบสวนหาตัวคนร้ายอยู่หลายสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ร่องรอยอะไรเลย

14. ข้อใดมีคำที่ไม่ได้ใช้ความหมายเชิงอุปมา

1) หมดตัว ยกเครื่อง ขนแมว

2) ลอบกัด ตาบอด เปิดท้าย

3) ไข่ดาว ขมขื่น ลายแทง

4) ปลากรอบ หวานเย็น เด็กดอง




15. ข้อใดสื่อความหมายไม่ชัดเจน

1) พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ

2) คุณย่าชอบดูละครโทรทัศน์หลังข่าวภาคค่ำ

3) สมสิริมาหาครูตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน

4) เมื่อวานนี้แม่แวะมหาหาตอนกินข้าวเย็น

16. ข้อใดมีความหมายกำกวม

1) ผู้ได้รับรางวัลเป็นกวีที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น

2) ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง

3) แม่ค้าหยิบเหรียญบาทออกมาทอน 4 เหรียญ

4) แผ่นดินไหวทำให้บ้านเมืองพังพินาศและผู้คนล้มตายมาก

17. ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง

1) ลูกทำกิจการขาดทุนหลายครั้ง แต่แม่ก็ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด ให้เงินช่วยทุกครั้ง

2) ตอนนี้เขาร่ำรวย แต่เมื่อหนุ่มๆ ยากจนแทบไม่มีจะกิน เข้าทำนองตีนถีบปากกัด

3) เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ

4) คุณปู่เล่าว่าแต่ก่อนเรามีฐานะดีมากขนาดที่เรียกว่าข้าวเหลือเกลืออิ่ม

18. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้อง

1) เช้านี้อากาศปลอดโปร่ง นักท่องเที่ยวต่างชื่นชมกับพระอาทิตย์ยามเช้า

2) ก่อนไปสอบเป็นผู้ประกาศข่าว ข้าพเจ้าฝึกอ่านข่าวกับคุณศันสนีย์จนคล่อง

3) นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนช้ากว่ากำหนด ต้องยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่

4) ในอนาคตข้าพเจ้าอยากทำงานกับกระทรวงศึกษาธิการ

19. ข้อความต่อไปนี้ตรงกับสำนวนใด “ ข่าวความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายเชี่ยวชาญนั้น น่าจะเป็นการปล่อยข่าว เพื่อต้องการทราบว่าจะมีปฏิกิริยา อย่างไร ”

1) กวนน้ำให้ขุ่น 2) โยนหินถามทาง

3) หว่านพืชหวังผล 4) ปากคนยาวกว่าปากกา

20. ข้อใดใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสม

ก. การสร้างงานศิลปะมีตั้งแต่ระดับการประดิดประดอยไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมศิลป์

2) การค้นคว้าวิจัยเป็นกระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ที่ใช้เหตุผลและตรรกะ

3) ในสังคมไทยอาจารย์จำนวนมากเป็นผู้บริโภควิชาการมากกว่าสร้างสรรค์

4) สถาบันต่างๆ ควรสอนให้นักศึกษาประยุกต์ความลุ่มลึกในวิชาชีพไปพัฒนาการสังคม

21. ข้อใดใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง

1) แม่ทำกับข้าวแปลกๆให้เรากินเสมอ

2) เราเห็นกับตาว่าเธอหยิบของใสกระเป๋า

3) แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ

4) เขารีบกลับจากต่างประเทศเพื่อจัดงานวันเกิดให้แม่

22. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์

1) หนึ่งในบรรดาสารพิษหรือสารเคมีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร

2) เมื่อท่านทราบแล้วว่าอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ใส่ถุงประดาษหนังสือพิมพ์มีมากเพียงใด

3) องค์การอนามัยโลกซึ่งชี้ปัญหาการขาดแคลนธาตุไอโอดีนว่ามักจะมีในประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขา

4) การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโภชนาการของเด็กเป็นประจำ

23. ข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับประโยค “ ดอกบัวตองบานสะพรั่งชูไสวทั่วท้องทุ่ง ”

1) พวกเด็กๆวิ่งเล่นกันเต็มสนามกีฬา

2) ฟ้าคะนองผ่าเปรี้ยงลงที่ตกหลังสูง

3) เจ้าด่างครางหงิงๆไปมาตามถนน

4) แม่ครัวนอนเหยียดยาวกลางห้องครัว

24. ข้อใดเป็นประโยคความรวม

1) เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน

2) หลานสาวตัวน้อยเดินไปโรงเรียนใกล้บ้าน

3) คนไทยแทบทุกคนรู้จักนักชกเหรียญทองคนนั้น

4) สมบัติดูหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตายมาหลายเดือน

25. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน

1) ฉันพบอาจารย์ของลูกที่ตลาดเสมอ

2) เราไปซื้อผลไม้ที่ร้านเจ้าประจำ

3) มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ

4) กล้วยไม้ที่คาคบออกดอกแล้ว

26. ข้อใดเป็นประโยคกรรม

1) ประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้มีผลดีต่อสังคมในระยะยาว

2) เพราะแม่สูบบุหรี่จัดลูกที่คลอดออกมาจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ

3) คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อทางกรวยไตมากกว่าคนทั่วไป

4) อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้สร้างเสร็จภายใน 5 เดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน

27. ข้อใดมีเนื้อหาไม่เป็นไปเพื่อความจรรโลงใจ

1) มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

2) การให้จะนำความสุขมาให้ทั้งแก้ผู้ให้และผู้รับ

3) เราเกิดในแผ่นดินนี้จึงควรตอบแทนคุณของแผ่นดิน

4) การกระทำความดีจะส่งผลดีต่อผู้กระทำในวันใดวันหนึ่ง

28. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาษาระดับใด “ คุณเกษมเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมีความรู้ความสามารถและช่วยสร้างความเจริญแก่หน่วยงานนี้มาไม่น้อย จนเป็นที่รักใคร่ของพวกเราทุกคน เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงานกับเราอีก แต่ก็ยินดีที่ท่านได้เลื่อนตำแหน่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ เชื่อว่าคุณเกษมจะสร้างความเจริญให้แก่หน่วยงานแห่งใหม่ ในโอกาสนี้ ขอมอบของที่ระลึกแก่ท่านเพื่อแสดงน้ำใจของพวกเราทุกคน”

1) ระดับกันเอง

2) ระดับทางการ

3) ระดับกึ่งทางการ

4) ระดับไม่เป็นทางการ

29. ข้อความตอนใดใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง

(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้/ (2) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน/ (3) พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประทานวุฒิสภา/(4) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล

1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)

30. จากข้อความต่อไปนี้ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการตีความต่างกัน “นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงเถียงกันเรื่องความหมายของข้อความ สามวันจากนารีเป็นอื่น นักเรียนหญิงเชื่อว่าผู้ชายเป็นฝ่าย เป็นอื่น ในขณะที่นักเรียนชายเชื่อว่าผู้หญิง เป็นอื่น ”

1) ภาษากำกวมทำให้เข้าใจต่างกัน

2) วิจารณญาณต่างกันทำให้คิดไม่ตรงกัน

3) อคติส่วนตนอันเกิดจากความเป็นชายเป็นหญิง

4) การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมตามยุคสมัย

31. ข้อใดเป็นข้อความที่ใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดในแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของชมรมภาษาไทย

1) - นิทรรสการทางภาษาและวรรณคดี

- ฝึกอ่านทำนองเสนาะ

2) - ประกวดแต่งโคลงทุกประเภท

- ร้องเพลงประกวดทั้งลุกทุ่งและลูกกรุง

3) - การนำนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่

- นักเรียนเสนอกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์

4) - การบรรยายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง

- การแข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย

32. ข้อใดเป็นการเขียนแบบพรรณนา

1) ชายทะเลทอดเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีเขียว

2) แนวปะการังด้านหน้าเป็นที่อาศัยของฝูงปลาเล็กๆหลากสี

3) นักปะดาน้ำต่างว่ายวนไปมาเพื่อชื่นชมความงามของปะการังและปลา

4) นักท่องเที่ยวขนาดกลางจอดรออยู่เหนือน้ำ โคลงไปมาตามแรงกระทบของคลื่น

33. ข้อใดมีลักษณะเป็นการเขียนแบบบรรยาย

1) ฝนฟ้ากระหน่ำพายุซ้ำกรรโชก

2) แสนวิปโยคอนิจจาน้ำตาเอ๋ย

3) ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย

4) ตัวเราเอยแสนอาภัพอับปัญญา


34. ข้อใดเป็นหัวข้อประกาศที่ถูกต้อง

1) ประกาศเรื่องระเบียบการแต่งกายของนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ

2) ประกาศกรมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง การตรวจสอบสาปนเปื้อนในเครื่องบริโภค

3) ประกาสกระทรวงมหาดไทย

เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

4) ประกาศของสำนักงานกรุงเทพมหานคร

เรื่องการซ่อมแซมบาทวิถีในกรุงเทพมหานคร

35. ข้อใดใช้เป็นคำนำได้เหมาะสมที่สุด

1) ปัจจุบันมนุษย์เข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ยุคอุตสาหกรรม

2) อาการของไข้หวัดที่เป็นกันมากขณะนี้เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

3) ผู้ใหญ่ต้องรีบหาทางแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนก่อนที่จะสายเกินแก้

4) นักวิจัยในปัจจุบันหาสาเหตุของโรคต่างๆโดยศึกษาจากพืชกันมากขึ้น

36. ข้อความต่อไปนี้เรียงลำดับได้เหมาะสมที่สุดตามข้อใด

ก. แต่ที่รุนแรงที่สุด คือที่จังหวัดชุมพร

ข. เมื่อสองเอนก่อนมีน้ำท่วมในหลายจังหวัด

ค. จึงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล

ง. ทั้งๆที่ยังมุถึงเวลาที่จะมีพายุไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน

จ. ฝนตกนักติดต่อกันหลายวัน

1) ข ก จ ง ค 2) จ ข ค ก ง 3) ข จ ค ก ง 4) จ ง ค ข ก

37. ข้อความต่อไปนี้ไม่ใช้วิธีเขียนแบบใด

บางคนเข้าใจว่าผลไม้บงชนิดเช่น ลำไย ลิ้นจี่ ถ้ากินมาก๐จะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ แต่ความจริงอาการเจ็บคอเกิดจาก

เชื้อโรค หลายชนิดที่ติดอยู่ตามเปลือก เมื่อใช้ปากกัด เชื้อโรคเหล่านั้นอาจเข้าสู่ปาก หากกินผลไม้แล้วไม่ดื่มน้ำตาม ความหวานของผลไม้ซึ่งเคลือบทีผนังคอจะทำให้เกิดเชื้อโรคเจริญมากขึ้นจนเกิดอาการเจ็บคอได้

1) โต้แย้ง 2) เสนอแนะ

3) แสดงข้อสรุป 4) แสดงความคิดเห็น

38. ข้อใดใช้วิธีการเขียนแตกต่างจากข้ออื่น

1) พอเดินทางมาถึง พวกเราก็พากันเอาของไปเก็บและลงเล่นน้ำทะเลทันที

2) อากาศเริ่มเย็นลง เมฆตั้งเค้า ต่อมาไม่นานนักฝนก็เริ่มตกลงมา

3) พายุเริ่มพัดกระหน่ำ คลื่นม้วนตัวเป็นเกลียวถาโถมเข้าฝั่งอย่างไม่หยุดยั้ง

4) ผู้หญิงกลัวเป็นหวัด เลยรีบวิ่งมาหยิบร่มทั้งๆที่ตัวก็เปียกน้ำทะเลอยู่แล้ว

39. ข้อความตอนใดใช้ภาษาไม่เหมาะสม

(1) ด้วยทบวงมหาวิทยาลัยเห็นว่า หลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการดำเนินการทางวินัยที่ใช้อยู่ในขณะนี้ / (2) ได้จัดทำขึ้นหลายรูปแบบและสิ้นเปลืองเวลา ไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน / (3) ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำหลักสูตร มาตรฐานขึ้น /

(4) เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆใช่ในการฝึกอบรมเรื่องการดำเนินการทางวินัยให้เป็นแนวเดียวกัน

1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)

40. ข้อใดเป็นสถานการณ์ที่แสดงว่าการฟังไม่เกิดประสิทธิภาพ

1) วิชัยสรุปเนื้อหาได้หลายตอน

2) วิสุทธิ์บันทึกแนวคิดที่ได้จากการฟัง

3) วิชิตอ่านน้ำเสียงของผู้พูดและตีความได้

4) วิรัชขบคิดวิธีแก้ปัญหาของเรื่องที่กำลังฟัง

41.ข้อใดตีความคำพูดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

ผู้พูด “ ผมเคยมีแฟนเป็นคนทรงเจ้า เจ้าทรงทีไรมาตามผมไปกินเหล้าทุกที คุยกันสนุกมาก ระยะหลังมานี้ผมสมาทานศีล เลิกกินเหล้าแล้ว เจ้าก็ชักอายๆและห่างเหินไป ”

1) ผู้พูดสนิทสนมกับคนทรงเจ้า

2) ผู้พูดกับคนทรงเจ้าไม่ได้พบปะกันบ่อยๆอีกแล้ว

3) ผู้พูดเชื่อว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง

4) ผู้พูดกับคนทรงเจ้าเคยมีแนวประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน

42. นายแพทย์สุรชัยได้พูดสรุปการบรรยายเรื่องมะเร็งปอดว่า “ สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้นจึงควรเลิกสูบบุหรี่เพราะจะมีผลในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังไม่เป็นอันตรายต่อคนใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจทั้งส่วนตัวและส่วนรวมอีกด้วย”

จุดมุ่งหมายของผู้พูดตรงกับข้อใด

1) พูดให้กำลังใจ 2) ชี้แจงเข้าใจ

3) อธิบายให้เห็นจริง 4) ชักชวนให้ทำตาม

43. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดเมื่อเกิดความขัดแย้งกันในที่ประชุม

1) ท่านประธานครับ กระผมคิดว่าเราเสียวเวลามากพอแล้วสำหรับการอภิปรายเรื่องนี้

2) ผมขอให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงพิจารณาอีกครั้ง

3) เรื่องสำคัญอย่างนี้ควรโต้เถียงกันด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง

4) ขอให้ทุกท่านใจเย็นๆเรายังมีเวลาสนทนาเรื่องนี้ได้อีกก่อนที่จะลงมติร่วมกัน

44. ข้อใดเป็นคำพูดที่เหมาะสมที่สุดในการให้ข้อคิดแก่คนที่สิ้นหวัง

1) ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง คิดเสียว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

2) ความพลาดหวังเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ เวลาเท่านั้นจะช่วยรักษาใจได้

3) ผู้ประสบความสำเร็จหลายคนได้แปรความล้มเหลวให้เป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป

4) ความทุกข์ความสุขเป็นของคู่กัน ขณะที่เรามีทุกข์ ความสุขก็กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า



อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 45- 47

“ ความคิดที่ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ละเอียดอ่อนกว่าผู้ชาย รักสวยรักงาม ไม่ค่อยใช้เหตุผล แต่มีญาณหยั่งรู้อะไรบางอย่าง

ดีกว่า ผู้ชาย ฯลฯ ล้วนเป็นความคิดที่ได้มาจากบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงในสมัยก่อนเสียเป็นส่วนใหญ่

ฉะนั้น “ ธาตุแท้ ” ของผู้หญิงตามความเข้าใจของคนทั่วไปนั้นเอาเข้าจริงแล้วก็เป็นวัฒนธรรม นั่นก็คือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง

ขึ้นมาเอง จะมีในธรรมชาติความเป็นผู้หญิงจริงๆหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ”

45. ข้อใดอนุมานได้ว่าเป็นความคิดของผู้เขียน

1) ผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายเพราะมีหน้าที่และบทบาทต่างกัน

2) โดยแท้จริงแล้วผู้หญิงก็เป็นวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นนั่นเอง

3) หญิงชายมีความรู้สึกและพฤติกรรมต่างกันเนื่องจากสภาพแวดล้อม

4) หญิงชายเกิดมาเหมือนกัน แต่แตกต่างกันเพราะมีเพศเป็นตัวกำหนด

46. ข้อความข้างต้นเสนอประเด็นถกเถียงในเรื่องใด

1) ความคิดของผู้หญิง 2) บทบาทของผู้หญิง

3) ธรรมชาติของผู้หญิง 4) วัฒนธรรมของผู้หญิง

47. ข้อความข้างต้นใช้ภาษาระดับใด

1) ระดับกันเอง 2) ระดับไม่เป็นทางการ

3) ระดับกึ่งทางการ 4) ระดับทางการ



อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 48- 49

“ ระบบการศึกษาต้องการความหลากหลาย และต้องการพลังที่จะเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกับป่าไม้ ที่มีต้นไม้นานา

ขึ้นตามธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่ทีนี้เราอาจไปจำกัดให้มันเหมือนกันหมด ขณะนี้ปัญหาคือการเปลี่ยนแปลงโลก

ทั้ง โลกให้มี อารยธรรมเดียวกัน ”

48. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น

1) การศึกษาปัจจุบันเหมือนป่าไม้ซึ่งมีการเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ

2) การศึกษาปัจจุบันถูกจำกัดมาก ควรมีการปรับปรุงระบบการศึกษาใหม่

3) การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบเดียวเหมือนกันหมด ทำให้ไม่มีโอกาสพัฒนาได้ดี

4) ระบบการศึกษามีความแตกต่างกันไปตามอารยธรรมที่หลากหลาย

49. ข้อใดเป็นกลวิธีทีผู้เขียนใช้แสดงความคิด

1) บรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน

2) พรรณนาให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม

3) ใช้ความเปรียบเพื่อให้เข้าใจชัดเจน

4) ใช้อุปมาเพื่อให้สมจริง

50. จากข้อความต่อไปนี้ ข้อใดอนุมานได้ว่าเป็นจุดประสงค์ของผู้เขียน

“ คนเราจงใจใช้เวลามากมายเหลือเกินเพียงเพื่อจะหลอกตัวเองด้วยการสร้างข้อแก้ตัวขึ้นมาอำพรางความอ่อนแอของตัวเอง ถ้าเอาเวลาดังกล่าวไปใช้ในทางอื่น เวลานั้นจะมากพอที่จะขจัดความอ่อนแอโดยไม่จำเป็นต้องสร้างข้อแก้ตัวเลย”

1) เตือนว่าอย่าแก้ตัวว่าไม่มีเวลา

2) ชี้ให้เห็นผลเสียของการแก้ตัว

3) เน้นว่าเรามีเวลามากพอที่จะทำอะไรได้มากมาย

4) แนะให้ใช้เวลาในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง



อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 51 – 52


อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 51 – 52

“ ในอดีตพระสงฆ์เป็นแบบอย่างการดำรงชีวิตอันประเสริฐและเป็นผู้นำสติปัญญาของชุมชน ปัจจุบันพระสงฆ์จำนวนมาก

ไม่มีบทบาทอื่นใดนอกเหนือจากเรื่องพิธีกรรม สร้างวัดวาอารามใหญ่โต มุ่งโภคทรัพย์มากกว่าเจริญไตรสิกขาฆราวาส

เองก็ไม่เกื้อหนุนค้ำจุนให้พระสงฆ์ประพฤติพรหมจรรย์ กลับไปส่งเสริมในทางวัตถุเพื่อยั่วยุกิเลส ”

51. ข้อความข้างต้นกล่าวเป็นสำนวนได้ตามข้อใด

1) สมน้ำสมเนื้อ 2) เป็นปี่เป็นขลุ่ย

3) ขนมพอสมน้ำยา 4) น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

52. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น

1) ทุกวันนี้สังคมกำลังเสื่อมลงเพราะพระสงฆ์และฆราวาส

2) ปัจจุบันนี้พระสงฆ์ไม่เป็นที่พึ่งทางใจและไม่ให้ความรู้แก่สังคม

3) พระสงฆ์หันไปสร้างวัดใหญ่โตกันมากกว่าการเจริญไตรสิกขา

4) ชุมชนเสื่อมลงเพราะพระสงฆ์ไม่เป็นแบบอย่างการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

53. ข้อความต่อไปนี้ไม่ใช้กลวิธีในการเขียนตามข้อใด

“ คนไทยทุกคนควรภูมิใจที่พอเกิดมาก็ได้เป็นเจ้าของทรัพย์อันมหัศจรรย์ ก็ทรัพย์อะไรเล่าจะล้ำค่าน่าหวงแหนไปกว่าความสวยสดตระการตาของธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งภูเขาขจี น้ำตกใส สายธารใหญ่น้อยและทะเลสีมรกต รวมทั้ง

ศิลปวัฒนธรรมที่ ประณีต ละเอียดอ่อน..... ขอเชิญชวนคนไทยเที่ยวเมืองไทย ”

1) การพรรณนา 2) การยกตัวอย่าง

3) การใช้ความเปรียบ 4) การอธิบายตามลำดับ



อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 54 – 55

“ ผู้มีตำแหน่งสูงต้องมีแผลให้น้อยที่สุด ไม่มีเลยยิ่งดี และต้องมีศัตรูให้น้อยที่สุดแต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะกว่าจะขึ้นมาถึงที่สุดอาจสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว ศัตรูที่น่ากลัวมากคือคนใกล้ชิด ดังมีคำกล่าว่า คนที่ไว้ใจไม่ได้มากที่สุดคือคนที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด มหาบุรุษที่แท้จริงนอกจากจะรู้จักใช้คนแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกไว้ใจคนอีกด้วย ”

54. ข้อเตือนใจในข้อความข้างต้นใกล้เคียงกับข้อใดมากที่สุด

1) ยิ่งสูง ยิ่งหนาว

2) ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง

3) อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง

4) ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก สี่สิ่งนี้ไม่ควรไว้ใจ

55. จากข้อความข้างต้นอนุมานได้ว่าผู้เขียนเป็นคนอย่างไร

1) รอบคอบ 2) วิตกกังวล 3) หวาดระแวง 4) รู้เท่าทันชีวิต



อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 56 – 57

(1) รัฐบาลได้พยายามจนสุดความสามารถที่จะตรึงราคาไฟฟ้าและน้ำประปาไว้จนไม่อาจฝืนต่อภาวะกดดันและจำเป็นต่อไปได้อีก / (2) จึงจำเป็นต้องขึ้นราคาไฟฟ้าและน้ำประปา / (3) เพราะรัฐบาลไม่มีเงินทุนที่จะนำมาจ่ายชดเชย อีกทั้งยังไม่เป็นธรรมต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ/ (4) นอกจากนี้ยังทำให้การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ชาวชนบทต้องหยุดชะงักไปด้วย ซึ่งขัดกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล

56. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น

1) ตอนที่ (1) 2) ตอนที่ (2) 3) ตอนที่ (3) 4) ตอนที่ (4)

57. ข้อใดเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

1) พัฒนาชนบทให้มีความเจริญ

2) ให้ประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาราคาถูก

3) ผลักดันให้มีการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4) ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

58. ข้อใดใช้ภาษากะทัดรัด

1) เราควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกเรานี้

2) การอ่านมากและฟังมากนำไปสู่ความเป็นพหูสูต

3) ชั้นบรรยากาศถูกทำลายเสียหายเพราะมลพิษจากโลกนี้เอง

4) เพื่อให้ได้ทุกสิ่งสมปองดังปรารถนา ต้องยึดคำขวัญว่าอุปสรรคคือบทเรียนของชีวิต

59. ข้อใดใช้คำไม่ถูกความหมาย

1) ผู้อ่านหาซื้อหนังสือใหม่ๆที่นักอ่านเสนอแนะไว้

2) นักร้องกำลังให้คะแนนผู้ร้องที่เข้าประกวดแต่ละคน

3) นักพูดไม่ประหม่าเวทีเพราะผู้พูดกลุ่มนี้มีประสบการณ์สูง

4) ผู้เขียนเรื่องสั้นให้สัมภาษณ์ว่าการเป็นนักเขียนต้องอ่านมาก

60. ข้อใดใช้ภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ

1) รัฐบาลแถลงว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ

2) คุณภาพชีวิตที่ดีย่อมเกิดขึ้นได้หากประชาชนร่วมใจกันพัฒนาสิ่งแวดล้อม

3) ราคาผลผลิตตกต่ำและน้ำมันขึ้นราคาเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยภายนก

4) เราเรียนรู้จากอดีตว่าการกินดีอยู่ดีของประชาชนขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาล

61. ข้อความต่อไปนี้สามารถประเมินได้ตรงตามข้อใด

“ ข้าพเจ้าเคยเตือนคนรุ่นหนุ่มสาวเสมอว่าอย่าทอดทิ้งของเก่าๆ ของไทยเราเสียอย่างไม่อาลัยไยดี เพราะของเก่าเป็นเครื่องชี้อายุของชาติ เป็นเครื่องแสดงวัฒนธรรมของชาติ ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ข้าพเจ้าไม่นิยมของใหม่เลย ”

1) สมเหตุสมผล 2) มีลักษณะสร้างสรรค์

3) เหมาะแก่กาละและบุคคล 4) ใช้ภาษากระชับและเข้าใจง่าย





ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 62 -63

“ รัฐบาลได้พยายามประคับประคองภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพให้ทรงตัวอยู่ได้ดีพอควร แม้ว่าจะมีภาวะฝนแล้งตลอดปี

และเกิดอุทกภัยที่สร้างความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสแก่ประชาชนเกือบทั้งประเทศ รัฐบาลก็ได้นำมาตรการต่างๆมา

ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ รัฐบาลจึงรู้สึกโล่งใจเป็นอันมากที่สามารถ ลด

ภาวะอันหนักอึ้งนี้ลงไปๆได้”

62. ข้อใดคือเจตนาสำคัญของผู้พูด

1) ชี้ให้เห็นความสามารถของรัฐบาล

2) ชี้ให้เห็นภาวะอันหนักของรัฐบาล

3) ชี้ให้เห็นวิกฤตการณ์ที่ไทยได้เผชิญ

4) ชี้ให้เห็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของประชาชน

63. ผู้พูดใช้ภาษาลักษณะใด

1) ใช้คำที่เร้าอารมณ์ 2) กล่าวในเชิงเยินยอ

3) กล่าวในเชิงรำพึงรำพัน 4) ใช้คำง่ายตรงไปตรงมา

64. ข้อใดใช้ภาษาโน้มน้าวใจได้ดีที่สุด

1) การทำงานให้เกิดผลดีได้นั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

2) ประเทศไทยก้าวหน้าเป็นผลจากการส่งสินค้าออกขายต่างประเทศ

3) การประหยัดน้ำมันกันคนละเล็กละน้อยจะช่วยกู้เศรษฐกิจของชาติได้

4) การอุดหนุนหัตกรรมพื้นบ้านเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

65. ข้อใดใช้โครงสร้างของการแสดงเหตุผลต่างจากข้ออื่น

1) ต้นไม่บริเวณนี้เขียวขจีเพราะดินอุดมสมบูรณ์

2) อากาศร้อนอบอ้าวมากแสดงว่าฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้

3) อุบัติเหตุย่อมลดลงหากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะไม่ขับเร็ว

4) พวกเราชอบไปเที่ยวสุโขทัยและอยุธยาเนื่องจากมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง



ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 66-67

1. โฉมงามทรามสุดสวาทพี่ ดาลฤดีจ่อจิตพิศวง

ขอแต่เยงได้พิงอิงองค์ แนบอนงค์ขวัญฟ้ายาใจ

2. หอมหวนชวนสูดอย่าพูดล่อ ฉันจะพอใจเชื่อนั้นหาไม่

เป็นความจริงหลอกหญิงง่ายกระไร พี่มิได้หลอกเจ้าเยาวมาลย์

3. อันชายพูดคล่องคล่องเหมือนล่องน้ำ ถ้อยคำว่าวอนล้วนอ่อนหวาน

พอเบื่อหน่ายวายหลงนงคราญ ก็ทิ้งไปได้ปานผกาโรย

4. แม้รักจริงหวานยิ่งบุหงาสวรรค์ ยิ่งกว่าแก่นจันทร์อันหอมโหย

รักร่วมชีวาไม่ราโรย จะช่วยโชยกลิ่นสวาทไม่ขาดเอย

66. ข้อใดใช้คำไวพจน์มากที่สุด

1) ข้อ 1 2) ข้อ 2 3) ข้อ 3 4) ข้อ 4

67. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์

1) ข้อ 1 2) ข้อ 2 3) ข้อ 3 4) ข้อ 4


68. ลักษณะการประพันธ์ที่เด่นที่สุดของข้อความต่อไปนี้คือข้อใด

“ จากความวุ่นวู่วามสู่ความว่าง จากความมืดมาสว่างอย่างเฉิดฉัน

จากความร้อนระอุเป็นเย็นนิรันดร์ ไม่รู้พลันพลิกเห็นเป็นความรู้ ”

1) การเล่นเสียงสัมผัส 2) การซ้ำคำเพิ่มความหมาย

3) การเล่นคำหลากความหมาย 4) การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน

69. ข้อใดเป็นข้อกำหนดคุณค่าทางวรรณศิลป์ของบทประพันธ์

1) การใช้หลักเกณฑ์การแต่งอย่างถูกต้อง

2) การเลือกใช้รูปแบบคำประพันธ์ที่หลากหลาย

3) การสื่ออารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ประสานกัน

4) การปรับใช้หรือการสร้างสรรค์ขนบการประพันธ์ใหม่ๆ

ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 70 -71

ก. สองเนตรคือดา ระกะในนภาศรี

ข. งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา

ค. สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา

ง. งามเนตรดั่งเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์

70. คำประพันธ์ข้างต้นนี้มีความเปรียบรวมกี่แห่ง

1) 4 แห่ง 2) 5 แห่ง 3) 6 แห่ง 4) 7 แห่ง

71. คำประพันธ์ข้างต้นข้อใดมีเนื้อหาของการเปรียบเทียบตรงกับคำประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้

“ มธุรสโอษฐ์ชะอ้อนประอรเอียง ดาลเผดียงดาเรศเนตรอนงค์ ”

1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.

72. ข้อความต่อไปนี้ถ้าเขียนแยกวรรคให้ถูกต้องจะเป็นประพันธ์ตรงตามข้อใด

“ พิเศษสารเสกสร้างรังสรรค์สารประจงจารฉันทภาคพริ้งพรายฉายเฉกเพชรพรรณเพราเฉิดเลิศแลลายระยับสายสะอิ้ง

ส่องสร้อยกรองทรวง”

1) โคลงสี่สุภาพและกลอนสุภาพ

2) กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ

3) กาพย์ฉบัง 16 และกลอนสุภาพ

4) กาพย์ยานี 11 และกาพย์ฉบัง 16

73.คำประพันธ์ต่อนี้ข้อใดมีวิธีการพรรณนาต่างจากข้ออื่น

1) พื้นผนังหลังบัวที่ฐานปัทม์ เป็นครุฑอันยืนเหยียบภุชงค์ขยำ

2) หยิกขยุ้มกุมวาสุกรีกรำ กินนรรำร่ายเทพประนมกร

3) ใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข สุวรรณสุกเลื่อมแก้วประภัสสร

4) ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคุนธร กระจังซ้อนแซมใบระกาบัง

74. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ตามข้อใด

“ ฉันมองคลื่นรื่นเร่เข้าเห่ฝั่ง พร่ำฝากฝังภักดีไม่มีสอง

มองดาวเฟี้ยมเยี่ยมพักตร์ลักษณ์ลำยอง จากคันฉ่องชลาลัยใสสะอาง”

1) บุคคลวัตและอุปลักษณ์ 2) สัญลักษณ์และอติพจน์

3) บุคคลวัตและสัญลักษณ์ 4) อุปลักษณ์และอติพจน์

75. พรรณนาเสียงในข้อใดให้อารมณ์ต่างจากข้ออื่น

1) เสียงสกุณาร้องก้องกึกให้หวั่นหวาด

2) เสียงชะนีร้องอยู่โหวยโวยโว่ยวิเวกวะหวามอก

3) ทั้งพญาคชสารชาติฉัททันต์ทะลึ่งถลันร้องวะแหวๆ

4) ทั้งพญาพาฬมฤคราชเสือโคร่งคะครางครึ้มกระหึมเสียง



ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม 76-77

ก.แรงรักแรงราคร้อน รนสมร

ยยิ่งเปลวไฟฟอน หมื่นไหม้

ข.พี่หวังพบบมิพบและพบทุกขคือไฟ

ตัวตายดีกว่าไกล อนุช

ค.เจ้ามาหรือมิ่งวิมลสมร อย่าซ่อนองค์อยู่เลยยอดสงสาร

ฟังไปใช่เสียงเยาวมาลย์ อุราร้อนปิ้มปานเพลิงกัลป์

ง. รูปนวยเชิญช่วยชีวิตไว้ จงดับไฟร้อนรุมสุมขอน

ซึ่งไหม้จิตต์เป็นนิจนิรันดร ให้พี่คลายร้อนรำคาญ

76. ความเปรียบในข้อใดแสดงอารมณ์รุนแรงน้อยที่สุด

1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.

77. ข้อใดใช้ภาพพจน์ตรงกับคำประพันธ์ต่อไปนี้

“ น้องท้าวสดับสารภูธร เพียงพิศม์ไฟฟอน

มารุมระงมกลางใจ ”

1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.

78. ข้อความในวรรณนากาลามสูตรที่ว่า “ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แท้ ” นั้นไม่ก่อให้เกิดผลตามข้อใด

1) ได้รับการสรรเสริญจากวิญญูชน

2) สกัดกั้นผลชั่วที่สร้างทุกข์ทางใจ

3) ลดผลของกรรมที่ทำมาในอดีต

4) ได้รับประโยชน์และความสุขความเจริญ

79. ข้อใดเป็นปฏิบัติตามหลักกาลามสูตร

1) แดงงดการเดินทางในวันที่เกิดจันทรคราส

2) แดงไม่เลือกผู้สมัครที่มีใบปลิวโจมตีว่าทุจริต

3) แดงเปลี่ยนศาสนาตามคำชักชวนของเพื่อนสนิท

4) แดงศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการทำรายงาน



ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 80 - 81

ก. ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี

ประธานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อประทุมธานีเพราะมีบัว

ข. พฤกษาสวนล้วนได้ฤดูดอก ตระหง่านงอกริมกระแสแลสล้าง

กล้วยระกำอัมภาพฤกษาปราง ต้องน้ำค้างช่อชุ่มเป็นพุ่มพวง

ค. ที่ท้ายบ้านศาลเจ้าของชาวบ้าน บวงสรวงศาลเจ้าผีบายศรีตั้ง

เห็นคนทรงปลงจิตนิจจัง ให้คนทั้งปวงหลงลงอบาย

ง. ถึงบ้านงิ้วเห็นแต่งิ้วละลิ่วสูง ไม่มีฝูงสัตว์สิงกิ่งพฤกษา

ด้วยหนามดกรกดาษระดะตา นึกก็หน้ากลัวหนามขามขามใจ

80. คำประพันธ์ในข้อใดไม่เป็น “ กระจกส่องภาพทางวรรณธรรม”

1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.

81. ข้อใดไม่แสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์

1) ข้อ ก. 2) ข้อ ข. 3) ข้อ ค. 4) ข้อ ง.

82. สาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้ใกล้เคียงกับข้อใดมากที่สุด

“ ขณะผู้มีบุญท่านขุ่นเคือง ไปหาเรื่องเท่ากับว่าไปหาหวาย”

1) กล้านักมักบิ่น 2) เอามือไปซุกหีบ

3) จระเข้ขวางคลอง 4) น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

83. ข้อใดไม่ใช่สารจากเรื่องอัวรานางสิงห์

1) คุณค่าของชีวิตแม้แต่ชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน

2) ความน่าเกรงขามของเคราะห์กรรมหรือโชคชะตา

3) ความเห็นแก่ตัวและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์

4) ความน่าสลดใจของการกระทำที่สวนทางกับธรรมชาติ

84. ข้อใดเป็นสาระสำคัญที่สุดของข้อความต่อไปนี้

“ ฝูงมนุษย์ไม่เข้าใจการเรียกร้องของอัวรา พวกเขาพากันหัวเราะและบางคราวทำหน้าล้อเย้ยหยันอย่างน่าบัดสี ฝูงมนุษย์ย่อมจะขลาด ดังนั้นจึงชมเชยรัฐบาลของตัวในข้อที่จัดสิ่งที่ตัวกลัวแต่อยากเห็นไว้ให้ตัวดูได้โดยปลอดภัย”

1) มนุษย์ทำให้อัวราสูญเสียสัญชาตญาณสัตว์ป่าอย่างสิ้นเชิง

2) ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นต้นเหตุให้สัตว์เกิดความทุกข์ทรมาน

3) ความกลัวและความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ทำให้เกิดสวนสัตว์ขึ้น

4) มนุษย์หัวเราะเยาะความเดียวดายอันน่าเวทนาของอัวราแทนที่จะเห็นใจ

85. ข้อใดสะท้อนแนวคิดหลักของพุทธศาสนาชัดเจนที่สุด

1) อันว่าความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่

2) นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

3) ยามบวชบ่มบุญไป น้ำตาไหลเพราะอิ่มบุญ

4) ไม่มีพรเทพพรมนุษย์ เปรียบประดุจความดีที่ทำเอง

86. “ ภูมิปัญญา” ในข้อความต่อไปนี้ตรงกับข้อใด

“ ในวรรณคดีนักเขียนและกวีย่อมแสดงภูมิปัญญาของตนออกมา เราจึงสามารถมองเห็นชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยมและจริยธรรมของคนในสังคมที่ผู้ประพันธ์จำลองไว้ให้ประจักษ์”

1) ลักษณะของสังคมที่เสนออย่างตรงไปตรงมา

2) การแดสงภาพของชีวิตที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม

3) ภาพจำลองของชีวิตและการส่งเสริมจริยธรรมของสังคม

4) ความรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน

87. ข้อใดมีเนื้อความต่างจากกลุ่ม

1) จึ่งว่าเจ้าเหล่านี้นี่บ่าวใคร ฤาว่าไพร่หลวงเลกสักข้อมือ

2) ถึงกริ้วกราดด่าว่าก็จะรับ อย่าให้ยับต้องประสงค์ต้องลงหวาย

3) นายจะถอดให้เป็นยายนายประตู กินปลาทูกับข้าวแดงอดแกงเอย

4) ส่งกระดาษให้พระราชวรินทร์ชำระ ใครเกะกะเฆี่ยนให้หนักแล้วสักหน้า

88. คำประพันธ์ต่อไปนี้แสดงแนวคิดในด้านใด

“ ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก

โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น

กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น

เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น”

1) การก่อสร้างพุทธสถาน 2) คำสอนทางพระพุทธศาสนา

3) การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย 4) สถานภาพของคนในสังคม

89. ข้อใดไม่ปรากฏอยู่ในคำประพันธ์ต่อไปนี้

“ ขาวสุดพุดจีบจีน เจ้ามีสินพี่มีศักดิ์

ทั้งวังเขาชังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว”

1) ค่านิยมของสังคม 2) อานุภาพของความรัก

3) สถานภาพของสตรี 4) ความสำคัญของชาติตระกูล

90. ข้อใดเป็นเหตุผลที่ทำให้เพราะเจ้ากรุงสญชัยพระราชทานค่าสินไถ่โดยไม่เอาผิดชูชกและยังเลี้ยงดูเป็นอย่างดี

1) เชื่ออำนาจของกฎแห่งกรรม

2) เคารพในการบำเพ็ญทานของพระโอรส

3) ให้เกียรติพราหมณ์เพราะเป็นผู้อยู่ในวรรณะสูง

4) รู้ธรรมชาติของชูชกว่าเป็นคนโลภที่ไม่รู้จักขอบเขต

91. การที่ขุนแผนพาวันทองเข้าขอลุแก่โทษแสดงธรรมชาติของมนุษย์ที่น่านิยมตามข้อใด

1) แม้ในภาวะคับขันก็ยังยึดมั่นในความจงรักภักดี

2) การร่วมทุกข์ร่วมสุขสร้างความเข้มแข็งไม่ขลาดกลัว

3) ความรักลูกทำให้กล้าเผชิญปัญหาแม้ร้ายแรงถึงชีวิต

4) ความอนุเคราะห์ของมิตรแท้ย่อมเป็นหลักประกันความปลอดภัย

92. ข้อใดไม่มีนัยความหมายบ่งบอกเวลา

1) จักยาตราทัพขันธ์ กันเอารุ่งไว้หน้า

2) เจียนจวบรวิรรณ รางเรื่อ แลฤา

3) นับดฤษถีนี้โน้น แน่นั้นวันเมือ

4) ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช

93. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้

“ เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ พระอริยสัจอัน

อาจนำมนุษย์ผัน ติระข้ามทะเลวน ”

1) การสร้างสมบุญบารมีด้วยการศึกษาอริยสัจสี่

2) อานิสงส์ที่ส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้น

3) ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏด้วยปัญญา

4) กุศลจากการเคารพบูชาพระอริยสาวก

94.ข้อใดเป็นสาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้

“ เวรามาทันแล้ว จึงจำแคล้วแก้วโกมล

ให้แค้นแสนสุดทน ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย ”

1) ความอาลัยรักที่ระงับได้ด้วยกฎแห่งกรรมและอุเบกขา

2) ความขัดแย้งกับโชคชะตาที่ทำให้ทุกข์ทรมานใจอย่างสาหัส

3) ความขัดแย้งที่ต้องยอมรับความจริงกับความอัดอั้นและทุกข์ใจ

4) ความเด็ดเดี่ยวเพราะอาศัยหลักศาสนาช่วยหักห้ามใจให้คลายทุกข์

95. คำว่า “ เพ็ญ ” ในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น

1) อ้าจอมจักรพรรดิผู้ เพ็ญยศ

2) กำหนดพรุกเพ็ญแท้ พันธนาไว้แล

2) พูนเพิ่มพระสมการ เพ็ญภพ พระนา

4) สรรเป็นรูปอุรเคนทร์ เพ็ญพะพานแผ่เศียร

96. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของกวีตามคำประพันธ์ต่อไปนี้

“ เธอคือกวี เธอต้องมีความงามความประสาน

ความประสมกลมกลืนความชื่นบาน มีวิญญาณหยั่งรู้มธุรทัศน์

เธอต้องเขียนชีวิตจากชีวิต นฤมิตถ้อยคำด้วยสัมผัส

สัมผัสใจสู่ใจให้แจ่มชัด ไม่จำกัดกวีไว้แต่ในคำ”

1) กวีต้องชี้นำแนวทางการดำเนิน

2) กวีต้องสามารถสร้างงานอย่างสมจริง

3) กวีต้องไม่ติดอยู่กับกรอบแห่งฉันทลักษณ์

4) กวีต้องประจักษ์ในความงามอันประณีตลึกซึ้ง

97. ข้อใดให้ภาพเด่นชัดที่สุด

1) ค้อนเคืองชำเลืองหางตา บ่นบ้าเบื่อใจไม่ไกลกัน

2) ยังต้องจิตติดใจที่ไว้วาง ไม่จืดจางคิดเรื้อเบื่อกระบวน

3) กลอนกังวานหวานฉ่ำสิ้นสำเนียง จะเหลือเพียงภาพฝันของวันนี้

4) ให้ไร้ทุกข์ไร้โศกไร้โรคภัย ร้ายข้างนอกร้อนข้างในให้หน่ายหนี

98. ข้อใดพรรณนาเนื้อความต่างจากกลุ่ม

1) เห็นละหานธารน้ำไหลหลั่ง ร่มไทรใบบังสุริย์ศรี

2) พิศไท้ไท้ว่าไท้ ทินกร พิศอ่อนคือศศิธร แจ่มฟ้า

3) วายุวิเวกพัดมาเฉื่อยฉิว ใบพฤกษาปลิวร่วงระรุบเย็นทุกเส้นหญ้า

4) กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พระยาลอคลอเคียง แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง

99. สำนวนในข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคำประพันธ์ต่อไปนี้มากที่สุด

“ พักตร์จิตผิดประมาณ ยากรู้ ”

1) ปาปราศรัย ใจเชือดคอ

2) ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก

3) คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ

4) ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพลง

100. ข้อใดไม่ใช่การพรรณนาฉาก

1) หล่อนจะต้องอยู่ที่นี่และตายบนธรณีผืนนี้

2) ร่างทะมึนบึกบึนของเขาตัดเด่นกับขอบฟ้าอันเวิ้งว้าง

3) เสียงหวีดของรถไฟก้องกรีดขึ้นในความสงัดของราตรี

4) ที่นี่คือนรก เต็มด้วยความร้อนแห้งผากและฝุ่นบ้าๆ

















เฉลยข้อสอบ ชุดที่ 1



1. ตอบ 3 ภาษาไทยรับคำจากภาษาอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่

- ข้อ 1 ถูกต้อง เพราะประเทศไทยใช้ภาษไทยมาตรฐานเป็นภาษาราชการ

- ข้อ 2 จริงที่การออกเสียงภาษาไทยใช้เสียงหนักเบา

- ข้อ 4 จริงที่คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงอังกฤษ เช่น chocolate คนไทยทั่วไปออก

เสียงว่า ช็อกกาแลต บางคนอาจจะออกตามฝรั่งว่า ช็อคโคแลต ( เสียง c บางคนออกเสียง “ค” ตามฝรั่ง)

- ข้อ 3 ไม่จริง เพราะเวลารับคำจากภาษาอื่น ภาษาไทยจะมีการแปลงรูปศัพท์มาด้วย

เช่น - ทิฏฐิ เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า ทิฐิ

- วุฑฒิ เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า วุฒิ

- อัฑฒ เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า อัฒ

- สํคม เวลามาใช้ในภาษาไทยใช้ว่า สังคม

2. ตอบ 1 บรั่นดี

- เพราะเสียงควบกล้ำของไทยมี 11 เสียง คือ /กร / /กล / / กว / /คร / / คล / /คว / /ปร / /ปล/ / พร / /พล / /ตร/

- ข้อ 2 ควบกล้ำที่ /คล/

- ข้อ 3 ควบกล้ำที่ /คว/

- ข้อ 4 ควบกล้ำที่ /กว/

- ข้อ 1 เสียง / บร/ ไม่มีในเสียงควบกล้ำของไทย ข้อ 1 จึงตรงกับคำตอบ

3. ตอบ 3 9 พยางค์

- มีพยางค์ที่มีพยัญชนะท้ายทั้งหมด 9 พยางค์ คือ

พูด มี “ด” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

จะ มี “อ” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย} ทั้งนี้เพราะพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมสระสั้นเน้นเสียง “อ”เป็นตัวสะกด

จะ มี “อ” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย} ทั้งนี้เพราะพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดประสมสระสั้นเน้นเสียง “อ”เป็นตัวสะกด

นั่น มี “น” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

เอง มี “ง” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

ทำ มี “ม” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

ไม มี “ย” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

ไม่ มี “ย” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

ลง มี “ง” เป็นเสียงพยัญชนะท้าย

- พยางค์ “มัว” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “ว” เป็นรูปสระ

“มือ” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “อ” เป็นรูปสระ

“เสีย” ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย “ย” เป็นรูปสระ



4. ตอบ 3 หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย

- ข้อ 1 ขาดเสียงวรรณยุกต์จัตวา

- ข้อ 2 ขาดเสียงวรรณยุกต์ตรี

- ข้อ 4 ขาดเสียงวรรณยุกต์จัตวา

5. ตอบ 3 ประธานในพิธีกล่าวคาถาอัญเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล

- ข้อ 1 มีคำสมาส คือ “มาตุภูมิ”

- ข้อ 2 มีคำสมาส คือ “ประชาชน” “ไปรษณียบัตร”

- ข้อ 4 มีคำสมาส คือ “วิทยาศาสตร์”

© คำว่า “ ชีวเคมี ” ในข้อ 4 ไม่ใช่ คำสมาส เพราะ เคมี เป็นภาษาอังกฤษ นำมาสมาสคำไม่ได้

6. ตอบ 2 ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม

- ข้อ 1 มีคำซ้อน 1 คำ คือ ยากแค้น

- ข้อ 3 มีคำซ้อน 2 คำ คือ แหล่งหล้า,เสมอเหมือน

- ข้อ 4 มีคำซ้อน 2 คำ คือ ทรัพย์สิน,ขัดสน

- ข้อ 2 มีคำซ้อน 3 คำ คือ แออัด,ผู้คน, ล้นหลาม

ตัวเลือกข้อ 2 เป็นข้อที่มีคำซ้อนมากที่สุด

7. ตอบ 4 สิงขร เวหาสน์ วนาดร

- คำพ้องความหมาย คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ ที่เราเรียกกันว่า คำไวพจน์

ข้อ 1 มี “ไอยรา” กับ “กุญชร” ที่แปลเหมือนกัน คือ “ช้าง”

ข้อ 2 มี “ลำธาร” กับ “ชลาสินธุ์”ที่แปลเหมือนกัน คือ “แม่น้ำ” (ถึง “มัจฉา”จะแปลว่า “ปลา”)

ข้อ 3 มี “เทเวศร์” กับ “สุรารักษ์” ที่แปลเหมือนกัน คือ “เทวดา” (ถึง “อัจฉรา”จะแปลว่า “นางฟ้า”)

ข้อ 4 สิงขร แปลว่า ภูเขา เวหาสน์ แปลว่า ท้องฟ้า วนาดร แปลว่า ป่าสูง

8. ตอบ 2 หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโลงผี

- ข้อ 2 มีคำประสม 2 คำ คือ “หลังคา” กับ “โลงผี” (โลงศพ)

- ข้อ 1 “มีดพร้า” กับ “ระราน” เป็นคำซ้อน

- ข้อ 3 “เหย้าเรือน” เป็นคำซ้อน

- ข้อ 4 “เหน็บแนม” เป็นคำซ้อน

9. ตอบ 2 แยกๆกันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น

- ข้อ 1,3,4 เป็นคำซ้ำปะเภทขยายความ

- ข้อ 1 “กลมๆ” ขยาย “ลูก”

- ข้อ 3 “ใกล้ๆ” ขยาย “อยู่”

- ข้อ 4 “สดๆ” ขยาย “สี”

- ข้อ 2 เป็นคำซ้ำที่มีความหมายในเชิง “แบ่ง” หรือ “แยก” ในที่นี้ “แยกๆกันกิน” คือ

“แยกกันไปกิน” ข้อ 2 จึงต่างกับข้ออื่น



10. ตอบ 4 รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนใจปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจ

และสังคม

- ข้อ 1 มีสำนวนต่างประเทศตรงที่ “เผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจาก” ควรแก้เป็น “เผชิญ โศกนาฏกรรมเงียบของ...”

- ข้อ 2 เป็นสำนวนต่างประเทศ ตรงที่ “ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว”

- ข้อ 3 เป็นสำนวนต่างประเทศ ตรงที่ “สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นำ......”

ควรแก้เป็น “สภากาชาดสากลร่วมกับผู้นำ”

11. ตอบ 3 ก่อนเข้าแบงก์ผู้ขับขี่รถจักยายยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดำออก

- ข้อ 1 คำภาษาต่างประเทศ คือ “ฟิวส์” “ปลั๊ก” (เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)

- ข้อ 2 คำภาษาต่างประเทศ คือ “ ไอศกรีม” “ช็อกโกแลต” (เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)

- ข้อ 4 คำภาษาต่างประเทศ คือ “ กอล์ฟ” “วงสวิง”(เป็นคำที่ไม่มีคำไทยแทน)

- ข้อ 3 คำภาษาต่างประเทศ คือ “แบงก์” สามารถเปลี่ยนเป็นคำไทยว่า “ธนาคาร” ได้ ข้อ 3 จึงถูกต้อง

12. ตอบ 2 คุณปู่ทำกนกแล้วลายไทยงามไพจิตร

- ข้อ 1 มีคำเขมร คือ “โปรด”

- ข้อ 3 มีคำเขมร คือ “สำราญ”

- ข้อ 4 มีคำเขมร คือ “ดำเนิน” “ไพเราะ”

13. ตอบ 3 ไทยเตรียมโยกย้ายทหารออกไปจากติมอร์ตะวันออกภายในเดือน มีนาคม

- ทั้งนี้เพราะ “โยกย้าย” ใช้กับ “ตำแหน่งงาน” แต่ในที่นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการย้ายกองทหาร

ควรเปลี่ยนเป็น “เคลื่อนย้าย” ( เพราะ เคลื่อนย้าย ใช้กับ กำลังพล )

14. ตอบ 4 ปลากรอบ หวานเย็น เด็กดอง

- ข้อ 1 ยกเครื่อง มีความหมายอุปมาว่า ปรับปรุง

- ข้อ 2 ลอบกัด มีความหมายอุปมาว่า ทำลับหลัง

ตาบอด มีความหมายอุปมาว่า หลง

- ข้อ 3 ไข่ดาว มีความหมายอุปมาว่า อกเล็ก

ลายแทง มีความหมายอุปมาว่า ลายมือหวัดๆ

- ข้อ 4 ปลากรอบ หวานเย็น เด็กดอง มีความหมายตรงทุกคำ

15. ตอบ 1 พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ

- ข้อ 1 เวลา คือ “ตอนบ่ายๆ” ไม่เจาะจง

- ข้อ 2 มีการขยายให้ชัดเจนว่า ละครโทรทัศน์ หลังข่าวภาคค่ำ

- ข้อ 3 มีการขยายให้ชัดเจนว่า ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน

- ข้อ 4 มีการขยายให้ชัดเจนว่า เมื่อวานนี้ตอนกินข้าวเย็น

16. ตอบ 2 ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง

- ทั้งนี้เราะ “จำนวนมาก” ในข้อ2 อาจจะขยาย “ผู้ค้า” หรือ “ยาเสพติด” ทำให้ได้ 2 ความหมาย

คือ - ตำรวจจับคนขายเฮโรอีน ได้คนขายจำนวนมาก

- ตำรวจจับคนขายที่ขายเฮโรอีนจำนวนมาก

17. ตอบ 3 เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ

- ข้อ 1 ผิด เพราะฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด หมายถึง โกรธเกลียดเท่าไหร่ก็ตัดไม่ขาด

ในที่นี้ไม่ได้แสดงมาว่าพ่อแม่โกรธหรือดเกลียดลูก

- ข้อ 2 ผิด เพราะ ตีนถีบปากกัด หมายถึง มานะพยายามทำงานเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึง

ความเหน็ดเหนื่อย ไม่ได้หมายความว่า ลำบากตอนหนุ่มๆ

- ข้อ 4 ผิด เพราะ ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ใช้กับสภาพบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร

ไม่ได้ใช้กับคนที่มีฐานะดี (คนที่มีฐานะดีมาก เรียกว่า ผู้มีอันจะกิน)

- ข้อ 3 ถูกแล้ว เพราะปากว่าตาขยิบ คือ พูดไปอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง (ปากกับการกระทำไม่ตรงกัน )

ในที่นี้ปากว่าไม่ชอบ แต่ก็ไปเที่ยวกับเขา จึงถูกต้อง

18. ตอบ 2 ก่อนไปสอบเป็นผู้ประกาศข่าว ข้าพเจ้าฝึกอ่านข่าวกับคุณศันสนีย์จนคล่อง

- ข้อ 1 ผิด เพราะ “ชื่นชมกับพระอาทิตย์” ไม่ต้องมี “กับ” ก็ได้ ถือว่าใช้คำฟุ่มเฟือย

- ข้อ 3 ผิด เพราะ “ยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่” ต้องแก้เป็น “ยื่นคำร้องต่อ.....”

- ข้อ 4 ผิด เพราะ “อยากทำงานกับกระทรวงฯ” ควรแก้เป็น “อยากทำงานในกระทรวง”

หรือ “อยากทำงานที่กระทรวง”

19. ตอบ 2 โยนหินถามทาง

- ทั้งนี้เพราะการกระทำเพื่อลองดูปฏิกิริยา เขาใช้สำนวนว่า “โยนหินถามทาง”

- ข้อ 1 กวนน้ำให้ขุ่น หมายถึง ทำเรื่องสงบให้วุ่นวาย

- ข้อ 3 หว่านพืชหวังผล หมายถึง ทำเพื่อหวังผลตอบแทน

- ข้อ 4 ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง เรื่องจะยาว เพราะคนพูดต่อไปเรื่อยๆ

20. ตอบ 3 ในสังคมไทยอาจารย์จำนวนมากเป็นผู้บริโภควิชาการมากกว่าสร้างสรรค์

- ข้อ 1 ควรแก้ “มีตั้งแต่ระดับประดิดประดอย......จนถึงระดับอุตสาหกรรมศิลป์” เป็น

“มีตั้งแต่ขั้นประดิดประดอย.....จนถึงขั้นอุตสาหกรรมศิลป์”

- ข้อ 2 ควรแก้ “......ที่ใช้เหตุผลและตรรกะ” ใช้คำฟุ่มเฟือย ควรแก้เป็น “ที่ใช้เหตุผล”

- ข้อ 4 “ไปพัฒนาการสังคม” ใช้คำผิด ควรแก้เป็น “ไปพัฒนาสังคม”


21. ตอบ 3 แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ

- ควรแก้ “เพราะ” เป็น “จึง”

22. ตอบ 4 การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโถชนาการของเด็กเป็นประจำ

- ข้อ 1 ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์ เพราะ ยังขาดกริยาหลัก

- ข้อ 2 ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์ เพราะ ต้องมีข้อความมาต่ออีก จึงจะสมบูรณ์

- ข้อ 3 ยังไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์ เพราะ ยังขาดกริยาหลัก

- ข้อ 4 เป็นประโยคสมบูรณ์ เพราะมี

ประธาน = การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไป

กริยา = จำเป็นต้องรณรงค์

23. ตอบ 3 เจ้าด่างครางหงิงๆวิ่งไปมาตามถนน

- โครงสร้างของประโยคที่ให้มา คือ

ดอกบัวตอง + บาน + สะพรั่ง + ชู + ไสว + ทั่วท้องทุ่ง

ß ß ß ß ß ß

ประธาน กริยาตัวที่ ขยายกริยา กริยา ขยายกริยา ขยายบอก

1 ตัวที่ 1 2 ตัวที่ 2 สถานที่

- ข้อ 1 มีโครงสร้างประโยค คือ

พวกเด็กๆ + วิ่งเล่น + กันเต็ม + สนามกีฬา

ß ß ß ß

ประธาน กริยา ขยายกริยา ขยายบอกสถานที่

ตัวที่ 1 + ตัวที่ 2

- ข้อ 2 มีโครงสร้างประโยค คือ

ฟ้าคะนอง + ผ่า + เปรี้ยงลง + ที่ตึก + หลังสูง

ß ß ß ß ß

ประธาน กริยา ขยายกริยา ขยายบอกสถานที่ ขยายสถานที่

- ข้อ 4 มีโครงสร้างประโยค คือ

แม่ครัว + นอน + เหยียดยาว + กลางห้องครัว

ß ß ß ß

ประธาน กริยา ขยายกริยา ขยายบอกสถานที่

- ข้อ 3 มีโครงสร้างประโยค คือ

เจ้าด่าง + คราง + หงิงๆ + วิ่ง + ไปมา + ตามถนน

ß ß ß ß ß ß

ประธาน กริยา ขยายกริยา กริยา ขยายกริยา ขยายบอก

ตัวที่ 1 ตัวที่ 1 ตัวที่ 2 ตัวที่ 2 สถานที่

- ข้อ 3 มีโครงสร้างประโยคเหมือนประโยคที่ให้มาที่สุดแล้ว

24. ตอบ 1 เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน

- ข้อ 1 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยา 2 ตัว คือ “ไม่สบาย” และ “ร้อง”

- ข้อ 2 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยาตัวเดียว คือ “เดินไป”

- ข้อ 3 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยาตัวเดียว คือ “รู้จัก”

- ข้อ 4 เป็นประโยคความรวม เพราะ มีกริยาตัวเดียว คือ “ดู”

25. ตอบ 3 มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ

- ข้อ 1 เป็นประโยคความเดียว เพราะมีกริยาตัวเดียว คือ “พบ”

- ข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว เพราะมีกริยาตัวเดียว คือ “ออก”

- ข้อ 2 เป็นประโยคความรวม เพราะมีกริยา 2 ตัวติดกัน คือ “ไป” “ซื้อ”

- ข้อ 3 เป็นประโยคความซ้อน เพราะมีกริยา 2 ตัว คือ “อยู่” + “มี” และ

มีคำเชื่อม “ที่” ( = that ) เข้าลักษณะของประโยคความซ้อน

26. ตอบ 4 อาคารผู้ป่วยหลังนี้สร้างเสร็จภายในห้าเดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน

ประโยคกรรม คือ ประโยคที่เอา “กรรม” ขึ้นต้นประโยค

- ข้อ 1 ขึ้นต้นด้วย “ประโยคที่เกิดจากโครงสร้างนี้” ซึ่งเป็นประธาน เรียกว่า ประโยคประธาน

- ข้อ 2 ขึ้นต้นด้วย “เพราะแม่สูบบุหรี่จัด” ซึ่งเป็นประโยคเหตุผล

- ข้อ 3 ขึ้นต้นด้วย “คนที่เป็นเบาหวาน” ซึ่งเป็นประธาน เรียกว่า ประโยคประธาน

- ข้อ 4 ขึ้นต้นด้วย “อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้” ซึ่งเป็นกรรม ( ของกริยา “สร้าง” ) จึงเป็นประโยคกรรม

27. ตอบ 1 มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

- จรรโลงใจ หมายถึง การยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ดีขึ้น หรือทำให้เกิดความสบายใจ

- ข้อ 2,3,4 ฟังแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีและสบายใจ

- แต่ข้อ 1 “มนุษย์ต้องต่อสู้ทุกวิถีทาง.....” ไม่รู้ว่าต้องใช้วิธีการอะไรดีหรือเลวจึงเป็นข้อที่ไม่จรรโลงใจ

ที่สุดใน 4 ข้อ

28. ตอบ 3 ระดับกึ่งทางการ

- ที่เขายกมานี้มีบางตอนเป็นภาษาพูด (ไม่เป็นทางการ) เช่น “เราเสียดายที่คุณเกษมจะไม่ได้ร่วมงาน

กับเราอีก” แต่บางตอนก็เป็นภาษาเขียน (ภาษาทางการ)

เช่น “จะสร้างความเจริญแก่หน่วยงานแห่งใหม่” เมื่อมีลักษณะ 2 อย่างรวมกัน

ถือว่าใช้ภาษาระดับ “กึ่งทางการ”

29. ตอบ 3 ตอนที่ (3)

- ข้อ 3 ผิด เพราะผู้พระราชทาน คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จึงควรแก้

“พระบรมราชวโรกาส” เป็น “พระราชวโรกาส” เพราะ พระบรมราชวโรกาส

ต้องเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น

30. ตอบ 3 อคติส่วนตนอันเกิดจากความเป็นชายเป็นหญิง

- ทั้งนี้เพราะจริงอยู่ “สามวันจากนารีเป็นอื่น” เว้นวรรคแล้วทำให้กำกวม เพราะแปลได้ 2 อย่าง คือ

“สามวันจากนารี ..... เป็นอื่น” (ผู้ชายเป็นอื่น) หรือ “สามวันจาก.....นารีเป็นอื่น” (ผู้หญิงเป็นอื่น)

แต่ในโจทย์เขาถาม “จากข้อความที่ยกมา” ซึ่ง ฝ่ายหญิงก็ตีความ “ว่าฝ่ายชาย”

ส่วนฝ่ายชายก็ตีความ “ว่าฝ่ายหญิง” จึงน่าจะเป็นข้อ 3 มากกว่าข้อ 1

31. ตอบ 4 J การบรรยายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง

Jการแข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย

- ข้อนี้นับเป็นข้อสอบภาษาไทยแนวใหม่สำหรับปีนี้ทีเดียว วิธีการเขียนแบบสอบถาม โดยเรียบเรียงภาษาไทย

ให้ดูเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน เช่น ถ้าขึ้นด้วยนามก็ขึ้นด้วยนามทั้งหมด ถ้าขึ้นด้วยกริยา

ก็ขึ้นด้วยกริยาทั้งหมด

- ข้อ 1 มีที่ผิด 2 ตอน คือ

1. นิทรรศการทางภาษาและวรรณคดีไทย ฟุ่มเฟือย น่าจะแก้เป็น นิทรรสการทางภาษาไทย

2. บรรทัดแรก ¬นิทรรศการ...... ขึ้นด้วย นาม (ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากัน)

บรรทัดที่สอง ¬ ฝึกอ่าน.......... ขึ้นด้วย กริยา (ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากัน)

- ข้อ 2 บรรทัดแรกขึ้นว่า ประกวดแต่ง

บรรทัดที่ 2 ก็ควรขึ้นว่า ประกวดร้องเพลง

- ข้อ 3 บรรทัดแรกขึ้นว่า “การนำนักเรียน.......”

บรรทัดที่ 2 ควรขึ้นว่า “การให้นักเรียน........”

ข้อ 4 ทั้ง 2 บรรทัดขึ้นด้วย “การ” ซึ่งดูเป็นระเบียบและสละสลวยมากที่สุดแล้ว

32. ตอบ 1 ชายทะเลทอดเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ทรายสีขาวตัดกับน้ำทะเลสีเขียว

- การเขียนพรรณนา คือ การเขียนเพื่อให้เกิดภาพ จึงมีการพูดถึงรายละเอียดค่อนข้างมาก

- ข้อ 2 เป็นการเขียน “อธิบาย” คือ ให้ความรู้ - ความเข้าใจ

- ข้อ 3 เป็นการเขียน “บรรยาย” คือ เล่าเรื่อง

- ข้อ 4 เป็นการเขียน “บรรยาย” ถึงแม้นช่วงหลังจะมีการให้รายละเอียดแต่ยังน้อยไม่มากเท่าข้อ 1

- ข้อ 1 เป็นการเขียนพรรณนา “ชายทะเล” จนเกิดภาพชัดเจน

33. ตอบ 3 ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย

- ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจการบรรยายก่อนว่า คือ การเล่าเรื่องหรือพูดไปเรื่อยๆ

- ตัวเลือกที่ให้มาเป็นกลอนต่อเนื่องกันมาทั้ง 4 วรรคว่า

ฝนฟ้ากระหน่ำพายุซ้ำกรรโชก แสนวิปโยคอนิจจาน้ำตาเอ๋ย

ทุกสิ่งล้วนไม่เป็นเหมือนเช่นเคย ตัวเราเอยแสนอาภัพอับปัญญา

J จะเห็นว่าเป็นการพร่ำพรรณนาถึงความเศร้าของตนเอง แต่เมื่อโจทย์ถามว่าวรรคไหนบรรยาย ก็น่าจะ เป็นวรรค 3

(ข้อ3) เพราะไม่ได้พูดซ้ำถึงความเศร้าของตน แต่พูดว่า “ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป” ซึ่งจัดเป็นการบรรยาย

34. ตอบ 2 ประกาศกรมวิชาการ การทรวงสาธารณสุข

เรื่อง การตรวจสอบสารปนเปื้อนในเครื่องบริโภค

- หัวข้อประกาศทางการ คือ ประกาศ + ชื่อหน่วยงาน (ไม่ต้องมีคำว่า “ของ”) + เรื่อง...

- ข้อ 1 ผิด เพราะต้องเอาชื่อหน่วยงานขึ้นก่อน

- ข้อ 4 ผิด เพราะประกาศสำนักกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องมีคำว่า “ของ”

- ข้อ 3 ที่ถูกต้องเปลี่ยนคำว่า “เกี่ยวกับ” เป็น “เรื่อง”

35. ตอบ 1 ปัจจุบันมนุษย์เข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ยุคอุตสาหกรรม

Jโจทย์ถามส่วนที่เป็นคำนำ ข้อ 1 จึงน่าจะดีที่สุด ข้อ 2,3,4 ดูเหมือนเป็นต้องที่พูดๆมาแล้วมากกว่า

ไม่น่าจะเป็นคำนำจ๊ะ

36. ตอบ 1 ข ก จ ง ค

- เริ่มจากบอกว่าเกิดอะไรขึ้น ( ข - ก) ตามด้วย

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นยังไง ( จ- ง- ค )

37. ตอบ 2 เสนอแนะ

- ประโยคที่ว่า “แต่ความจริงการเจ็บคอเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดที่ติดอยู่ตามเปลือก” แสดงถึง

- ข้อ 1 การโต้แย้ง “แต่ความจริง”

- ข้อ 3 แสดงข้อสรุป “การเจ็บคอเกิดจาก........”

- ข้อ 4 แสดงความคิดเห็น (แบบโต้แย้ง) “แต่ความจริง.......”

- ข้อความนี้ไม่มีการเสนอแนะ

38. ตอบ 3 พายุเริ่มพัดกระหน่ำ คลื่นม้วนตัวเป็นเกลียวถาโถมเข้าฝั่งอย่างไม่หยุดยั้ง

- ทั้ง 4 ข้อ เมื่อเอามาเรียงๆกันจะเป็นการเล่าเรื่องไปเที่ยวทะเลกัน

- ทั้ง 1,2,4 เป็นการเล่าเรื่องธรรมดา ถือว่าเป็นการบรรยาย

- ข้อ 3 เป็นการพูดให้เกิดภาพ จัดว่าเป็นการพรรณนา

ข้อ 3 จึงต่างกับข้ออื่นๆ

39. ตอบ 2 ตอนที่ (2)

- เพราะคำเชื่อม “และ” ควรวางเชื่อมไว้ที่ข้อความที่เชื่อมอันสุดท้าย ไม่ใช่ไปวางข้อความตรงกลาง

ข้อ 2 จึงไม่เหมาะสม ควรแก้ไขเป็น “ได้จัดขึ้นหลายรูปแบบ สิ้นเปลืองเวลา และไม่ได้มาตรฐาน”

(ควรเอา “และ”มาวางหลังข้อความ “สิ้นเปลืองสิ้นเวลา”)

40. ตอบ 4 วิรัชขบคิดวิธีแก้ปัญหาของเรื่องที่กำลังฟัง

- ข้อ 1,2,3 จัดเป็นการฟังที่เกิดประสิทธิภาพ

- ข้อ 1 ฟังแล้วสรุปเนื้อหาไม่ได้

- ข้อ 2 บันทึกแนวคิดที่ได้จากการฟัง (แสดงว่า จับประเด็นและประเมินค่าได้)

- ข้อ 3 ตีความได้

Jส่วนข้อ 4 เรามองจุดบกพร่องในการฟังได้หลายข้อ เช่น

- ถ้าเราคิดตาม (ในเรื่องที่ในที่นี้ก็ไม่รู้ว่าเขาจะให้เราช่วยคิดหรือให้เราฟังเฉยๆ)

เราก็อาจไม่ได้ฟังเรื่องที่เขาจะพูดต่อ

- เรื่องที่เราคิดไม่รู้ว่าเขาต้องการพูดให้เราฟังเฉยๆหรือให้เราไปช่วยเขาคิดด้วย

ข้อ 4 จึงเป็นการฟังที่บกพร่อง ไม่เกิดประสิทธิภาพ

41. ตอบ 3 ผู้พูดเชื่อว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง

- ข้อ 1 จริง เห็นได้จาก “ผมมีแฟนเป็นคนทรงเจ้า”

- ข้อ 2 จริง เห็นได้จาก “ระยะหลังมานี้.....เหินห่างกัน”

- ข้อ 4 จริง เห็นได้จาก “ตามผมไปกินเหล้าทุกที คุยกันสนุกมาก”

- ข้อ 3 ไม่มีกล่าวในเรื่องที่ยกมา

42. ตอบ 4 ชักชวนให้ทำตาม

- หมอสุรชัยพูดเพื่อให้คนฟังนำไปปฏิบัติตามไม่ใช่แค่ “ให้เข้าใจ” หรือ “ให้เห็นจริง” ข้อ4 จึงถูกต้อง

43. ตอบ 2 ผมขอให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว จึงพิจารณาอีกครั้ง

- ข้อ 1 ดูไม่สุภาพใช้อารมณ์แรง “เราเสียเวลามากพอแล้วสำหรับการอภิปรายเรื่องนี้”

- ข้อ 3 ดูเป็นการตำหนิคนอื่นในที่ประชุม (ที่มีคนเยอะ) “ควรโต้เถียงด้วยเหตุผลมากกว่า

ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง”

- ข้อ 4 ดูเหมือนเป็นมุข แต่คนละอารมณ์กับคนที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ คือเขากำลังมีอารมณ์กันอยู่

เรากลับพูดว่า “ใจเย็นๆเรายังมีเวลาสนทนาเรื่องนี้” ข้อนี้เลยดูแปลกๆ

- ข้อ 2 ดูเป็นการพูดยุติการขัดแย้งในช่วงนั้นได้ดีที่สุดแล้ว

44. ตอบ 3 ผู้ประสบความสำเร็จหลายคนได้แปรความล้มเหลวให้เป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป

- โจทย์ถามคำพูดที่เป็น “ข้อคิด”แก่คนที่สิ้นหวัง

- ข้อ 3 ฟังแล้วรู้สึกดีว่าแล้วเกิดกำลังใจต่อสู้ต่อไป

- ข้อ 1 ดูเหมือนเป็น “มุข ”มากว่าข้อคิด

- ข้อ 2 พูดให้อดทน แต่ยังไม่ได้ให้ “ข้อคิด”

- ข้อ 4 ยังไม่มี “ข้อคิด” อะไรเช่นกัน

45. ตอบ 1 ผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายเพราะมีหน้าที่และบทบาทต่างกัน

- สังเกตจากบรรทัดที่ 2 “- - ล้วนเป็นความคิดที่ได้มาจากบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิง

ในสมัยก่อน”

- ข้อ 2 ผิด เพราะ เค้าบอกว่า “ธาตุแท้” (นิสัย) ของผู้หญิง คือ วัฒนธรรม ไม่ได้บอกว่า “ผู้หญิงคือ วัฒนธรรม”

- ข้อ 3 กับข้อ 4 ก็ผิด เพราะเค้าบอกว่าตัวกำหนด คือ “วัฒนธรรม” ไม่ใช่สภาพแวดล้อมหรือเพศเป็น

ตัวกำหนด

46. ตอบ 3 ธรรมชาติของผู้หญิง

- ดูได้จากวรรคสุดท้าย ที่เค้าพูดว่า “จะมีในธรรมชาติความเป็นผู้หญิงจริงๆหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้”

Jทั้งหมดนี้เค้ากำลังพูดบอกเราว่า ธรรมชาติของผู้หญิงเกิดจากสังคมกำหนดไม่ได้เป็นธรรมชาติจริงๆ

47. ตอบ 3 ระดับกึ่งทางการ

- ข้อความส่วนใหญ่จะใช้ภาษาเขียน (ทางการ) แต่ก็มีบางตอนใช้ภาษาพูด (ไม่เป็นทางการ) เช่น

“เอาเข้าจริงแล้ว” จึงเป็นภาษากึ่งทางการ

48. ตอบ 3 การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบเดียวเหมือนกันหมด ทำให้มีโอกาสพัฒนาได้ดี

- เพราะเค้าย้ำมาตั้งแต่ประโยคแรกแล้วว่า “ระบบการศึกษาต้องการความหลากหลาย” แล้วมาเปรียบว่า

“เหมือนกับป่าไม้ที่มีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น” แล้วยังมาย้ำตอนท้ายอีกว่า

“ปัญหาคือการเปลี่ยนโลกทั้งโลกให้มีอารยธรรมเดียวกัน” เพราะฉะนั้นสาระสำคัญคือ

“การศึกษาปัจจุบันเป็นระบบเดียวกันหมด” ซึ่งไม่ดีนั่นเอง ข้อ 3 จึงถูกต้องที่สุด

49. ตอบ 3 ใช้ความเปรียบเพื่อให้เข้าใจชัดเจน

- คนเขียนเปรียบระบบการศึกษาเหมือนป่าไม้ทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ข้อ 3 จึงถูกต้อง

- ข้อ 4 เกือบๆ ถูกที่ใช้ “อุปมา” แต่ผิดที่ “ให้สมจริง” จริงๆน่าจะแก้เป็น “ให้เข้าใจมากขึ้น” มากกว่า



50. ตอบ 4 แนะให้ใช้เวลาในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง

- รวมๆข้อนี้เหมือนกับจะบอกเราว่า “อย่าเอาเวลาไปหาข้อแก้ตัวเลย สู้เอาเวลามาแก้ไขข้อบกพร่อง

ตัวเองดีกว่า” (เพื่อทำให้เราเข้มแข็งมากขึ้น)

- ข้อ 1 กับ ข้อ 3 ผิดเลย

- ข้อ 2 เขาไม่ได้บอก “ผลเสีย” ของการแก้ตัวมาเลย

- ข้อ 4 ตรงกับจุดประสงค์คนเขียนที่สุดแล้ว


51. ตอบ 3 ขนมพอสมน้ำยา

- ทั้งนี้เพราะโจทย์ต้องการจะว่าทั้ง “พระ” และ “ฆราวาส” ว่าพากันไปทางในทาง

ผิดทั้งคู่ = ขนมพอสมยา (พอๆกัน ใช้ในความหมายไม่ดี)

- ข้อ 1 สมน้ำสมเนื้อ หมายถึง เหมาะสมกับ

- ข้อ 2 เป็นปี่เป็นขลุ่ย หมายถึง เข้ากันได้ดี

- ข้อ 4 น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยกัน

52. ตอบ 1 ทุกวันนี้กำลังเสื่อมลงเพราะพระสงฆ์และฆราวาส

- ตามโจทย์ผู้เขียนกำลังพูดว่าทั้ง “พระ” และ “ฆราวาส”ข้อ 1 จึงครบถ้วนที่สุด

53. ตอบ 1 การพรรณนา

- เค้าถามว่า ข้อใดไม่มีในข้อความที่ยกมา

- ข้อ 2 ตอนที่เค้าพูดถึง “ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” แล้วตามด้วยตัวอย่าง “ทั้งภูเขาขจี น้ำตกใส สายธาร

ใหญ่น้อยและทะเลสีมรกต”

- ข้อ 3 เค้าเปรียบ “ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” กับ “ศิลปวัฒนธรรม” ของคนไทยกับ

“ทรัพย์อันมหัศจรรย์” ตรงบรรทัด 1

- ข้อ 4 มีการอธิบายตามลำดับ เริ่มจากพูดถึง ทรัพย์แรก คือ ธรรมชาติ (พูดในบรรทัดที่ 1 ตอนท้าย ถึง

บรรทัดที่ 3) แล้วค่อยพูดถึง ทรัพย์ที่สองคือ ศิลปวัฒนธรรม (บรรทัดสุดท้าย) ในข้อความที่ยกมายังไม่มี

ตอนใดเป็นการพรรณนาอย่างชัดเจน

54. ตอบ 4 ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก สี่สิ่งนี้ไม่ควรไว้ใจ

J ข้อความที่เค้ายกมา เหมือนจะเตือนใจเราว่าให้รอบคอบ รู้จักเลือกคนใกล้ชิดเรามากที่สุดJ

- ข้อ 4 "ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก " เป็นสำนวนไทยที่เตือนใจว่าให้ระวังสิ่งมีภัยที่อยู่ใกล้ชิด

กับเรา จึงตรงกับข้อความที่เค้ายกมาที่สุดแล้ว

- ข้อ 1 เค้าไม่ได้บอกเราว่า "ยิ่งสูงยิ่งหนาว"

- ข้อ 2 เค้าไม่ได้บอกเราว่า "ศัตรูคือยาชูกำลัง"

- ข้อ 3 เค้าไม่ได้บอกเราว่า "อย่าวางใจคน" แต่บอกว่า "ให้รู้จักเลือกคนใกล้ชิด" มากกว่า

(หมายความว่า วางใจได้ แต่ต้องดูคน ไม่ใช่ ไม่วางใจคน)



55. ตอบ 1 รอบคอบ

- คนเขียนเป็นคนรอบคอบ สังเกตจากวรรคสุดท้ายว่า "ต้องรู้จักเลือกไว้ใจคน"

- ข้อ 2 วิตก ไม่ถูกต้อง

- ข้อ 3 คนเขียนเป็นคน "ระวัง" ไม่ใช่ "ระแวง"

- ข้อ 4 ที่ถูกควรแก้ รู้เท่าทัน "ชีวิต "เป็น รู้เท่าทัน "คน" มากกว่า

56. ตอบ 2 ตอนที่ (2)

- เพราะข้อความทั้งหมดนี้พูดขึ้นมาเพื่อจะบอกว่ารัฐบาลจะขึ้นค่าไฟฟ้าและประปา

57. ตอบ 1 พัฒนาชนบทให้มีความเจริญ

- สังเกตจากตอนที่ 4 " - - การพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ชาวชนบทต้องหยุดชะงัก

ไปด้วย ซึ่งขัดกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล" เท่ากับ นโยบายสำคัญของรัฐบาล

คือ สร้างความเจริญแก่ชนบท ข้อ 1 จึงถูกต้อง

58. ตอบ 1 เราควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกเรานี้

- ข้อ 2 ฟุ่มเฟือยตรง "นำไปสู่ความ" น่าจะแก้เป็น "ทำให้" มากกว่า

- ข้อ 3 ฟุ่มเฟือยตรง "ถูกทำลายเสียหาย" เพราะ "เสียหาย" ตัดออกได้

- ข้อ 4 ฟุ่มเฟือยตรง "สมปองดังปรารถนา" เพราะ "ดังปรารถนา" ตัดออกได้

59. ตอบ 3 นักพูดไม่ประหม่าเวทีเพราะผู้พูดกลุ่มนี้มีประสบการณ์สูง

- เพราะข้อนี้เล่นคำว่า "นัก" กับ "ผู้"

นัก แสดงว่า คนนั้นทำจนชำนาญแล้ว

ผู้ แสดงว่า คนนั้นมีกิจกรรมนั้นๆ

เพราะฉะนั้น ข้อ 3 น่าจะสลับนักพูดกับผู้พูด เป็นผู้พูดไม่ประหม่าเวทีเพราะนักพูดกลุ่มนี้มี

ประสบการณ์สูง

60. ตอบ 2 คุณภาพชีวิตที่ดีย่อมเกิดขึ้นได้หากประชาชนร่วมใจกันพัฒนาสิ่งแวดล้อม

- ทรรศนะ หมายถึง ความคิดเห็น ข้อ 2 เป็นทรรศนะ สังเกตจากคำว่า "ย่อม"

61. ตอบ 1 สมเหตุสมผล

- ข้อความนี้คนเขียนเขียนเตือนว่า ถ้าจะรับของใหม่ แต่อย่าลืมของเก่า

- ข้อ 1 ถูกต้อง เพราะเค้ามีการให้เหตุผลมาด้วย สังเกตบรรทัดที่ 2 " - - เพราะของเก่า - - "

- ข้อ 2 ผิด ที่ "สร้างสรรค์" เพราะเค้าให้เอาของเก่าไว้ (จริงๆสร้างสรรค์ต้องทำสิ่งใหม่ๆ)

- ข้อ 3 ผิด ที่เหมาะแก่บุคคล เพราะถ้าคนที่มาอ่านเป็นวัยรุ่นหรือเด็ก อ่านแล้วจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่

คือแค่รู้ว่าเค้าพูดว่าอะไร แต่อาจเฉยๆไม่เห็นด้วยก็ได้

- ข้อ 4 ผิดที่ ภาษาเข้าใจง่าย ลองอ่านวรรคสุดท้ายดูจะรู้เลยว่า ภาษาเค้าไม่ได้เข้าใจได้ง่าย

62. ตอบ 1 ชี้ให้เห็นความสามารถของรัฐบาล

- สังเกตจาก "รัฐบาลก็ประคับประคองเศรษฐกิจไปได้" และ "นำมาตรการต่างๆมาบรรเทา

ความเดือดร้อนของประชาชนให้ผ่านวิกฤต " ไปได้

63. ตอบ 1 ใช้คำที่เร้าอารมณ์

- ภาษาในเรื่องถึงจะตรงไปตรงมา แต่ลักษณะคำที่ใช้มีหลายตอนเร้าอารมณ์ให้เห็นใจในปัญหา

ของรัฐบาล เช่น ประคับประคอง - - แสนสาหัส - - บรรเทา - - ผ่านพ้นวิกฤต - ภาระอันหนักอึ้ง

ข้อ 1 เลยถูกจ๊ะ

64. ตอบ 3 การประหยัดน้ำมันกันคนละเล็กละน้อยจะช่วยกู้เศรษฐกิจของชาติได้

- ภาษาโน้มน้าวใจ ต้องเป็นภาษาชักชวนหรือจูงใจให้คนทำตาม

- ข้อ 2 กับ 4 ภาษาไม่โน้มน้าวใจ

- ข้อ 1 โน้มน้าวใจ (ชักชวน) ว่า ช่วยประหยัด "คนละเล็กละน้อย" รู้สึกถึงความอยากร่วมมือกับ

เค้าได้ดีที่สุด แล้วเค้าก็บอกมาชัดเจนว่า "ช่วยกันประหยัด" ไม่เหมือนข้อ 1 ที่ไม่ได้บอกว่า

"ให้ร่วมมือทำอะไร" ข้อ 3 จึงดีที่สุด

65. ตอบ 2 อากาศร้อนอบอ้าวมาก แสดงว่าฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้

- โครงสร้างการแสดงเหตุผล หมายถึง การวางตัว "เหตุ" กับ "ตัวผล" ข้อ 1,3,4 วางตัวผลแล้วตามด้วยเหตุ

Jข้อ 2 อากาศร้อนอบอ้าวมาก = เหตุ

ฝนอาจจะตกในไม่ช้านี้ = ผล

- ข้อ 2 วางเหตุแล้วตามด้วยผล ข้อ 2 จึงวางโครงสร้างเหตุผลต่างจากข้ออื่น

66. ตอบ 1 ข้อ 1

- ไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน

- ข้อ 1 มีคำไวพจน์ของผู้หญิง 5 คำ คือ โฉมงาม,ทรามสุดสวาท, อนงค์,ขวัญฟ้า,ยาใจ

Jและมีคำไวพจน์ของใจ 2 คำ คือ ฤดี,จิต

- ข้อ 2 มีคำไวพจน์ของผู้หญิง 2 คำ คือ หญิง,เยาวมาลย์

ข้อ 3 + 4 ไม่มีคำไวพจน์ ข้อ 1 จึงมีไวพจน์มากที่สุด

67. ตอบ 2 ข้อ 2

- ภาพพจน์ คือ การเขียนแบบเปรียบเทียบ

ข้อ 1 มีภาพพจน์ คือ

1. โฉมงาม เป็น นามนัย

2. ขวัญฟ้า ยาใจ เป็น อุปลักษณ์

- ข้อ 3 มีภาพพจน์ อุปมา ตรง “เหมือน”

- ข้อ 4 มีภาพพจน์ อุปมา ตรง “ยิ่ง”

- ข้อ 2 ไม่มีการใช้ภาพพจน์

68. ตอบ 4 การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน

- จุดเด่นที่สุดของข้อความนี้ คือ การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้ง ซึ่งมีทุกวรรค สังเกตจาก

วรรคที่ 1 “วุ่นวู่วาม” กับ “ความว่าง”

วรรคที่ 2 “ความมืด” กับ “ความสว่าง”

วรรคที่ 3 “ความร้อน” กับ “เย็น”

วรรคที่ 4 “ไม่รู้” กับ “ความรู้”


69. ตอบ 3 การสื่ออารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ประสานกัน

- คุณค่าทางวรรณศิลป์ พิจารณาจากการแต่งที่ก่อให้เกิดศิลปะการแต่งที่ไพเราะเกิดอารมณ์คล้อยตาม

- ข้อ 1 การใช้หลักการแต่งที่ถูกต้อง ยังบอกไม่ได้ว่ามีวรรณศิลป์หรือไม่ เพราะวรรณศิลป์ต้องเกิดความ

ไพเราะด้วย

- ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่จำเป็นต้อง “หลากหลาย”

- ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่จำเป็นต้อง “สร้างสรรค์ขนบธรรมเนียมการประพันธ์ใหม่ๆ”

- ข้อ 3 ดีที่สุดเพราะถ้าสื่อให้ได้อารมณ์ (คล้อยตาม) บวกกับความคิดสร้างสรรค์ (idea ใหม่ๆ)

ที่เข้ากันได้ดี ถือว่ามีวรรณศิลป์มากๆ

70. ตอบ 3 6 แห่ง

- มีความเปรียบ 6 แห่ง คือ

ข้อ ก มีเปรียบตรง “คือ”

ข้อ ข มีเปรียบตรง “ปาน”

ข้อ ค มีเปรียบตรง “ กว่า” กับ “เป็น”

ข้อ ง มีเปรียบตรง “ดัง” กับ “ดัง”

71. ตอบ 1 ข้อ ก.

- ตรงที่ขีดเส้นใต้เปรียบตาผู้หญิงเหมือน “ดาเรศ” คือ ดวงดาว จึงตรงกับข้อ 1 มากที่สุด (เพราะเปรียบตากับ

“ ดวงดาว”เหมือนกัน)

- ข้อ 1 เปรียบตากับ “ดาระกา” = “ดวงดาว”

- ข้อ 2 เปรียบตากับ “สุมณี” = “มณี”

- ข้อ 3 เปรียบตากับ “มฤคิน” = “ตาของกวาง”

- ข้อ 4 เปรียบตากับ “มฤคมาศ” = “ตาของกวางทอง”

72. ตอบ 1 โคลงสี่สุภาพและกลอนสุภาพ

- เราแยกข้อความที่เค้ายกมาเป็นคำประพันธ์ได้ 2 ชนิด ดังนี้

1. โคลง 4 สุภาพ

พิเศษสารเสกสร้าง รังสรรค์

สารประจงจารฉัน- ทภาคพริ้ง

พรายฉายเฉกเพชรพรรณ เพราเฉิด เลิศแล

ลายระยับสายสะอิ้ง ส่องสร้อยกรองทรวง

2. กลอนสุภาพ (กลอนแปด)

พิเศษสารเสกสร้างรังสรรค์สาร ประจงจารฉันทภาคพริ้งพรายฉาย

แกเพชรพรรณเพราเฉิดเลิศแลลาย ระยับสายสะอิ้งส่องสร้อยกรองทรวง

73. ตอบ 4 ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคุนธร กระจังซ้อมแซมใบระกาบัง

- ทั้งนี้เพราะข้อ 1,2,3 เป็นการพรรณนาแบบตรงๆไม่มีการเปรียบเทียบ

ข้อ 1 พรรณนาว่า “ฐานรูปบัวมีรูปครุฑยุดนาค”

ข้อ 2 พรรณนาว่า “มีรูปครุฑยุดนาค กินนรรำ และเทพนม”

ข้อ 3 พรรณนาว่า “ภาพใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข”

ข้อ 4 ต่างกับข้ออื่น เพราะเขียนแบบเปรียบเทียบ(ใช้ภาพพจน์) สังเกตจากคำว่า”เทียม” (เหมือน)

74. ตอบ 1 บุคคลวัตและอุปลักษณ์

- บุคคลวัต สังเกตจาก “คลื่นรื่นเร่, เห่, พร่ำฝากฝัง” กับ “ดาวเยี่ยมพักตร์ (เยี่ยมหน้า)”

- อุปลักษณ์ เห็นจาก “คันฉ่องชลาลัย” คือ เปรียบชลาลัย (สายน้ำ) กับ “คันฉ่อง” (กระจก)

โดยละคำเปรียบไว้ ซึ่งเป็นการเปรียบแบบอุปลักษณ์

75. ตอบ 3 ทั้งพญาคชสารชาติฉัททันต์ทะลึ่งถลันร้องวะแหวๆ

- ข้อ 1,2,3 ให้อารมณ์เศร้า ๆ เหงา ๆ

- ข้อ 1 สังเกตจาก “ให้หวั่นหวาด”

- ข้อ 2 สังเกตจาก “วิเวก”

- ข้อ 4 สังเกตจาก “คราง”

J ข้อ 3 ให้อารมณ์ตกกะใจ สังเกตจาก “ร้องวะแหวๆ” จึงต่างกับข้ออื่น

76. ตอบ 2 ข้อ ข.

- ข้อ 1 เปรียบความรักว่าร้อนเหมือน “ไฟฟอน หมื่นไหม้”

- ข้อ 2 เปรียบการจากแล้วไม่พบว่า คือ “ไฟ”

- ข้อ 3 เปรียบใจว่าปาน “เพลิงกัลป์ (ไฟล้างโลก)”

- ข้อ 4 เปรียบใจว่า “โดนไฟสุม ไหม้นิจนิรันดร์”

จะเห็นว่าข้อ 1,3,4 เปรียบด้วยถ้อยคำรุนแรง ส่วนข้อ 2 ถ้อยคำดูไม่รุนแรงเท่าข้ออื่นๆ

77. ตอบ 3 ข้อ ค.

- คำประพันธ์ที่ยกมาใช้ภาพพจน์(เปรียบเทียบ) แบบ “อุปมา” สังเกตจาก “เพียง”

- ข้อ 1 เปรียบแบบอุปมา สังเกตจาก “ยิ่ง”

- ข้อ 2 เปรียบแบบอุปลักษณ์ สังเกตจาก “คือ”

] - ข้อ 3 เปรียบแบบอุปมา สังเกตจาก “ปาน”

- ข้อ 4 เปรียบแบบอติพจน์ สังเกตจาก “ไหม้จิตต์เป็นนิรันดร์”

จึงมีอยู่ 2 ข้อ ที่เข้าข่าย คือ 1 กับ 3

J แต่ข้อ 1 “ยิ่ง” เป็น การเปรียบมากกว่า ไม่เหมือนข้อ 3 ปาน ซึ่งเปรียบเท่ากันจึงตรงกับโจทย์

ที่ให้มา (เพียง = เปรียบเทียบ ) ข้อ 3 จึงดีที่สุด

78. ตอบ 3 ลดผลของกรรมที่ทำมาในอดีต

- โจทย์ถาม ข้อใด “ไม่ใช่” ผลจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ คือไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลง นั่นคือ

การตัดหรือละกิเลศ

ข้อ 1 วิญญูชน (ผู้รู้) สรรเสริญ (เป็นประโยชน์จากการตัดกิเลศ)

ข้อ 2 สกัดกั้นความชั่วที่จะเกิดขึ้น (เป็นประโยชน์จากการตัดกิเลศ)

ข้อ 4 สร้างประโยชน์และความสุข (เป็นประโยชน์จากการตัดกิเลศ)

Jการตัดกิเลศ มุ่งตัดอกุศลกรรมที่จะเกิด ไม่ใช่ไปลดกรรม “ในอดีต” เพราะในศาสนาพุทธ

ถือว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ถือว่าเกิดขึ้นจะแก้ไขไม่ได้แล้ว

79. ตอบ 4 แดงศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการทำรายงาน

- หลักกาลามสูตร สอนว่าก่อนเชื่อให้ใช้วิจารณญาณก่อนพูดง่ายๆควรเชื่ออย่างมีเหตุผล

- ข้อ 1 เชื่อตามคติโบราณ (ยังไม่ได้แสดงการใช้วิจารณญาณ)

- ข้อ 2 เชื่อตามใบปลิว (ยังไม่ได้แสดงการใช้วิจารณญาณ)

- ข้อ 3 เชื่อตามคำชักชวนของเพื่อน (ยังไม่ได้แสดงการใช้วิจารณญาณ)

Jส่วนข้อ 4 การทำรายงานโดยศึกษาจากหลักฐาน ถือว่ามีการใช้เหตุผลก่อน จึงถือว่าปฏิบัติ

ตามหลักกาลาสูตรที่สุดแล้ว

80. ตอบ 2 ข้อ ข.

- วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่คนสร้างขึ้น

- ข้อ 1 มีวัฒนธรรม คือ “สามโคกเป็นเมืองตรี”

- ข้อ 3 มีวัฒนธรรม คือ “ศาลเจ้า, บายศรี”

- ข้อ 4 มีวัฒนธรรม คือ “บ้านงิ้ว”

- ข้อ 2 เป็นบรรยายถึงธรรมชาติไม่มีการกล่าวถึงวัฒนธรรม (สิ่งที่คนสร้างขึ้น)

81. ตอบ 2 ข้อ ข.

- ข้อ 1 มีการแสดงอารมณ์ สังเกตจาก “โศกถวิล”

- ข้อ 3 มีการแสดงอารมณ์ สังเกตจาก “ปลงจิต”

- ข้อ 4 มีการแสดงอารมณ์ สังเกตจาก “ขามขามใจ”

82. ตอบ 4 น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

- ตามคำประพันธ์ที่ยกมา เค้าพูดว่า “อย่าไปมีเรื่องกับคนที่มีอำนาจ” ตรงกับสำนวนว่า

“น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ” ซึ่งเป็นสำนวนที่ไว้เตือนสติว่า “อย่าไปขวางคนที่มีอำนาจ”

ข้อ 4 จึงถูกต้อง

ข้อ 1 กล้านักมักบ้าบิ่น หมายถึง กล้าเกินไปมักอันตราย

ข้อ 2 เอามือซุกหีบ หมายถึง หาความเดือดร้อนให้ตัวเอง

ข้อ 3 จระเข้ขวางคลอง หมายถึง อันธพาล

83. ตอบ 2 ความน่าเกรงขามของเคราะห์กรรมหรือโชคชะตา

- ข้อ 2 ไม่มีปรากฏในเรื่อง “อัวรานางสิงห์”

ส่วนข้อ 4 ความเศร้าใจที่เห็นการกระทำที่ฝืนธรรมชาติ (สวนกับธรรมชาติ) คือ จับสิงโตมาขังไว้

โดยไม่คิดถึงจิตใจของมันเลย ก็มีปรากฏในเรื่องอัวรานางสิงห์