Saturday, April 25, 2009

ใครสามารถเรียนหลักสูตรส่งทางอากาศได้บ้าง


3.1 เป็นผู้สมัครใจ
3.2 เป็นนายทหารสัญญาบัตร, นายทหารประทวน, พลทหารประจำการ และกำลังพลต่างเหล่าทัพไม่จำกัดชั้นยศ หรือเป็นผู้ที่ผู้บังคับบัญชาอนุมัติให้เข้ารับการศึกษาได้
3.3 ไม่จำกัดอายุ
3.4 ไม่อยู่ในระหว่างการศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ซึ่งมีเวลาคาบเกี่ยวกับหลักสูตรนี้
3.5 มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ โดยต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และตรวจโรคตามเกณฑ์ที่กำหนด

4. มาตรฐานหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาต้องผ่านการทดสอบ และฝึกดังนี้

4.1 การทดสอบความรู้ภาควิชาการ ต้องได้คะแนนในการทดสอบไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
4.2 การทดสอบสมรรถภาพร่างกายประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามระเบียบหลักสูตร โดยใช้ เกณฑ์การทดสอบตามระเบียบของ รร.สพศ.ศสพ.

4.3 การทดสอบกระโดดร่มภาคพื้นดิน 3 สถานี ประกอบด้วย

4.3.1 การกระโดดหอสูง 34 ฟุต
4.3.2 การลงพื้นจากรอกวิ่ง
4.3.3 การลงพื้นจากแท่น 2 ฟุต และการประเมินผลเสริมใน 3 สถานี คือ

สถานีที่ 1 ประเมินผลการปฏิบัติตามท่าสัญญาณ และท่าทางการโดดจาก บ. และ ฮ.
สถานีที่ 2 ประเมินผลการบังคับร่มตามคำสั่ง และกฎนิรภัย 5 ข้อ
สถานีที่ 3 ประเมินผลการแต่งร่มประกอบอาวุธและเครื่องสนามในเวลาที่กำหนด

4.4 การกระโดดร่มจากอากาศยาน คนละ 5 ครั้ง

4.4.1 ครั้งที่ 1 - 3 ทำการกระโดดร่ม แบบตัวเปล่า
4.4.2 ครั้งที่ 4 ทำการกระโดดร่มประกอบเครื่องสนามและอาวุธ
4.4.3 ครั้งที่ 5 ทำการกระโดดร่ม แบบตัวเปล่า
สำหรับผู้ที่ทำการกระโดดร่มจากอากาศยาน ครั้งที่ 4 แล้ว ให้ถือว่าสำเร็จการศึกษาในกรณีต่อไปนี้

1) ได้รับบาดเจ็บจากการกระโดดร่ม และแพทย์ลงความเห็นว่า หากกระโดดร่มต่อไปจะเกิดอันตราย
2) อากาศยานไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ครบตามแผนการฝึก เนื่องจากขัดข้องหรือสภาพอากาศไม่อำนวย

5. ผู้เข้ารับการศึกษา ประกอบด้วย

5.1 นักเรียนนายร้อยและนักเรียนแพทย์ทหาร
5.2 นายทหารสัญญาบัตร (ช.,ญ.)หน่วยใช้ร่ม
5.3 นายทหารประทวน (ช.,ญ.)หน่วยใช้ร่ม
5.4 นายทหารสัญญาบัตรนอกหน่วยใช้ร่ม
5.5 นายทหารประทวนนอกหน่วยใช้ร่ม
5.6 พลอาสาสมัครของพันจู่โจม
5.7 พลทหารกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
5.8 พลร่มหญิง กองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ

การฝึกในสัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 1

1) การรายงานตัว ดำเนินกรรมวิธี ชี้แจงระเบียบต่างๆ แนะนำเครื่องช่วยฝึกพื้นที่การฝึกพิธีเปิดการศึกษา, ปฐมนิเทศการฝึก, แนะนำครูฝึก ซึ่งตามธรรมเนียมก็จะมีการต้อนรับน้องใหม่กัน พอหอมปากหอมคอ ประมาณว่าแนะนำสถานที่ และสักการะเจ้าที่เจ้าทาง หรือง่ายๆ ก็คือการซ่อมนั้นเอง เพื่อทดสอบกำลังใจและความอดทน ว่าจะสามารถอดทนไปจนหนึ่งสัปดาห์สุดท้ายหรือเปล่า ว่ากันว่าปัจจุบัน การรับน้องก็มีการผ่อนผันลงไปบ้าง แต่ก็ยังคงความเข้าข้นของสถาบันไว้อยู่เช่นกัน
2) การเรียนภาควิชาการ
3) การสอบภาควิชาการ
4) การฝึกกระโดดร่มภาคพื้นดินหมุนเวียนตามสถานีฝึก จำนวน 6 สถานี สถานีละ 50 นาที
5) การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ประจำสัปดาห์ เกณฑ์การทดสอบ
- ดึงข้อ 7 ครั้ง
- ลุกนั่ง 42 ครั้ง (ภายใน 2 นาที)
- ยึดพื้น 28ครั้ง (ภายใน 2 นาที)
- วิ่ง 1 ไมล์ (ภายใน 8 นาที 30 วินาที)

Tuesday, April 21, 2009

การกระโดดร่มจากบอลลูน



ประวัติ/คุณลักษณะและขีดความสามารฤถของบอลลูน
1. ประวัติบอลลูนต่างประเทศ
ความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องบอลลูน หรือ ยวดยานที่สามารถลอยตัวในอากาศได้นั้น มีมานานแล้วแต่นั่นก็เป็นเพียงความคิดตามเหตุผลของคนไทยในสมัยก่อนที่วิทยาศาสตร์ยังไม่เจริญเหมือนในปัจจุบัน
จากความพยายามของชาวอังกฤษ นายโรเยอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษที่มีความคิดเกี่ยวกับการบิน ได้ประดิษฐ์เครื่องลอยในอากาศขึ้น การศึกษาและค้นคว้าพัฒนา ได้มีมาตลอดเวลาจนกระทั่ง เมื่อเดือน กันยายน ค.ศ.1783 บอลลูนที่บรรทุกสิ่งมีชีวิตได้ลอยขึ้นไปในอากาศเป็นครั้งแรก ผลิตขึ้นโดย พี่น้องตระกูล มองกอฟเฟอร์ (MONGOLFIER) ชาวฝรั่งเศสเป็นบอลลูนชนิดที่บรรจุด้วยอากาศร้อน (HOT AIR BALLOON) โดยอาศัยหลักที่ว่า อากาศที่ขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน จะเบากว่าอากาศธรรมดา และถ้าบรรจุอากาศนี้เข้าไปในถุงก็สามารถลอยได้
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1783 ยีน ฟรังซัว พีเล (JEAN FRANCOIS PELE) และมาควิสเคอ อาลาน ได้เป็นบุคคลชุดแรกที่ขึ้นไปกับบอลลูนของ มองกอฟเฟอร์ สำเร็จ โดยใช้เวลาอยู่ในอากาศได้นานถึง 23 นาที
ปี ค.ศ.1783 นี้ นับได้ว่าเป็นปีทองแห่งความสำเร็จในการคิดค้น และผลิตบอลลูน ก่อนปี ค.ศ.1783 จะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม เจ.เอ.ชารส์ (J”A” CHARLES) นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ผลิตบอลลูน ซึ่งบรรจุด้วยก๊าซไฮโดรเจนสำเร็จ และทดลองใช้ เขาสามารถใช้เวลาอยู่ในอากาศได้ถึง 1 ชม. 15 นาที และลอยไปไกลจากจุดปล่อยได้ถึง 27 ไมล์
ปี ค.ศ.1926 กองทัพอากาศอังกฤษได้ทำการทดลองอย่างจริงจังและได้เลือกบอลลูนชนิดที่มีสายยึด (CAPTIVE BALLOON) ไม่ปล่อยอิสระ และยังมีใช้อยู่จนปัจจุบันเป็นบอลลูน แบบ เอ็ม.เค.11 บรรจุด้วยก๊าซไอโดรเจน ปริมาตรบรรจุ 45,000 ลูกบาตรฟุต นับว่าอังกฤษเป็นประเทศแรก ที่ใช้บอลลูนในกิจการทหาร นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว ประเทศเบลเยียม ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้บอลลูนในการกระโดดร่ม
ประเทศฝรั่งเศส เคยใช้บอลลูนชนิดอิสระในการติดต่อสื่อสารระหว่างกรุงปารีส กับ –
ต่างประเทศ
ประเทศเยอรมัน เคยใช้บอลลูนชนิดอิสระในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 1 และ 2 ในการ –
ตรวจการณ์
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้บอลลูนในกิจการต่าง ๆ เช่น กิจการโทรทัศน์ การเกษตร –
รวมทั้งในการกีฬาด้วย


2. ประวัติบอลลูนไทย
ประเทศไทย ได้จัดหาบอลลูนมาใช้ในกิจการทหาร เช่นเดียวกับต่างประเทศที่กล่าวมาแล้ว โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อใช้ในการกระโดดร่มเป็นบอลลูนชนิดไม่อิสระ (CAPTIVE BALLOON) ผูกยึดติดไว้กับรถกว้าน (WINCH) บรรจุด้วยก๊าซฮีเลียม ปริมาตรบรรจุก๊าซ 50,000 ลูกบาศก์ฟุต ขนาดใหญ่กว่าของประเทศอังกฤษ การที่ไม่ใช้ก๊าซไฮโดรเจน เหมือนประเทศอังกฤษ เพราะว่าก๊าซฮีเลียมมีคุณสมบัติติดไฟยากกว่าก๊าซไฮโดรเจน เหมาะสำหรับที่จะใช้ในประเทศไทย ซึ่งมีสภาพอากาศอยู่ในย่านมรสุมมีฝนฟ้าคะนองอยู่เสมอ ซึ่งไฟฟ้าสถิตในอากาศอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และบอลลูนชนิดนี้มีใช้อยู่ในประเทศไทยถึงปัจจุบันนี้
ในปี พ.ศ.2516 ประเทศไทยได้ส่งนักกระโดดร่มเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทหารโลกที่ประเทศเบลเยียม ในการแข่งขันครั้งนั้นได้มีการนำบอลลูน มาใช้เพื่อการกระโดดร่มด้วย พล.ต.อเนก บุนยถี ผบ.ศสพ. (ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมทีมนักกีฬากระโดดร่มของไทย ได้ เล็งเห็นถึงความสำคัญของบอลลูน ในการที่จะนำมาใช้ในกิจการฝึกทหารพลร่มของประเทศไทย เพราะราคาน้ำมันเครื่องบิน ฯลฯ มีราคา แพงขึ้นมาก ประกอบกับ ศสพ. ได้รับการสนับสนุนเที่ยวบินในการฝึกกระโดดร่มไม่เพียงพอกับจำนวนทหารพลร่มของประเทศ ที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบอลลูนจึงมีความสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2523 ศสพ. จึงได้มีการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ จำนวน 15 นาย ไปประเทศ
อังกฤษเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้บอลลูนกระโดดร่ม ตั้งแต่ 8 กันยายน 2523 ถึง 15 ตุลาคม 2523 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้กลับมาช่วยราชการที่ รร.สพศ.ศสพ. และเป็นเจ้าหน้าที่หลักในการใช้บอลลูนเพื่อการกระโดดร่ม ต่อมาเมื่อ 23 กันยายน 2524 พันโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) ทรงกระทำพิธี เปิดการใช้บอลลูนเพื่อการกระโดดร่ม ที่สนามกระโดดร่มเขาพระพุทธ ทั้งนี้ ศสพ. ได้ขอพระราชทานพระนามของพระเจ้าหลานเธอฯ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น ชื่อบอลลูน คือ พัชรกิติยาภา และชื่อสนามกระโดดร่มเขาพระพุทธเป็นสนามกระโดดร่ม พัชรกิติยาภา ตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525
3. ชนิดบอลลูน
บอลลูน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. บอลลูนชนิดอิสระ (FREE BALLOON)
2. บอลลูนชนิดล่าม (CAPTIVE BALLOON)
บอลลูนชนิดอิสระ คือ บอลลูนที่ลอยอยู่ในอากาศ โดยมิได้มีสิ่งใดผูกยึด หรือล่ามอยู่
บอลลูนชนิดนี้สามารถบังคับได้หลายวิธี เช่น บังคับโดยคนที่ขึ้นไปกับบอลลูนในกระเช้า หรือด้วยเครื่องกลอัตโนมัติซึ่งขึ้นไปกับกระเช้าบอลลูน บอลลูนชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับศึกษาสภาวะของอากาศชั้นสูง ๆ และชั้นต่าง ๆ ของบรรยากาศ

บอลลูนชนิดล่าม คือ บอลลูนชนิดที่มีสายล่ามติดระหว่างตัวบอลลูนชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเสาอากาศสำหรับวิทยุโทรทัศน์ เป็นเครื่องช่วยในการสื่อสารหรือใช้ในการโฆษณาสินค้า เพราะเป็นสิ่งที่แปลกและถึงดูดสายตา บอลลูนชนิดนี้เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มานานแล้ว ใช้สำหรับเป็นที่ตรวจการณ์ และใช้ป้องกันการโจมตีของเครื่องบิน เป็นต้น
4. คุณลักษณะและขีดความสามารถของบอลลูนไทย
คุณลักษณะ บอลลูนของไทยเป็นบอลลูนชนิดล่าม แบบ พี.ที.บี.50/ที.เอช. มีรูปเพรียวลม ส่วนใหญ่และเรียวเล็กลงไปทางท้าย เพื่อลดการต้านลม
ตัวบอลลูนรวมทั้งสายโยงยึดต่าง ๆ หนัก 500 กิโลกรัม
ความยาว 28.4 เมตร
ความกว้าง 10.2 เมตร
บรรจุด้วยก๊าซฮีเลี่ยม ปริมาตรบรรจุ 1,500 ลบ.ม. (54,000 ลบ.ฟุต)
กระเช้าบอลลูนแบบ 1.876.01 หนัก 200 กิโลกรัม
ขีดความสามารถ เมื่อบรรจุก๊าซเต็มพร้อมใช้งาน 1,400 ลบ.ม. (49,000 ลบ.ฟุต) ในการฝึก
กระโดดร่ม ที่ความสูง 250 เมตร หรือประมาณ 800 ฟุต นั้น จะสามารถ ยกน้ำหนักได้ 740 กิโลกรัม หรือสามารถบรรทุกนักกระโดดร่มได้สูงสุด จำนวน 8 นาย ใช้เวลาทำการกระโดดในความสูง 800 ฟุต 1 เที่ยว ประมาณ 8-10 นาที ในสภาพอากาศปกติ สามารถใช้ในการฝึกการกระโดดร่มได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
ส่วนประกอบของตัวบอลลูน ตัวบอลลูนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ส่วนบรรจุก๊าซ อยู่ส่วนบนของบอลลูน มีลักษณะเป็นห้องสำหรับบรรจุก๊าซ
2. ส่วนบรรจุอากาศ อยู่ส่วนล่างของตัวบอลลูน โดยมีผนังกั้นแบ่งระหว่างส่วนบนกับ
ส่วนล่าง ส่วนนี้จะพองตัวเมื่อมีอากาศพัดผ่านเข้าไป
3. ส่วนท้าย เป็นส่วนที่อยู่ของชุดควบคุมการทรงตัว ประกอบด้วยครีบหาง และหางเสือ
ส่วนนี้จะทำงานเมื่อมีลมพัดผ่านเข้าไปอยู่ภายใน


*******************

เอกสารอ้างอิง
- รปจ. รร.สพศ.ศสพ. ว่าด้วยการใช้บอลลูนสนับสนุนการกระโดดร่ม พ.ศ.2544

หลักสูตรส่งทางอากาศ


การฝึกกระโดดร่ม หรือชื่อเป็นทางการคือหลักสูตรส่งทางอากาศ คือการฝึกทหารหน่วยรบพิเศษ หรือทหารราบส่งทางอากาศให้สามารถทำการกระโดดร่มจากอากาศยานชนิดต่างๆ เช่น เครื่องบิน เรือบิน บอลลูน และ ฮ. เพื่อทำการแทรกซึ่งเข้าสู่ที่หมายได้อย่างรวดเร็ว เพื่อบรรลุชัยชนะของสงคราม ถ้าหากจะถามว่าใครหรือประเทศใดมีหน่วยทหารพลร่มหรือหลักสูตรการกระโดดร่มก่อนใครเพื่อน ก็คงจะตอบยากเช่นกัน แต่ตามประวัติศาสตร์ทหารพลร่มเริ่มปรากฎครั้งแรกและเป็นยุทธการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะมีมาได้คือในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหลังการยกพลขึ้นบกของพันธมิตรที่นอร์มังดี เป็นปฏิบัติการที่เรียกว่า Market Garden มีทหารพลร่มกระโดดร่มลงไปในสงครามครั้งนั้นมากกว่า30000 คน ปัจจุบันการรบขนาดใหญ่คงจะไม่มีแล้ว จะมีก็แค่ความขัดแย้งเล็กๆ ซึ่งทุกฝ่ายต่างก็พยายามใช้การเจราทางการทูตมากกว่าทางทหาร อย่างไรก็ตามหลายประเทศก็ยังคงให้มีหน่วยทหารพลร่มไว้เพื่อเป็นกำลังในการป้องปรามและให้มีการสืบทอดการฝึกศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย โดยปัจจุบันการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศมีอยู่ทั้งสามเหล่าทัพคือ กองทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศ และของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(พลร่มนเรศวร) โดยบทความนี้จะกล่าวถึงของกองทัพบกเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกำลังหลักและมีจำนวนมากที่สุดของทหารพลร่ม โดยมีการฝึกศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศในสองสถาบันคือ โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ จว.ประจวบฯ และโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ จว.ลพบุรี ซึ่งกองทัพบกได้อนุมัติงบประมาณในการฝึกศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศประมาณปีละ สามรุ่น (ของแต่ละโรงเรียน) โดยในส่วนของโรงเรียนสงครามพิเศษ ถือเป็นสถาบันหลักในการผลิตนักกระโดดร่มของกองทัพบก ซึ่งสามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้ประมาณ 350 คนต่อรุ่น โดยปกติจะเป็นรุ่นของพลทหารกองพันทหารราบส่งทางอากาศ ,พลทหารอาสาสมัครกองพันจู่โจม รวมกับนายทหารและนายสิบของหน่วยใช้ร่ม ปีละ 2 รุ่น และอีก 1 รุ่นจะเป็นรุ่นพิเศษสำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2 และนักเรียนแพทย์ทหาร โดยหลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึก 5 สัปดาห์ โดยต้องทำการโดดร่มจากเครื่องบินไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง โดดกลางคืน 1 ครั้ง และโดดพร้อมอาวุธเป้สนาม 1 ครั้ง จึงจะสำเร็จการศึกษา โดยจะได้รับเครื่องหมายปีกดิ้นสีทองประดับบนหน้าอกเสื้อด้านซ้าย และได้รับเงินพิเศษ (พดร.)นายสิบ 5100 บาทต่อเดือน และนายทหาร 7000 บาทต่อเดือน ซึ่งทหารพลร่มที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วจะต้องทำการฝึกทบทวนและมีการกระโดดร่มทบทวนเป็นประจำทุกปี โดยอาจจะมีการฝึกกระโดดร่มจากบอลลูนด้วย เพื่อรักษาความพร้อมและดำรงความมุ่งหมายของการฝึกดังกล่าว
สำหรับตอนหน่าผมจะได้มากล่าวถึงปัญหาที่สอบถามบ่อยเกี่ยวกับการเข้าศึกษาหลักสูตรกระโดดร่ม
Operation Market Garden

Operation was an Allied military operation in World War II, which took place in September of 1944. It was an attempt to take bridges over the main rivers of the German-occupied Netherlands, enabling the Allies to advance into Germany without any remaining major obstacles.

The operation was successful up to the capture of the Rhine bridge at Nijmegen, but was overall a failure as the final bridge at Arnhem was not held, resulting in the destruction of the British 1st Airborne Division.